นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ร่วมกับแผนกการวิจัยและนโยบายของ เอจ ยูเค และควีนแมรี มหาวิทยาลัยลอนดอน ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายจำนวน 11,215 คน และเพศหญิงจำนวน 12,118 คน โดยวัดจากอาชีพ และอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้น ผ่านแบบสอบถามทางสุขภาพ
การสำรวจดังกล่าวล้วงลึกไปถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลายประการ อาทิ อายุ สถานภาพการสมรส การมีบุตร ความพึงพอใจต่อรายได้ ภาวะสุขภาพในระยะยาว หรือวุฒิการศึกษา ก่อนจะพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการของโรคซึมเศร้าสูงที่สุดคือ ‘ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์’
โดยการสำรวจที่ผ่านมา พวกเขาแบ่งประเภทชั่วโมงในการทำงานต่อสัปดาห์ของกลุ่มเป้าหมายออกเป็น
ผลการวิจัยชิ้นนี้ีเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ผ่านทาง Journal of Epidemiology & Community Health แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่ต้องพบกับชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานเป็นพิเศษ หรือมากกว่า 55 ชั่วโมง/สัปดาห์ มีสุขภาพจิตเลวร้ายที่สุดในบรรดาผู้เข้าร่วมการสำรวจ และมีอาการของโรคซึมเศร้าสูงกว่าผู้หญิงที่มีชั่วโมงการทำงานอยู่ในเกณฑ์ปกติอย่างเห็นได้ชัด
ผลการวิจัยกลับแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าผู้ชายจะมีชั่วโมงในการทำงานต่อสัปดาห์น้อย หรือมากกว่าเกณฑ์ปกติ ก็ไม่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงที่มากขึ้นของภาวะซึมเศร้า
ทุกเพศเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงขึ้น หากทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์
การทำงานในวันเสาร์-อาทิตย์ กลายเป็นเรื่องที่หนักหนากว่าไม่ได้พักผ่อน เมื่อผลวิจัยบอกว่า ทุกเพศมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าเดิม หากต้องทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์หลังกรำศึกหนักมาทั้งอาทิตย์
พร้อมทั้งระบุลงไปอีกว่า ความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าจะสูงขึ้นสำหรับผู้ชายที่ทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี ในขณะที่ความเสี่ยงของผู้หญิงแปรผันโดยตรงกับจำนวนวันหยุดสุดสัปดาห์ที่พวกเธอต้องทำงาน
ทั้งนี้ กลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าสูงที่สุดโดยไม่เกี่ยงว่าจะเป็นเพศไหนได้แก่แรงงานสูงอายุ ผู้สูบบุหรี่ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่ไม่สามารถควบคุมหน้าที่การงานของตนเองได้
งานบ้านทำให้ผู้หญิงมีชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์มากขึ้น
งานวิจัยชิ้นดังกล่าวยังเปิดเผยสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงต้องเผชิญหน้ากับชั่วโมงการทำงานมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายที่ทำงานในเวลาเท่ากัน เนื่องมาจากผู้หญิงต้องรับภาระงานบ้านทำให้ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์สูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
นอกเหนือไปกว่านั้น นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ที่ต้องทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์มักจะประกอบอาชีพในภาคบริการที่มีค่าตอบแทนต่ำ ซึ่งหน้าที่การงานประเภทดังกล่าวเป็นเหตุให้ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนจำนวนมาก และการกระทำลักษณะนี้มีผลโดยตรงกับระดับที่เพิ่มสูงขึ้นของภาวะซึมเศร้า