ไม่พบผลการค้นหา
"ท่านอยู่กับผมทั้งชาติ" เป็นคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ที่เป็น ‘สัญญาใจ’ กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรมว.กลาโหม ที่ร่วมลงเรือลำเดียวกันจะครบ 4 ปี ‘ครม.ประยุทธ์’

แม้ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร จะถูกมองว่าเป็น ‘จุดอ่อน’ ของรัฐบาล ด้วยเรื่องราวต่างๆที่ทำให้ ‘เสียเรตติ้ง’ ไปไม่น้อย ซึ่งพล.อ.ประวิตร ก็รู้ดีถึงกระแสวิจารณ์นี้

“ผมทำงานอยู่ทุกวัน แต่กลับถูกบิดเบือนทุกเรื่อง และถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวถ่วง ในการทำงานของรัฐบาล” พล.อ.ประวิตร ตัดพ้อ

แต่ก็ไม่สามารถ ‘แยกพี่แยกน้อง’ ออกจากกันได้ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับ พล.อ.ประวิตร แม้มีกระแสเสี้ยมรายทางก็ตาม จนถึงขั้นให้หลุด ‘ครม.’ เลยทีเดียว แล้วให้ พล.อ.ประยุทธ์ นั่งรมว.กลาโหมแทน

อีกทั้งที่ผ่านมาก็มีกระแสเสี้ยมให้ร้าวกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ด้วยการให้สลับเก้าอี้ รมว.กลาโหม กับ รมว.มหาดไทย ทำให้ พล.อ.ประวิตร ต้องออกมา ‘รักษาสิทธิ์’ ขอนั่ง รมว.กลาโหมต่อ เพราะรู้จัก รมว.กลาโหมอาเซียนทุกคน และอาวุโสที่สุด โดยมี พล.อ.เตีย บันห์ รมว.กลาโหมกัมพูชา ที่อ่อนเดือนกว่าเท่านั้น

อีกทั้ง ‘บารมี’ ของ พล.อ.ประวิตร เท่านั้นที่จะคุม ‘เหล่าทัพ’ ได้ ผ่านคอนเนคชั่นต่างๆ รวมไปถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ มอบการดูแล ‘กิจการ ตร.’ กับ พล.อ.ประวิตร ด้วย

ขณะเดียวกัน พล.อ.ประวิตร เอง ก็พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ ‘บารมี’ นี้ เห็นได้จากบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารชั้นนายพลที่ผ่านมา ซึ่งทหารแต่ละสายได้คุมกำลังมากขึ้น ไม่ใช่เพียง ‘สายบูรพาพยัคฆ์’ เท่านั้น

ช่วงเวลานี้ถือว่า ‘เหล่าทัพ’ มีความเป็น ‘ปึกแผ่น-เอกภาพ’ เรื่องการแบ่งสายทหารตามถิ่นฐานหรือตามยุคสายใดเรืองอำนาจมีให้เห็นน้อยลง และทั้งทหารและตำรวจก็มีระเบียบวินัยที่ดีขึ้น

ประยุทธ์ อนุพงษ์ 634387_2036467893052939_6831882788438802432_n.jpg

ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ ได้ร่วมงานวันสถาปนากรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) ถิ่นกำเนินทหารเสือราชินี ที่จัดงานก่อนวันสถาปนาจริง 21 ส.ค. เพราะช่วงเดือนส.ค. จะเข้าสู่ช่วงการฝึก การจัดงานจึงจัดในช่วงต้นเดือนนี้ โดย พล.อ.ประยุทธ์ ให้ความสำคัญกับ ร.21 รอ. เป็นอย่างมาก ตั้งแต่เป็นนายกฯ มา 4 ปี ก็จะหาโอกาสมาร่วมงานตลอด

“มาเพื่อระลึกถึง ภูมิใจ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

เพราะเป็นถิ่นกำเนิด ‘3ป.บูรพาพยัคฆ์’ เมื่อ 40 กว่าปีก่อน หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จบ ร.ร.นายร้อย จปร. ก็มาเป็น ‘ร้อยตรี’ ที่นี่ โดยมี ‘บิ๊กป๊อก’พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็น ‘ร้อยโท’ และ พล.อ.ประวิตร เป็น ‘ร้อยเอก’ ซึ่ง พล.อ.ประวิตร เป็นพี่เลี้ยงให้ พล.อ.ประยุทธ์ ด้วย อีกทั้งพักอาศัยในบ้านหลังเดียวกันมา

ประยุทธ์ 044_2036467879719607_4415088254139760640_n.jpg


"พล.อ.ประวิตร เป็น พี่เลี้ยงผมมาตั้งแต่ ผมมารายงานตัวที่ ร.21พัน.3 รอ. ซึ่ง พล.อ.ประวิตร เป็น ผู้บังคับกองร้อย ตอนนั้น เป็นความสัมพันธ์ผมกับท่าน งานก็อีกเรื่องหนึ่ง” นายกฯ กล่าว

การกลับมา ‘ถิ่นทหารเสือ’ ครั้งนี้ ของพล.อ.ประยุทธ์ ได้เดินทางไปตรวจการสร้างสระว่ายน้ำทางยุทธวิธีด้วย เพื่อใช้ฝึกในหลักสูตรทหารเสือ ภาคทะเล ในการเตรียมพร้อมกำลังพลก่อนทำการฝึกในทะเลเปิดและใช้สำหรับการฝึกชุดปฏิบัติการทางน้ำ โดยมุ่งเน้นให้กำลังพลมีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ดำน้ำแบบ SCUBA ภายใต้สภาวะเสมือนจริงที่มีความลึก 10 เมตร ยาว 50 เมตร โดยเป็นสระว่ายน้ำอยู่พื้นที่ของ ร.21 พัน.2 รอ. หลังได้งบประมาณการจัดสร้างจากกองทัพบก 43 ล้านบาท

ซึ่งหลักสูตรทหารเสือ เริ่มทำการฝึกมาตั้งแต่ปี 2524 มีนายทหารที่เป็นผู้ก่อตั้ง คือ พ.ท.ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช อดีตผู้บังคับกองทัพทหารราบที่ 2 ร.21 รอ. เป็นผู้อำนวยการฝึกคนแรก โดยดำนเนินการฝึก 2ปี ต่อ 1 รุ่น เป็นหลักสูตรที่ใช้ระยะเวลาการฝึก 23 สัปดาห์ ที่ผ่านมามีการฝึกไปแล้ว 21 รุ่น

ประยุทธ์ ทหารเสือราชินี 28899_2036467959719599_7483365083121188864_n.jpg

แบ่งช่วงการฝึกออกเป็น 5 ภาค ได้แก่ 1.การฝึกภาคที่ตั้ง 5 สัปดาห์แรก ใช้พื้นที่ภายในค่ายนวมินทราชินี เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกทุกนายมีความกล้าหาญ อดทน และมีความรู้ในหลักยุทธวิธีทุกรูปแบบ ฝึกฝนการใช้อาวุธทุกประเภท พร้อมทั้งปรับสภาพร่างกายและจิตใจ เตรียมร่างกายให้พร้อมในการฝึกภาคต่อๆ ไป

2. การฝึกภาคป่า-ภูเขา ใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยใช้พื้นที่การฝึก จ.แม่ฮ่องสอนและ จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกได้เข้าใจเทคนิคการปฏิบัติต่างๆ ที่ได้เรียนรู้จากภาคที่ตั้ง และฝึกความอดทนในการดำรงชีพในป่าและภูเขา เช่น การฝึกการแทรกซึมทางพื้นดินเข้าปฏิบัติการต่อที่หมายในลักษณะหน่วยทหารขนาดเล็กหรือชุดปฏิบัติการ การจัดตั้งและใช้กำลังกองโจร การฝึกขี่บังคับม้า

3. การฝึกภาคทะเล ระยะเวลา 3 สัปดาห์ ใช้พื้นที่การฝึก จ.ชลบุรี เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการฝึกเรียนรู้การปฏิบัติทางทะเลทุกรูปแบบ เช่น การแทรกซึมทางน้ำ การดำน้ำทางยุทธวิธี การใช้เรือยาง การลาดตระเวนชายฝั่ง การฝึกสะเทินน้าสะเทินบก การโดดร่มลงทะเล การดำรงชีพในทะเล และประเพณีชาวเรือ

4. การฝึกภาคปฏิบัติการในเมือง ระยะเวลา 5 สัปดาห์ ในพื้นที่การฝึกกรุงเทพฯ เน้นการปฏิบัติในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง การต่อต้านการก่อการร้ายสากล การชิงตัวประกัน การขับขี่จักรยานยนต์ทางยุทธวิธี การรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ

5. การฝึกภาคอากาศ ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ใช้พื้นที่ค่ายนวมินทราชินี และ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในพื้นฐานของการกระโดดร่มแบบกระตุกเอง การบังคับร่ม การพับร่ม การแทรกซึมทางอากาศได้ทุกพื้นที่

ทั้งนี้ ร.21 รอ. ได้ส่งครูฝึกหลักสูตรทหารเสือฯ 6 นาย ไปร่วมปฏิบัติภารกิจกับ ‘หน่วยซีล’ ในการช่วยทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิต ออกจากถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอง จ.เชียงราย พร้อมส่งหน้ากากดำน้ำ-อุปกรณ์ดำน้ำไปสนับสนุนด้วย

พล.อ.ประยุทธ์ ยังให้แนวทางถึงการฝึกหลักสูตรทหารเสือ ให้ฝึกร่วมกับกองทัพเรือและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยด้วย ในการฝึกยุทธวิธีทางน้ำ ในสระฝึกที่จะแล้วเสร็จช่วงปลายปี61

ทหารเสือราชินี บูรพาพยัคฆ์ 6621659_2036467923052936_1204273233109450752_n.jpg

“อยากให้นำเหตุการณ์ที่ถ้ำหลวง นำมาประยุกต์กับหลักสูตรการฝึก เพื่อในอนาคตจะได้จัดระเบียบได้ ทั้งนี้หน่วยซีล กู้ภัย และหน่วยต่างๆมาร่วมกัน ถือเป็นกรณีศึกษา ซึ่งการดำน้ำภายในถ้ำไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีช่องแคบต่างๆ หรือต้องถอดถังอากาศบางช่วงด้วย จึงต้องสร้างเพื่อรองรับต่อไป ซึ่งการมาตรวจการก่อสร้างทางว่ายน้ำทางยุทธวิธี ที่ ร.21 รอ. ตรงกับสถานการณ์พอดี ซึ่งจะได้ใช้ในการกู้ภัย ไม่ใช่ไปเป็นพระเอก เพื่อไปสนับสนุน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

นับจากจุดกำเนิด กรมผสมที่ 21 หรือ LITTLE TIGER (พยัคฆ์น้อย) เมื่อปี2493 ที่เข้าร่วมสงครามเกาหลี เรื่อยมาถึงการตั้ง ร.21 รอ. และ กรมทหารเสือนวมินทราชินี ผ่านมากว่า 68 ปี ที่ได้สร้างเกีรติภูมิต่างๆ ด้วยความเป็นทหารเสือนี้เอง จึงเป็นสิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ มีความภาคภูมิใจสูงสุดอย��างหนึ่ง

“ร.21รอ. ไม่ได้สร้างวันเดียว มีผู้การ ร.21 รอ. มาหลายคน ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

อนาคต ‘ทหารเสือ’ จึงอยู่ที่ ‘รุ่นน้องทหารเสือ’ ไม่ใช่แค่ พล.อ.ประยุทธ์ เพียงคนเดียว

ปริศนา ลายพราง
164Article
0Video
39Blog