17 มีนาคม 2564 ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นอันสิ้นสุดลงโดยการโหวตคว่ำของสมาชิกรัฐสภา นำโดย ส.ว.แต่งตั้งและส.ส.พลังประชารัฐ
1.สรุปกระบวนการ ‘มวยล้มต้มคนดู’
1.ให้สภาเดินหน้าโหวตวาระ 3 ต่อไป (ฝ่ายค้าน)
2.ให้สภาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยใหม่ (ประชาธิปปัตย์)
3.ให้ร่างตกไปเลย ไม่ลงมติวาระ 3 (ส.ว.)
4.ให้ชะลอการพิจารณาแล้วไปทำประชามติ (ชาติไทยพัฒนา)
Ø เห็นชอบมี 208 เสียง แบ่งเป็น ส.ส.206 ส.ว.2
Ø ไม่เห็นชอบ 4 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 0 ส.ว. 4
Ø งดออกเสียง 94 เสียง แบ่งเป็น ส.ส.10 ส.ว.84
Ø ไม่ประสงค์ลงคะแนน 136 แบ่งเป็น ส.ส. 9 ส.ว. 127
ตามรัฐธรรมนูญกำหนดว่า เสียงโหวตเห็นชอบต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา นั่นคือ 369 เสียง
(เสียงสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดมี 750 เสียง แต่กรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ที่เป็นส.ส.ถูกตัดสิทธิไป 12 คนจึงเหลือ 738 คน)
2.จะเดินอย่างไรต่อ
1. เป็นไปไม่ได้ที่ผู้มีอำนาจจะยอมแก้รัฐธรรมนูญให้ลดอำนาจตนเอง หากเขาไม่ได้กำลังพ่ายแพ้ทางการเมือง แม้ว่าการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้จะถูกยื้อด้วยการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา 2 รอบ และในชั้นกรรมาธิการก็มีการปรับแก้เนื้อหาจนฝ่ายรัฐบาลพอใจแล้วก็ตาม ผู้มีอำนาจยังคงไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยงของการตั้ง ส.ส.ร.ที่ควบคุมไม่ได้ 100%
2. จึงเป็นสิ่งที่คาดหมายได้อยู่แล้วว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้จะต้องตกไป เพียงแต่ไม่แน่ใจว่าจะไม่ผ่านโดยกระบวนการใด ซึ่งดีกรีความย่ำแย่แบ่งได้ดังนี้
(1) อันดับหนึ่ง – ตกโดยศาลรัฐธรรมนูญ
หากศาลมีคำวินิจฉัยให้ตกกลางทางจะเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุด เพราะจะสร้างบรรทัดฐานตลอดไปว่าสภาไม่สามารถริเริ่มการแก้ไขเพื่อให้มีการยกร่างใหม่ได้
(2) อันดับสอง - ตกโดยการทำประชามติ
รัฐบาลมีแทคติกมากมายที่จะทำให้การลงประชามติได้รับชัยชนะอีกครั้งโดยเฉพาะการปิดกั้นการรณรงค์คัดค้าน นอกจากนี้ฝ่ายประชาชนก็ต้องทะเลาะกันอีกถึงยุทธศาสตร์การโหวต การโหวตโนอาจมีความหมายหลายแบบ เมื่อเสียงแตก รัฐจะฉวยอธิบายการโหวตโน-โนโหวต ว่าเป็นเพราะประชาชน “ไม่ต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่”
(3) อันดับสาม - ตกโดยการโหวตของ ส.ว.แต่งตั้ง และส.ส.ฝ่ายผู้มีอำนาจ
กลไกนี้เป็นกลไกพิทักษ์ คสช.2 ที่ประชาชนรับรู้และคาดหมายได้อยู่แล้ว และจะยิ่งแสดงให้เห็นปัญหาของกลไกเหล่านี้ และทำให้สามารถดันเรื่องนี้ได้อีกครั้งในสมัยประชุมหน้า
1. ส.ว.ใช้เทคติก ‘งดออกเสียง’ เป็นหลัก อ้างว่าติดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญทั้งที่ศาลไม่ได้ห้ามโหวตวาระ 3 อาจเพื่อลดแรงวิจารณ์แต่นั่นก็ให้ผลเท่ากับ “ไม่เห็นชอบ” เพราะเสียงเห็นชอบส.ว.ไม่ถึง 1 ใน 3 หรือ 84
2. ส.ส.พลังประชารัฐใช้เทคติก ไม่เข้า/ไม่ขานว่าโหวตอะไร
3. ส.ส.ภูมิใจไทยใช้แทคติกวอล์กเอาต์ จริงๆ หากมีความจริงใจกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สิ่งที่ควรทำคือ การถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล ไม่ร่วมสังฆกรรมกับพลังประชารัฐและส.ว.อีกต่อไป เพื่อยืนยันจุดยืนดังกล่าวและกดดันให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้จริง
1.ทางกฎหมาย เกิดได้ทุกเมื่อทุกเวลา ผ่านกระบวนการแบบเดิมและอาจถูกขัดขวางแบบเดิม
1.1 ประชาชน-ส.ส.สามารถเสนอร่างแก้ไขเข้าไปใหม่ในการประชุมสภาสมัยหน้า
1.2 ให้ประธานสภาหยิบร่างแก้ไขที่อยู่ในสภาอยู่แล้วกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่ก็ได้
2. ทางการเมือง
สร้างแรงกดดันหรือทำให้รัฐบาลพ่ายแพ้ทางการเมืองก่อน อาจเป็นการประท้วง การเลือกตั้งใหม่ครั้งหน้า ฯลฯ “ประเด็นคือ ต้องทำให้เขารู้สึกว่าอยู่ในอำนาจแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไป เขาถึงจะยอมแก้ไข”
3.ใครๆ ก็สัญญาจะแก้รัฐธรรมนูญ คสช.
“ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”
4.ประชาชนไม่ต่อต้านรัฐประหาร-ศาลช่วยประทับตรา
ความตอนหนึ่งของคำตัดสินศาลฎีการะบุว่า
“สภาพความเป็นรัฐของรัฐใดรัฐหนึ่งนั้น จะต้องประกอบไปด้วยดินแดนอาณาเขตแน่นอนและมีประชากรอาศัยอยู่ในดินแดนนั้น โดยมีรัฐบาลปกครองและมีอธิปไตยเป็นของตนเอง ประการสำคัญการตีความกฏหมายต้องตีความในเชิงให้เกิดผลบังคับได้ แม้ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิบห้าที่อ้างว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ไม่ชอบในลักษณะที่เป็นกฏหมายก็ดี แต่การตีความกฏหมายต้องตีความในเชิงให้เกิดผลบังคับได้ตามที่กล่าวไปแล้ว และต้องเป็นการตีความในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อเจตนารมณ์แห่งความธำรงอยู่ของความเป็นรัฐหรือชาติบ้านเมืองด้วย มิฉะนั้นสถานะความเป็นรัฐหรือความเป็นชาติบ้านเมืองจะถูกกระทบให้เสียหายไปเพราะไม่มีอธิปไตยอยู่ครบถ้วน ……..เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติยึดอำนาจการกครองแผ่นดินจากรัฐบาลรักษาการได้อย่างเบ็ดเสร็จ และประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 คณะรัฐมนตรีและวุฒิสภาสิ้นสุดลง ประเทศไทยในขณะนั้นจึงไม่มีหน่วยงานใดที่จะทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ แต่มีคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ามาใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์แทน ซึ่งแม้การได้มาซึ่งอำนาจนั้นจะเป็นวิธีการที่ไม่เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยดังที่โจทก์ทั้งสิบห้ากล่าวอ้าง และจะมีความชอบธรรมในการได้มาซึ่งอำนาจในเชิงข้อเท็จจริงว่าเป็นคณะบุคคลที่ใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติโดยควบคุมกลไกและหน่วยงานของรัฐได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ที่บัญญัติโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีสภาพเป็นกฎหมาย”
นอกจากนี้ศาลยังอ้างอิงมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่คณะรัฐประหารเขียนขึ้นด้วย ระบุว่า
“……มาตรา 48 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 นั้น ประกาศใช้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับปัจจุบันแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจในการไต่สวน อีกทั้งในมาตรานี้ก็ระบุไว้ชัดเจนว่า บรรดาการกระทำทั้งหลาย ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”