ไม่พบผลการค้นหา
The Toppick - นาซ่า ชวนนักเรียนตั้งชื่อยานสำรวจดาวอังคาร - Short Clip
The Toppick - เยอรมนี เตรียมออกกฎหมายแบนถุงพลาสติก - Short Clip
The Toppick - 'สกุลเงินดิจิทัลของจีน' อาจทำให้ทั่วโลกหันมาใช้เงินหยวน - Short Clip
The Toppick - อีเมลหลอกลวงทำบริษัทสูญเงินหลายหมื่นล้าน - Short Clip
The Toppick - นักวิจัยสร้าง 'หุ่นยนต์หางมนุษย์' เพื่อผู้สูงอายุ - Short Clip
The Toppick - ส่องนโยบาย 'อาเบะโนมิกส์' ขึ้นภาษีการขายทั่วญี่ปุ่น - Short Clip
The Toppick - 'รัฐบาลจีน' เตรียมปล่อยสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง - Short Clip
The Toppick - ก้าวต่อไป 'เอไอ' จะมาวินิจฉัยโรคให้คุณ! - Short Clip
The Toppick - สไลเดอร์น้ำในปีนัง ยาวเป็นกิโลฯ ทำลายสถิติโลก - Short Clip
The Toppick - วงการ 'STEM' ไม่มีพื้นที่สำหรับเพศหญิง - Short Clip
The Toppick - รัสเซียประท้วงเพื่อ 'เลือกตั้งเป็นธรรม' เข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 - Short Clip
The Toppick - 'ซื้อตั๋วเครื่องบิน แต่ไม่เดินทาง' ผิดกฎหมายสิงคโปร์ - Short Clip
The Toppick - อาชญากรรมในบาร์เซโลนาเพิ่มขึ้น 30% ในครึ่งปีแรก - Short Clip
The Toppick - จีนพัฒนา 'หุ่นยนต์นก' ผนึกกำลังโดรน - Short Clip
The Toppick - โลกร้อนอาจทำให้คนกัมพูชาอดตาย - Short Clip
The Toppick - 'รอยสัก' สัญลักษณ์แสดงจุดยืนแห่งการประท้วงฮ่องกง - Short Clip
The Toppick - คนรุ่นใหม่ญี่ปุ่นรู้สึกผิดกับประวัติศาสตร์ช่วงสงครามน้อยลง - Short Clip
The Toppick - ญี่ปุ่น ทำหิมะเทียมรับร้อนโอลิมปิกปีหน้า - Short Clip
The Toppick - 'ล้างเนื้อสัตว์ก่อนปรุงอาหาร' ยิ่งเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรค - Short Clip
The Toppick - ญี่ปุ่นร้อน ผู้ชายหันมาใช้ร่มกันแดดตามคำแนะนำรัฐบาล - Short Clip
The Toppick - วิจัยชี้ ไม่มี 'ยีน' ที่กำหนดให้เป็น LGBTQ - Short Clip
Sep 3, 2019 08:19

ผลการศึกษาล่าสุดระบุว่า ไม่มียีนใดยีนหนึ่งที่กำหนดว่าใครจะเป็นกลุ่มหลากหลายทางเพศ แต่มีความแปรผันทางพันธุกรรมหลายประการที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ

ผลการศึกษาที่เพิ่งถูกตีพิมพ์ในนิตยสารทางวิชาการ Science ได้นำข้อมูลของคนเกือบ 500,000 คนมาวิเคราะห์ทางพันธุกรรม และพบตัวแปรทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน แต่ปัจจัยทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรักเพศเดียวกันไม่ถึงร้อยละ 25

นักวิจัยได้สแกนจีโนม ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดที่จำเป็นใช้ในการสร้างและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่บนดีเอ็นเอ ของคนที่ลงทะเบียนกับโครงการของธนาคารทรัพยากรชีวภาพของอังกฤษ หรือ UK Biobank 409,000 คน และอีก 68,500 คนที่ลงทะเบียนกับ 23andMe บริษัทด้านพันธุศาสตร์ จากนั้นคนที่เข้าร่วมโครงการนี้ยังถูกสัมภาษณ์ว่าพวกเขามีแฟนเพศเดียวกันหรือมีแฟนต่างเพศ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเอ็มไอทีสรุปว่า พันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรักเพศเดียวกันเพียงร้อยละ 8 - 25 โดยรองศาสตราจารย์เบน นีล หนึ่งในนักวิจัยจากแผนกวิเคราะห์และแปลความทางพันธุศาสตร์ของโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ เจเนอรัล กล่าวว่า ไม่พบยีนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรักเพศเดียวโดยเฉพาะ และยิ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะตรวจดีเอ็นเอว่าใครเป็นคนรักเพศเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้พบการแปรผันทางพันธุกรรม 5 ประการที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน รวมถึงจุดที่เกี่ยวข้องกับการได้กลิ่นและฮอร์โมนเพศ แต่การแปรผันทางพันธุกรรมเหล่านี้รวมกันแล้ว ก็ยังส่งผลต่อพฤติกรรมรักเพศเดียวกันน้อยมาก

จารุพล สถิรพงษะสุทธิ นักวิจัยอาวุโสของ 23andMe กล่าวว่า นี่เป็นเรื่องธรรมชาติและปกติในความหลากหลายของมนุษย์ และสนับสนุนจุดยืนว่า เราไม่ควรพยายามและพัฒนา “การรักษาเกย์” เพราะไม่เป็นประโยชน์กับใครเลย

ซีค สโตกส์ จาก GLAAD องค์กรเคลื่อนไหวด้านความหลากหลายทางเพศกล่าวว่า การศึกษานี้ยืนยันว่า “ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า ธรรมชาติหรือการเลี้ยงดูที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเกย์หรือเลสเบี้ยน”

ส่วนเดวิด เคอร์ทิส ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์จากคณะพันธุศาสตร์มหาวิทยาลัย UCL ก็ระบุว่า การศึกษานี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ยีนเกย์” ไม่มียีนใดยีนหนึ่งที่จะกำหนดรสนิยมทางเพศของมนุษย์ สิ่งที่พบก็คือ ตัวแปรมากมายที่เกี่ยวข้องในระดับเล็กน้อย และต่อให้พฤติกรรมรักเพศเดียวกันจะไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมอย่างที่วิจัยนี้สรุป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลิกส่วนตัวที่มีมาแต่กำเนิดและขาดไม่ได้


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog