การแก้รัฐธรรมนูญเป็นวาระสำคัญที่หลายฝ่ายเรียกร้อง และเป็น 1 ใน 3 ข้อเรียกร้องหลักของการชุมนุมที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ด้วยขั้นตอนอันยาวนาน เทคติกอันซับซ้อน อาจทำให้ผู้คนตามไม่ทัน และไม่รู้ว่าเกมในสภากำลังทำให้ (ได้) เสียอะไรบ้าง หรือกระทั่งไม่ทันตั้งหลักว่า สุดท้ายเกมอาจพลิกกลายเป็นรัฐบาลประยุทธ์เป็นผู้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้
จึงมีความจำเป็นที่เจ้าของอำนาจอธิปไตย ผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญต้องตามให้ทัน จับตาช่วงสำคัญ เพื่อคิดถึงโจทย์ข้างหน้าว่าจะทำไรกับเกมในรัฐสภา ซึ่งจะว่าไปมันก็นับเป็นหนทางแก้วิกฤตอย่างสันติที่สุดของสังคม
1. ในวาระ 1,2,3 ต้องใช้เสียงสองสภา (ส.ส.-ส.ว.) เกินกึ่งหนึ่ง
2. ในวาระ 1 และ 3 ต้องใช้เสียง ส.ว.ซึ่ง คสช.แต่งตั้งถึง 1 ใน 3 หรือ 84 เสียง
3. ในวาระ 3 ต้องใช้เสียงจากพรรคฝ่ายค้านด้วยร้อยละ 20
4. ก่อนทูลเกล้าฯ เปิดช่องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
5. ต้องทำประชามติ หากแก้ในส่วนสำคัญที่ระบุไว้หลายเรื่อง
1. แก้มาตรา 256 เพื่อเปิดทางให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบรายมาตราเกิดได้ง่ายขึ้น 2. การจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
Ø เสียงในการแก้รัฐธรรมนูญ
รัฐบาล : 3 ใน 5 หรือ 450 เสียง
ฝ่ายค้าน : กึ่งหนึ่ง หรือ 375 เสียง
Ø สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
รัฐบาล : เลือกตั้ง 150 คน คัดเลือก 50 คน ( ตัวแทนรัฐสภา,นักวิชาการ,นักศึกษา)
ฝ่ายค้าน : เลือกตั้งทั้งหมด 200 คน (ใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง)
Ø การแก้หมวด 1, 2
รัฐบาล : ห้าม
ฝ่ายค้าน : ห้าม
1. ใช้เสียงแก้ไขรัฐธรรมนูญ 1 ใน 3 ของสองสภา หรือ 500 เสียง
2. สสร. มาจากการเลือกตั้ง 100% ใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
1. ใช้เสียงแก้รัฐธรรมนูญ 3 ใน 5 หรือ 450 เสียง
2. สสร. เลือกตั้ง 100% แบ่งเขตย่อย 200 เขต (คล้ายการเลือกตั้งส.ส.เขต)
“ระบบนี้จะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้สมัครที่มีหัวคะแนนเชื่อมโยงกับ ส.ส. และนักการเมือง เอื้อต่อผู้มีชื่อเสียง มีอิทธิพล หรือมีฐานคะแนนเสียงอยู่แล้วในพื้นที่ เปิดโอกาสให้กลไกรัฐระดมสรรพกำลังเข้ามาแทรกแซงได้ง่าย ที่สำคัญ เป็นระบบเลือกตั้งที่ตัวแทนหลากหลายของคนกลุ่มต่าง ๆ หรือ คนกลุ่มน้อย มีโอกาสน้อยมากที่จะได้รับเลือกเข้าไปทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงในสภาร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากผู้เลือกตั้งมีเสียงเดียว และผู้ชนะมีเพียงคนเดียวที่ได้คะแนนเสียงสูงสุด ระบบเลือกตั้งที่เหมาะสมกว่า ในการเลือก สสร. ครั้งนี้ คือ ระบบเสียงข้างมากธรรมดา หนึ่งเขตหลายคน คะแนนเสียงเดียว ถ่ายโอนคะแนนไม่ได้ (Single Non-Transferable Vote--SNTV) เป็นระบบเลือกตั้งที่คนไทยเคยใช้มาแล้ว ในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543”
Ø มีชัย ฤชุพันธุ์ มือยกร่าง รธน.2560 ผู้เป็น 1 ใน คสช. ปัจจุบันเป็นประธานคณะกฤษฎีกาชุดที่ 1
Ø บวรศักดิ์ อุวรรณโณ มือร่างรัฐธรมนูญฉบับแรกยุค คสช.ที่โดนโหวตคว่ำ เจ้าของวาทะ “เขาอยากอยู่ยาว”
Ø สมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตคณบดีนิติศาสตร์ มธ. เคยไปนั่งเป็น สนช.และเป็นกรรมาธิการช่วยยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์
Ø อุดม รัฐอมฤต อดีตโฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ให้สัมภาษณ์สื่อหลายครั้งตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า การยกร่างใหม่ทั้งฉบับทำไม่ได้ แก้ได้เฉพาะรายมาตรา ทั้งยังแนะนำช่องให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความด้วย
1. ถ้าวินิจฉัยว่า รัฐสภามีอำนาจพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ก็เป็นอันว่าเดินหน้าสู่การโหวตวาระ 3 กระนั้น ในการโหวตวาระ 3 ผู้กำหนดหลักยังเป็น ส.ว.แต่งตั้ง เพราะต้องใช้เสียงส.ว. 1 ใน 3 ขณะนี้เริ่มมีส.ว.บางส่วนออกมาให้สัมภาษณ์แล้วว่า จะโหวตคว่ำร่างนี้เพราะเกรงจะไปแก้หมวด1 หมวด2 (ทั้งที่ระบุแล้วว่าห้ามแก้) และต้องการให้เขียนเพิ่มเติมว่าห้ามแก้อีก 38 มาตราเกี่ยวกับพระราชอำนาจที่กระจายในหมวดอื่น
2. หากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกำหนดให้ “แก้ได้รายมาตราเท่านั้น” (ตั้ง สสร.เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้) แปลว่า กระบวนการทั้งหมดอาจต้องเริ่มต้นใหม่ และสิ่งที่น่าจะได้คือ การแก้ไขมาตรา 265 ว่าด้วยเงื่อนไขการแก้รัฐธรรมนูญที่จะทำให้ทำได้ง่ายขึ้นตามที่โหวตผ่านไปในวาระ 2 ไป นั่นคือ ใช้เสียงสองสภา 3 ใน 5 โดยตัดเงื่อนไขอื่นๆ ออก
คำนวณด้วยคณิตศาสตร์พื้นฐาน การจะแก้รัฐธรรมนูญมาตราต่างๆ ไม่มีทางเป็นไปได้ ถ้าฝ่ายรัฐบาลและส.ว.ไม่เอาด้วย เพราะเสียงไม่มีทางถึง 3 ใน 5 แน่นอน ยกเว้น แก้ในสิ่งที่พรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่นๆ อยากได้ด้วย เช่น แก้ระบบเลือกตั้ง อาจพอมีลุ้นว่าเสียงจะถึงหรือไม่
ณัชปกร นามเมือง เจ้าหน้าที่ไอลอว์ ให้ความเห็นไว้ว่า การแก้รัฐธรรมนูญให้ระบบเลือกตั้งกลับไปใช้บัตร 2 ใบ อาจเป็นประเด็นที่พรรคร่วมรัฐบาลอย่างประชาธิปัตย์ ชาติไทยพัฒนา ได้ประโยชน์ด้วย เพราะจะทำให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น ไม่เกิดพรรคเล็กพรรคน้อย ไม่เกิดรัฐบาลผสมหลายพรรค แต่ไม่แน่ใจว่าพลังประชารัฐ ภูมิใจไทยหรือพรรคจิ๋วทั้งหลายซึ่งได้ประโยชน์จากระบบที่เป็นอยู่จะอยากเปลี่ยนแปลงแค่ไหน พวกเขายังไม่ได้แสดงจุดยืนเรื่องนี้ชัดเจน
“กรณีแก้รายมาตรา สมมติเราอยากแก้เรื่อง ที่มา ส.ว. ต่อให้แก้โดยใช้เสียง 3 ใน 5 ก็ยังเป็นไปได้ยากมาก ต้องใช้เสียงประมาณ 450 เสียง ถ้า ส.ว.ไม่เอาด้วยเลย ก็เท่ากับต้องใช้เสียง ส.ส.ถึงร้อยละ 90 ของทั้งสภา แค่พรรคพลังประชารัฐพรรคเดียวไม่เอาด้วยก็จบแล้ว จริงๆ แล้วเงื่อนไขที่ต้องใช้เสียง 3 ใน 5 ฝ่ายคุณประยุทธ์ได้เปรียบที่สุด ตัวเองมีส.ว.แต่งตั้งอยู่ในมือ 250 แล้ว หาอีกแค่ 200 เสียง พรรคพลังประชารัฐมีอยู่ 120 เสียง หาพรรคร่วมเพิ่มก็น่าจะมีโอกาส ถ้าเขาต้องการแก้บางอย่างที่เขาอยากแก้” ณัชปกรกล่าว
Ø 11 มี.ค.นี้ ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอย่างไร
Ø 17 - 18 มี.ค. โหวตวาระ 3 เหล่าส.ว.และพรรครัฐบาลจะคว่ำร่างนี้หรือไม่
Ø หากรอดมาได้ก็จะเจอศึก ‘ประชามติ’ เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดว่า การแก้รัฐธรรมนูญต้องทำประชามติด้วย
Ø หากรอดจากศึกประชามติก็จะเข้าสู่ศึก ‘เลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.’ เพื่อผลักดันวาระการแก้ไขปัญหาโครงสร้างต่างๆ ที่ไม่รู้จะดันกันได้กี่มากน้อย
Ø จากนั้นก็จะเข้าสู่ศึกประชามติ ‘ร่างรัฐธรรมนูญใหม่’ อีกหน
Ø ตามปฏิทินที่ไอลอว์คำนวณไว้ว่า หากร่างผ่านวาระ 3 ตามกำหนดเดิมโดยไม่ถูกคว่ำ จังหวะทางการเมืองแบบที่เร็วที่สุดจะเป็นดังนี้
เส้นทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ หนึ่งในข้อเรียกร้องที่มีความชอบธรรมมากที่สุด สงบสันติที่สุดของประชาชน กำลังถูกขัดขวางอย่างเต็มที่ และฉากสุดท้ายอาจพบกับความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แต่นั่นเท่ากับเพิ่มอุณหภูมิให้กับกาต้มน้ำที่ถูกปิดฝาสนิท