ไม่พบผลการค้นหา
"การอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ไม่สามารถจะล้มรัฐบาลได้ง่ายๆ ที่ผ่านมาในอดีตที่จะมีผลก็คือมี 2 แบบ แบบหนึ่งทำให้พรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคถอนตัว ทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้ต้องยุบสภาฯ"

"อีกแบบหนึ่ง คือ อภิปรายแล้วไม่มีใครออกไป ทำให้รัฐบาลเสื่อมมากในสายตาประชาชน คือสังคมได้ข้อสรุปว่ารัฐบาลนี้บริหารประเทศไม่ได้แล้ว ล้มเหลวมาก ต่อไปข้างหน้าจะไม่เลือกแล้ว นั่นคือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ"

'จาตุรนต์ ฉายแสง' สมาชิกพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์พิเศษ 'วอยซ์' ถึงการอภิปรายทั่วไปเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี และการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลในห้วงตลอด 3 ปีของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ทว่าพรรคร่วมฝ่ายค้านกลับยังไม่สามารถล้ม พล.อ.ประยุทธ์ ด้วยกลไลของรัฐสภาลงได้

เจ้าของฉายา 'สุภาพบุรุษประชาธิปไตย' อ่านทิศทางการเมืองในห้วงที่กระแส พล.อ.ประยุทธ์ กำลังเผชิญขาลงอย่างหนักว่า สถานการณ์การเมืองไทยในช่วงนี้มีความเข้มข้นมาก โดยเฉพาะความล้มเหลวของรัฐบาลเข้มข้นมาก อีกทั้งพรรคร่วมรัฐบาลก็เริ่มระหองระแหง ผนวกกับความนิยมรัฐบาลและตัว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ตกต่ำ  

"ไม่แน่เหมือนกันจะมีผลขั้นไหนถึงขั้นพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคถอนตัวหรือขัดแย้งภายในมากขึ้น อาจจะมีผลค่อนข้างมากจะทำให้ประชาชนได้ข้อสรุปว่าหากปล่อยให้รัฐบาลนี้บริหารต่อไปจะมีความเสียหายเกิดขึ้น"

จาตุรนต์ ฉายแสง

ปัญหาหลักของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์นั้น 'จาตุรนต์' มองว่า หลักใหญ่คือความล้มเหลวของการแก้ปัญหาประเทศมาจากรัฐบาลเพราะที่มาอาศัย ส.ว.เป็นหลัก จากการแต่งตั้งของ พล.อ.ประยุทธ์ เอง ทำให้รัฐบาลแบบนี้ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ไม่จำเป็นต้องทำอะไรที่ดีเพื่อประชาชน เพราะรัฐบาลไม่ได้พึ่งเสียงประชาชน

"การแก้ปัญหาไม่มีระบบกลไกที่ดี เนื่องจากต้องเน้นว่าพรรคร่วมรัฐบาลไหนคุมกระทรวงตัวเองไป ทำให้การแก้ปัญหาทำไม่ได้ ที่สำคัญเมื่อไม่มีทีมเศรษฐกิจแล้ว นายกฯเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ เป็นความว่างเปล่า คือเป็นหัวหน้าของทีมที่ไม่มีจริง นายกฯ ไม่มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ ไม่ใส่ใจบริหารงานด้านนี้ มาเจอสถานการณ์ที่ประเทศไทย มีปัญหาทางเศรษฐกิจหนักหนามากมาหลายปี" 

"พล.อ.ประยุทธ์ เสื่อมลงอย่างมากแล้ว เขาไม่มีหัว"

"หมายความว่า (ความขัดแย้งของ 2 ป.) ถือมีดไพล่หลังกันไว้ ความขัดแย้งนี้ไม่ไว้ใจกันไม่ได้แล้ว"

นี่คือรอยร้าวความขัดแย้งลึกๆของ พี่ใหญ่และน้องเล็กในรัฐบาล

ประวิตร ประยุทธ์ สภา อภิปรายทั่วไป ประชุมสภา CAF-B914-FAB7791590EB.jpeg

ผ่านการวิเคราะห์ของ 'จาตุรนต์' ถึงสถานการณ์การดำรงอยู่ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ภายใต้รอยร้าวของกลุ่ม-ก๊วนการเมืองในสองฝั่ง จนกลายเป็นความไม่ลงรอย ความขัดแย้งของ 2 ป. ทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ

สะท้อนผ่านการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคเศรษฐกิจไทย ที่อยู่ภายใต้ปีกของ พล.อ.ประวิตร เป็นการวัดกำลังและต่อรองทางการเมือง ทั้งในและนอกรัฐสภา ซึ่งจะมีผลสะเทือนถึงเกมการเมืองในรัฐสภา โดยเฉพาะสภาล่ม เป็นว่าเล่นก่อนจะปิดสมัยประชุมรัฐสภาในวันที่ 1 มี.ค. 2565

อนาคตทางการเมืองของรัฐนาวา พล.อ.ประยุทธ์ กำลังแขวนอยู่บนเส้นด้าย 

แขวนอยู่บนความไม่แน่นอน แม้พี่ใหญ่อย่าง ป.ประวิตร จะการันตีเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2565 ว่า กลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส ยังสนับสนุนรัฐบาลชุดของน้องเล็ก 'ป.ประยุทธ์' และยืนยันว่าภาพรวมรัฐบาลไม่มีปัญหา จะอยู่ยาวไปจนครบวาระในปี 2566

"ฝ่ายค้านจะสามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ในสมัยประชุมรัฐสภาครั้งหน้า ถ้ามีการยื่นญัตติ พล.อ.ประยุทธ์ จะยืนอยู่เพื่อสู้ในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็หมายความว่า เขาต้องคุยกับ พล.อ.ประวิตร คุยกับพรรคพลังประชารัฐ ต้องอาศัย พล.อ.ประวิตร คุยกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า"

อนุทิน ธรรมนัส -EAB3-4B89-B605-6C53F1454017.jpeg

ความไม่มั่นคงของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ในปีที่ 3 ที่กำลังเข้าสู่ปีที่ 4 จึงไม่ง่ายเหมือนเช่นที่ผ่านมา กลายเป็นความร้าวลึกมากกว่าความลงรอยและชื่นมื่นเหมือนน้ำผึ้งหยดเดียวในช่วงปีแรกๆ 

และกลายเป็นการมองกันว่า การงัดข้อกันของกลุ่ม 2 ป. จะเป็นจุดจบหรือฉากอวสานของ 'พล.ประยุทธ์' หรือไม่

จาตุรนต์ ฉายแสง
  • อภิปรายทั่วไปจบลงมีการมองว่าเป็นการโหมโรงก่อนถึงคิวอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดูแล้วจะล้มรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ในสภาฯ ได้หรือไม่

ครั้งก่อนไปไกลจนถึงขั้นจะล้มในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่แล้ว แต่มาครั้งนี้สมคบเพื่อขับ ส.ส.ส่วนหนึ่งออกไปอยู่อีกพรรคหนึ่ง โดยที่พรรคนั้นก็ยังขึ้นกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ การเกิดขึ้นของพรรคการเมืองยังถือว่าเป็นพรรคฝ่ายค้านเพราะไม่มี ส.ส.คนใดอยู่ใน ครม. เท่ากับเป็นฝ่ายค้าน แต่ขึ้นอยู่กับ พล.อ.ประวิตร ความขัดแย้งถึงขั้นสองฝ่ายไว้ใจกันไม่ได้แล้ว ตรงนี้ทำให้กลายเป็นปัญหาการบริหารประเทศ นายกฯไม่มีสมาธิบริหารประเทศ อีกอย่างหนึ่งรัฐมนตรีหลายคนจะหวั่นไหว ไม่รู้จะฟังใครจะขึ้นกับใคร จะไปทำอะไรเองมากๆ ก็ไม่กล้าทำ มีปัญหาที่ละเอียดอ่อนเกิดขึ้นก็จะหาทางเอาตัวรอด ส่วนข้าราชการประจำทั้งหลายก็จะอยู่ในสภาพเกียร์ว่าง เป็นธรรมชาติ ธรรมดามากเลย 

ถ้านายกฯ ไม่อยู่ในสถานะมั่นคง รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพและแตกแยกอย่างมากในพรรคร่วมรัฐบาล ข้าราชการจะระวังตัวอย่างมาก ข้อดีถ้ามีโครงการอะไรไม่โปร่งใส เขาอาจไม่กล้าทำ แต่ผลเสียมาก งานจะไม่เดิน การแก้ไขปัญหาจะไม่เดิน กลายเป็นความเสียหายต่อการบริหารประเทศ สภาพอย่างนี้ปัญหามันอยู่ในสภาพไม่มีทางออกโดยตัวของมันเอง ปัญหาของประเทศจะหนักมากขึ้นเรื่อยๆ

จาตุรนต์ ฉายแสง
"พลังประชารัฐที่มี พล.อ.ประวิตร คงไม่น่าจะชู พล.อ.ประยุทธ์แล้วล่ะ แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เชื่อใจแล้ว"
  • ทำอย่างไรให้รัฐบาลที่หมดความชอบธรรมยุบสภาหรือลาออก

การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะต้องมีขึ้นในสมัยประชุมรัฐสภาครั้งหน้า เป็นปีที่ 4 ฝ่ายค้านจะสามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ถ้ามีการยื่นญัตติ พล.อ.ประยุทธ์ จะยืนอยู่เพื่อสู้ในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็หมายความว่า เขาต้องคุยกับ พล.อ.ประวิตร คุยกับพรรคพลังประชารัฐ ต้องอาศัย พล.อ.ประวิตร คุยกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคเศรษฐกิจไทย เพื่อจะให้มีหลักประกันยกมือสนับสนุนรัฐบาล 100% ถ้าไม่งั้นเขาเสี่ยงมาก เขาอาจมีวิธีการเจรจาต่อรอง มีการจับมือสาบาน อาจกรีดเลือดเลยสักอย่าง แต่สภาพนี้มันยาก เกิดขึ้นยากแล้ว ถ้าทำได้ ก็จะยืนสู้อภิปรายไม่ไว้วางใจได้เสียง เขาก็อยู่ได้

ถ้าเจรจาไม่ลงตัว การที่พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกฯ จะยืนสูู้ในการอภปรายไม่ไว้วางใจ เสี่ยงมาก เสี่ยงอันดับแรก การอภิปรายไม่ไว้วางใจจะชำแหละรัฐบาล จน พล.อ.ประยุทธ์จะหมดสภาพทางการเมือง หมายความว่าสมัยก่อนเรียกว่า โมฆะบุรุษ เป็นคนที่คนจะมองแล้วบอกว่าปล่อยให้คนนี้บริหารต่อไปไม่ได้แล้วถึงเขาเป็นนายกฯ ยกมือผ่านไป คราวหน้าต้องไม่เลือกคนที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ อย่างเด็ดขาด เดินถนนแทบไม่ได้

ความเสี่ยงอันดับสอง ของพล.อ.ประยุทธ์ เกิดร.อ.ธรรมนัสกับพวกและบางส่วนในพรรคพลังประชารัฐบางส่วนย้ายข้างมายกมือข้างเดียวกับฝ่ายค้าน แล้ว ร.อ.ธรรมนัส ปัจจุบันตามรัฐธรรมนูญต้องเป็นฝ่ายค้าน ถ้าฝ่ายค้านได้เสียงเกินครึ่งขึ้นมา พล.อ.ประยุทธ์จะพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทันที อันนี้จะทำให้เสียผู้เสียคนไปอีกแบบหนึ่ง นอกจากโดนอภิปรายจนทางการเมืองไปไม่ได้แล้ว ความรู้สึกประชาชนร้องยี้ หรือปล่อยให้บริหารต่อไปไม่ได้ แล้วพ้นจริงๆ ในสภาฯ ก็คือหมดอนาคตชีวิตไปเลย ไปเป็นอะไรอีกไม่ได้ อันนี้เป็นจุดหักเหสำคัญของการเมืองที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างช้า ก่อนหน้าจะเกิดอะไรคาดการณ์ไม่ได้ แต่เป็นรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ความนิยมตกต่ำมาก

จาตุรนต์ 3.jpg
  • การอยู่หรือไปของรัฐบาลนี้ขึ้นอยู่กับกลุุ่ม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ที่สังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย

คงต้องดูรวมไปถึงพวกของพวกเดียวกันในพรรคพลังประชารัฐด้วยการที่เขาแยกออกไปต้องการความเป็นอิสระ ถ้าจะไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะไม่มีมารยาทเรื่องพรรคพลังประชารัฐจะว่าอย่างไร แต่เขาก็ชัดเจนว่าอยู่กับ พล.อ.ประวิตร เป็นลูกน้องพล.อ.ประวิตร สมคบกันขับออกไป จริงๆ ตามรัฐธรรมนูญไม่ควรทำได้ แต่ทำไปแล้ว 

จะมีการล้มรัฐบาล หมายความว่า พล.อ.ประยุทธ์จะถูกคว่ำกลางสภาฯ หรือไม่ จะอยู่ได้หรือไม่ หรือจะต้องรีบลาออกหรือยุบสภาฯ ก่อนอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ ต้องอยู่ที่เสียงโดยรวมที่คุมโดย พล.อ.ประวิตร ว่าจะเอายังไง เพราะว่ามีมากกว่า 18 คนในพรรคเศรษฐกิจไทยอยู่แล้ว ในพรรคพลังประชารัฐ เราไม่รู้ว่ามีมากน้อยกี่คน ก็ขึ้นอยู่จะกดปุ่มหรือไม่ ถ้ากดปุ่มบอกว่าไม่เอาแล้ว แล้วพูดกันตรงๆ พล.อ.ประยุทธ์มีทางออกจะลาออกหรือยุบสภาฯ ก่อนจะมีการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะยื่นแล้วจะยุบสภาฯไม่ได้ 

จาตุรนต์ ฉายแสง
"ยิ่งพล.อ.ประยุทธ์อยู่ยาวต่อไป ความเสียหายของประเทศจะยิ่งมากขึ้น แล้วประชาชนจะเดือดร้อนทั้งประเทศมากขึ้น"
  • พี่น้อง 2 ป. วันนี้ความสัมพันธ์ไม่เหมือนวันวาน มีรอยร้าวลึกๆ

รอยร้าวชัดเจนมาตั้งแต่อภิปรายไม่ไว้วางใจคราวที่แล้วที่เกือบจะลงมติกันไป พล.อ.ประยุทธ์ เกือบถูกคว่ำในสภาฯ เป็นรอยร้าวระหว่าง 2 ป. หรือ 1 ป. กับ 2 ป. แต่ตอนหลัง การขับ ร.อ.ธรรมนัส กับพวกออกไป โดยเจตนารมณ์ดั้งเดิมระบบประชาธิปไตย เขาไม่ต้องการให้นักการเมืองลงสมัครพรรคใดพรรคหนึ่งไปกลางทางย้ายพรรคไป เพราะถือว่าไม่ทำตามเจตนารมณ์ของประชาชน เขาก็ไม่ให้ย้ายพรรคกันง่ายๆ เวลาขับถ้าขับถูกต้องต้องพ้น ส.ส. แต่ตอนหลังแก้แล้ว ไม่ว่ายังไงก็ไปหาพรรคใหม่ได้ คราวนี้สมยอมสมคบเพื่อจะขับออกไป ขับออกไป หมายความว่าพรรคที่แยกออกไปยังเป็นพวกเดียวกันกับผู้มีอำนาจของพรรคพลังประชารัฐอยู่ ที่แยกออกไปตั้งป้อมใส่พล.อ.ประยุทธ์

นั่นหมายความว่า เป็นความขัดแย้งของ 2 ป.นี้ มีอะไรที่มากกว่านั้น การเรียกร้องให้มีตำแหน่ง รมวม.มหาดไทย ขณะเดียวกันก็บอกว่าพรรคนี้อาจเป็นฝ่ายค้านต่อไป ก็เป็นการถือมีดไพล่หลังกันต่อไป ความขัดแย้งนี้มันชัดเจนแล้ว

  • สัญญาณเลือกตั้งก็อาจเกิดขึ้นในปี 2565  

ก็เป็นได้ แต่ว่าจะลาออกหรือยุบสภาฯ ก็ตามทั้งสองแบบ สิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ กับพวกจำนวนไม่น้อยต้องคิด แล้วมันจะเกิดอะไรกับการเมืองไทย ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ลาออกหรือยุบสภาฯ ต้องถามว่าการเลือกตั้งต่อไปจะเป็นยังไง บัตรสองใบ พรรคพลังประชารัฐกำลังคิดขึ้นมาในขณะที่พรรคพลังประชารัฐกำลังเข้มแข็ง เขาคิดว่าดึงคนจากพรรคฝ่ายค้านไปอยู่ด้วยก็ได้ ก็ได้เสียงอันดับหนึ่ง แต่ตอนนี้พรรคเขาแตก แตกและเสื่อมอย่างรุนแรง และเดิมเขาใช้ พล.อ.ประยุทธ์ รักสงบจบที่ลุงตู่ หรือตอนหลังบอกว่ารักลุงตู่ให้เลือกเบอร์นั้นเบอร์นี้

พล.อ.ประยุทธ์ เสื่อมลงอย่างมากแล้ว เขาไม่มีหัว เมื่อไม่มีหัวจะดึงให้คะแนนมาที่พลังประชารัฐมากๆ อย่างการเลือกตั้งครั้งที่แล้วจะยากมากแล้วเขาจะทำยังไง เขาแก้กติกาเอื้อต่อพรรคใหญ่ ซึ่งเดิมก็คือพรรคเขาเองแล้วพรรคที่ได้ประโยชน์อันดับสองคือ พรรคเพื่อไทย แล้วมาเป็นอย่างนี้ พรรคพลังประชารัฐจะได้ประโยชน์จริงหรือ เขาแตกกันไปแล้ว และยังเสื่อมลงไปด้วย ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ตกในสถานะ ต้องลาออกหรือยุบสภาฯ หรือยื้อแล้วพังทลายทางการเมือง เสื่อมทรามลงมากๆ มันมีผลว่าความตั้งใจที่ออกแบบระบบไว้เพื่อให้มีรัฐบาลสืบทอดอำนาจอีก 18 ปีรวมเป็น 20 ปีก็ทำไม่ได้ ผู้ที่มีอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งที่สร้างระบบนี้มาจะยอมไหม เมื่อแพ้แล้วก็ปล่อยให้ประชาชนกำหนด มันขัดต่อเจตนาดั้งเดิมของเขา มันก็เป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่สูงกว่าขัดแย้งในพรรคการเมือง

มันจะเป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่จะใช้คำว่าชนชั้นนำ กลุ่มคนที่มีอภิสิทธิ์โดยไม่เชื่อมโยงกับประชาชนทั้งหลายต้องคิด ในแง่ฝ่ายประชาธิปไตยต้องคิดในแง่ทางการเมืองเดินไปสู่จุดนั้น ฝ่ายที่เขามีอำนาจ โดยไม่เชื่อมโยงประชาชนต้องคิดเกมอะไรสักอย่าง ฝ่ายประชาธิปไตยจะรับมืออย่างไร

จาตุรนต์ 1.jpg
  • ที่่ผ่านมาฝ่ายค้านเลือกใช้สภาฯล่ม กดดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ยุบสภาฯ วิธีการนี้จะทำได้แค่ไหน เพราะรัฐบาลไม่แคร์กับสภาฯล่ม

ที่สภาฯ ล่มบ่อยๆ มากๆ นายกฯ เขาอาจไม่ยุบสภา ไม่ยุบสภา แรงกดดันไปมีไปมากขึ้นบ้าง ถ้ารัฐบาลไม่สามารถทำให้องค์ประชุมสภาฯ ไม่ได้ รัฐบาลควรแสดงความรับผิดชอบ แต่เป็นประเด็นหนึ่งในการเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบ แต่รัฐบาลไม่รับผิดชอบ เรื่องนี้ผมคิดว่ามันต้องแยกแยะอยู่เหมือนกัน องค์ประชุมสภาฯ อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล เข้าใจมาอย่างนี้ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว ถ้าองค์ประชุมไม่ครบ จะมาโทษฝ่ายค้านไม่ถูก ต้องพูดกันก่อนพรรคร่วมรัฐบาลต้องรับผิดชอบทางการเมือง เวลาไม่ครบ ไม่ครบเพราะอะไร ถ้าไม่ครบเพราะ ไม่ว่าญัตติอะไรไม่ไปประชุม แต่ถ้ารัฐบาลดื้อดึง พูดกันไม่ฟัง ขอแก้ไม่ได้เลย วอล์กเอาต์นับองค์ประชุม สภาก็ล่ม ประชาชนก็เข้าใจ เพราะรัฐบาลดื้อดึง

แต่จะทำยังไงให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้ มันต้องประกอบกันหลายอย่าง นอกจากสภาฯ ล่ม หรือไม่ล่ม ต้องว่าการบริหารล้มเหลวยังไง เสียหายต่อประเทศชาติอย่างไร ความจริงโอกาสที่ดีของพรรคร่วมฝ่ายค้านจะทำเรื่องนี้ให้ประชาชนเห็นว่านายกฯ และรัฐบาลล้มเหลวไม่สามารถแก้ปัญหาประเทศได้แน่ๆ แล้ว ก็คือ การอภิปรายตามมาตรา 152 อย่างนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ควรนับองค์ประชุมนะ ควรจะหาทางให้ได้อภิปรายมากกว่า ทำนองเดียวกัน ถ้าอภิปรายอยู่แล้วฝ่ายรัฐบาลวอล์กเอาต์ให้องค์ประชุมไม่ครบ อภิปรายไม่ได้ แต่ที่ผ่านมาก็ไม่ทำ ไม่มีใครทำ เพราะว่าเขาต้องยอม เพราะเป็นเวทีที่ต้องเปิดให้ฝ่ายค้านพูด รัฐบาลไม่กล้าทำขัดขวางองค์ประชุม 

จาตุรนต์ 5.jpg
  • ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ อยู่จนครบวาระในปี 2566 จะส่งผลอะไรต่อการเมืองไทย

พล.อ.ประยุทธ์ อาจต้องหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจซึ่งจะเริ่มได้ในเดือน พ.ค.นี้ โดยธรรมชาติและโดยการแสดงออกที่ผ่านมาทั้งหมดของ พล.อ.ประยุทธ์อยากจะอยู่ได้นาน และตีความรัฐธรรมนูญอยากอยู่ถึงปี 2570 หรือ 2568 เป็นอย่างน้อย ถ้าเขาแก้ตรงนั้นได้ เจรจากับพรรคร่วมรัฐบาล เจรจากับ พล.อ.ประวิตรและพวกได้ เขาก็ต้องอยู่ต่อให้ยาวที่สุด และใช้เวลานั้นให้เป็นประโยชน์ในการกู้อะไรต่างๆกลับคืนมา หาทางกู้เงินมาเยอะๆ แจกมากๆ เพื่อดึงคะแนนนิยมกลับคืนมา สร้างความมั่นคงของ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล เขาจะต้องวางแนวทางนั้นเพื่อให้กลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบ ใช้เวลาอยู่ไปถึงปี 2566 เพื่อสร้างความได้เปรียบกลับคืนมา แล้วจะเป็นปัญหายังไง อยู่นานไปยังไงก็ตาม รัฐบาลการนำของ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่มีทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจหรือปัญหาสำคัญๆ ของประเทศได้ ไม่มีทางแก้ได้เลย 

ถ้ายิ่งยืดจะเสียหายกับประเทศอย่างมาก ความเดือดร้อนจะมาก ยิ่งพล.อ.ประยุทธ์อยู่ยาวต่อไป ความเสียหายของประเทศจะยิ่งมากขึ้น แล้วประชาชนจะเดือดร้อนทั้งประเทศมากขึ้น

  • ถ้าเลือกตั้งเกิดในวันพรุ่งนี้ พรรครัฐบาลยัง ชู พล.อ.ประยุทธ์ ส่วนตัวจะชี้อะไรให้ประชาชนเห็นว่าไม่ควรเลือก พล.อ.ประยุทธ์

ถ้าพรรคพลังประชารัฐเสนอพล.อ.ประยุทธ์ต่อนะ มันง่ายสำหรับพรรคคู่แข่ง พรรคไหนคู่แข่งมันง่าย เพราะพล.อ.ประยุทธ์หมดสภาพแล้ว ยิ่งผ่านการอภิปรายทั่วไปมาตรา 152 ยิ่งเห็นชัด แต่จริงๆแล้ว ถ้ายังอยู่ต่อไป แล้วยังชู พล.อ.ประยุทธ์ ต่อ ทำให้เห็นไม่ได้ไม่ยาก พล.อ.ประยุทธ์ อยูู่ต่อไปยิ่งทำให้ประเทศเสียหาย สามารถเอาข้อมูลต่างๆ มาพูดให้โดยไม่ใช่ความรู้สึกเบื่อ ว่าแกพูดอะไรเลอะเทอะไปวันๆ สามารถทำให้เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้ทำความเสียหายต่อประเทศอย่างมาก ถ้ายิ่งอยูต่อไปจะยิ่งทำความเสียหายอย่างมาก ผมยังไม่เชื่อว่าจะมีพรรคการเมืองไหนชู พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯอีกในการเลือกตั้งครั้งหน้า เว้นแต่อภินิหารจริงๆ จะแพ้แน่ พวกเราไม่สามารถสืบทอดอำนาจได้แน่ ซึ่งยากมาก

พลังประชารัฐที่มี พล.อ.ประวิตร คงไม่น่าจะชู พล.อ.ประยุทธ์แล้วล่ะ แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เชื่อใจแล้ว ถ้าชูจะชูเขาจริงหรือเปล่า สุดท้ายตอนเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ไม่มีชื่อ ก็เก้อไปอีก ถ้า ชู พล.อ.ประยุทธ์จะทำให้การเลือกตั้ง พรรคฝ่ายค้านจะเกิดความได้เปรียบทันที 

  • ทางจบ ลงสวยๆ ของ พล.อ.ประยุทธ์ ก่อนประเทศจะบอบช้ำมากไปกว่านี้

หารือกับพวกเดียวกันที่คุยกันได้ พวกเดียวกันมาก่อน อย่าง พล.อ.ประวิตร และพวก หาทางว่าทำยังไงให้ลงไปโดยยังได้รับการดูแล ทำยังไงให้ฝ่ายสืบทอดอำนาจได้ ให้ดูแล พล.อ.ประยุทธ์ จะยุบสภา หรือลาออกก็ว่ากัน

จาตุรนต์ ฉายแสง
  • กติกาบัตร 2 ใบ ส.ส.เขต-ปาร์ตี้ลิสต์แยกกัน
  • โจทย์ใหญ่ 'ฝ่ายค้าน' ต้องคิดจะผนึกกำลังหรือไม่

'จาตุรนต์' วิเคราะห์ถึงผลเลือกตั้งซ่อมที่เกิดขึ้นในกรุุงเทพมหานคร ในเขตเลือกตั้งที่ 9 (หลักสี่-จตุจักร) เมือ่วันอาทิตย์ที่ 30 ม.ค. 2565 ซึ่ง 'สุุรชาติ เทียนทอง' จากพรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงมาเป็นอันดับ 1 29,416 คะแนน ส่วนอันดับ 2 กรุณพล เทียนสุวรรณ จากพรรคก้าวไกล ได้คะแนน 20,361 คะแนน

เขายอมรับว่า ผู้ได้รับเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กรุงเทพฯ เขตเลือกตั้งที่ 9 เป็นเรื่องความนิยมต่อตัวบุคคลมากพอสมควรเหมือนกัน แต่ขณะเดียวกันก็บอกถึงปัญหาพลังประชารัฐเสื่อมลงอย่างมาก พรรคฝ่ายประชาธิปไตยมากกว่า แต่เสียงนับกันอย่างนี้เวลาเลือกตั้งใหญ่ เวลานับพรรคฝ่ายไหนได้เสียงมากน้อย มันไปออกปาร์ตี้ลิสต์ ส่วนเขตสำคัญใครได้ ใครได้เท่าไรไม่เอามานับ

"พรรคพลังประชารัฐเสื่อมลงอย่างมากในกรุงเทพฯ พรรคไปในทางอนุรักษ์ถ้าลงพร้อมกันเสียงจะแตกยังไง อาจบอกอะไรไม่ชัดมาก ส่วนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.น่าสนใจติดตาม จะเอามาตีความโยงการเมืองใหญ่ก็ยากเหมือนกัน อาจไม่ได้มากนัก เพราะมีลักษณะพิเศษ พรรคร่วมรัฐบาลจะส่งใครบ้างก็ยังไม่ชัดเจน เขาจะหลบกันแค่ไหน ไม่ชัดเจน ส่วนพรรคฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทยไม่ได้ส่ง พรรคก้าวไกลส่ง แล้วผู้สมัครที่มีโพลนำมาคือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.อาจไม่บอกอะไรมากนัก ว่า ความนิยมของคนกรุงเทพฯต่อพรรคการเมืองใดเป็นยังไง"

การเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นจะกลับไปใช้ บัตรเลือกตั้งบัตร 2 ใบ มี ส.ส.เขต 400 คน จะทำให้ฝ่ายประชาธิปไตยมีชัยเหนือฝ่ายเผด็จการที่เคยใช้กติกาเมื่อปี 2562 หรือไม่ 'จาตุรนต์' ระบุว่า การเลือกตั้งเมื่อเปลี่ยนจากปี 2562 มาเป็นบัตร 2 ใบ ความสำคัญก็อยู่ที่การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เพราะคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ (ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ) น้อยลงมาจาก 150 คนเหลือ 100 คน แล้ววิธีคำนวณจะทำให้พรรคที่อาศัยคะแนนป๊อปปูลาร์โหวตจะลดความได้เปรียบลงอย่างมาก เคยได้ 10% 50 คน แต่มาระบบนี้ 10% ได้ปาร์ตี้ลิสต์ไป 10 คน แล้วส.ส.เขตจะได้เท่าไรแล้วแต่การเลือกตั้ง"

"การเลือกตั้งแบบนี้ การเลือกตั้งเขตจึงมีความสำคัญ การเลือกตั้งเขตมีปัญหาตัดคะแนนกัน เป็นเรื่องทั่วไป ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านตัดกันได้ บางประเทศมีเจรจาฝ่ายค้านร่วมมือกัน ฝ่ายรัฐบาลร่วมมือกันสับหลีกกัน มันเคยเกิดขึ้น แต่กรณีของประเทศไทยคงไม่ง่าย เพราะเพิ่งผ่านการเลือกตั้งบัตรใบเดียว ความเข้าใจทุกคะแนนมีความหมาย แต่จริงๆ การเลือกตั้งเขตคะแนนที่แพ้ไม่เอามานับ คงเป็นเรื่องที่คิดต่อไป"

จาตุรนต์ เพื่อไทย BF-3071E3B2EC65.jpeg

'จาตุรนต์' มองว่า กติกาใหม่ที่จะต้องเน้นหนักไปที่ ส.ส.แบบแบ่งเขต 400 คน ซึ่งการนับคะแนนจะแยกส.ส.แบ่งเขต ออกจากบัตร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ฉะนั้น พรรคที่มีประสบการณ์มากในการเลือกตั้งโดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลก็จะคิดได้เร็วกว่า 

"ถ้าใครคิดเรื่องนี้ได้ดีกว่าจะชิงความได้เปรียบ ถ้าฝ่ายไหนคิดไม่ได้ ก็ตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบหน่อย เป็นเรื่องที่ผมพูดจากความเข้าใจของกติกาและประเทศอื่น แต่ประเทศไทยต้องยอมรับว่าเรื่องแบบนี้ยังพูดแล้วเข้าใจยาก เป็นเรื่องที่ความเห็นผม มองข้ามไม่ได้" เขากล่าวถึงผลการเลือกตั้งภายใต้กติกาบัตร 2 ใบ ที่นับคะแนนแยกออกจากกันเหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540

ถามย้ำว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านจะทำยังไงให้ประสบชัยชนะ จะมีโอกาสแลนด์สไลด์หรือไม่ และจะต้องผนึกกำลังในการเลือกตั้งใหญ่หรือไม่

'จาตุรนต์' ชี้ว่า โดยหลักควรเป็นอย่างนั้น ต้องช่วยกันทำให้ประชาชนเห็นว่า ปล่อยให้ พล.อ.ประยุทธ์กับพวกมาเป็นรัฐบาลอีกไม่ได้ เพื่อมาเลือกอีกฝ่ายหนึ่ง แต่กติกาแบบนี้ พอบอกคะแนนฝ่ายประชาธิปไตยมารวมกัน 50% 55% มันไปนับที่ปาร์ตี้ลิสต์ไม่ได้นับที่ ส.ส.รวม

"ถ้าแบบเดิมคะแนนรวมออกมา 55% อาจจะกลายเป็น ส.ส.เกินครึ่งหนึ่งของสภาฯ แต่พอมากติกาแบบนี้ไปวัด ส.ส.เขต คำว่าผนึกกำลังที่พูดคืออะไร และจะต้องทำยังไง เป็นเรื่องที่จะต้องคิด ถ้าบอกว่าทำไม่ได้หรอก เป็นเรื่องเสียเวลา ก็จะเป็นเรื่องที่ไม่คิด และไม่มีการทำอะไร และเกิดเป็นการเสียเปรียบเสียหายเกิดขึ้นที่จะทำให้ชนะมากๆไปเลยก็อาจไม่เกิดขึ้น"

ภาพ - เสกสรร โรจนเมธากุล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง