ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - วิจัยชี้ หุ่นยนต์วินิจฉัยได้ดีกว่าหมอ - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ พัฒนาเอไอตรวจจับเนื้องอก - Short Clip
World Trend - MIT พัฒนาหุ่นยนต์หยิบจับและจัดเรียงสิ่งของได้ - Short Clip
World Trend - MIT คิดค้นเฮดเซตอ่านความคิด - Short Clip
MIT พัฒนาเทคโนโลยีดูหนัง 3 มิติแบบไม่ต้องใช้แว่นตา
World Trend - บริษัทดังชี้ AI จะสร้างงานให้คน - Short Clip
World Trend - MIT คิดค้นเฮดเซตอ่านความคิด - FULL EP.
World Trend - มหาวิทยาลัยในฟินแลนด์เปิดคอร์สสอน AI ฟรี - Short Clip
IBM สร้างเทปแม่เหล็กเก็บข้อมูลได้จุที่สุดที่ในโลก: FULL EP
World Trend - ในอีก 2 ปี 83% ของงานองค์กรจะอยู่ใน 'คลาวด์' - Short Clip
World Trend - กูเกิลใช้ AI คาดการณ์เหตุน้ำท่วมในอินเดีย - Short Clip
World Trend - ประชากรโลกกว่า 95% เผชิญอากาศเสีย - Short Clip
World Trend - ฮอลลีวูดใช้ AI วางแผนสร้างหนัง - Short Clip
World Trend - Apple อาจยุติการสั่งซื้อ CPU จาก Intel ในปี 2020 - Short Clip
World Trend - อาชญากรรมจากความเกลียดชังในสหรัฐฯ เพิ่มสูง - Short Clip
World Trend - MIT คิดวิธีสื่อสารระหว่างเรือดำน้ำและเครื่องบินสำเร็จ - Short Clip
World Trend - iOS12 เพิ่มฟีเจอร์แชร์โลเคชันให้ตำรวจกรณีฉุกเฉิน - Short Clip
World Trend - จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ในการพัฒนา 'เอไอ'- Short Clip
World Trend - แอปเปิลเปิดตัวแมคบุ๊ก 'กรีนที่สุด' - Short Clip
World Trend - ​'หุ่นยนต์เล็ก' ตัวช่วยใหม่เกษตรกรอังกฤษ - Short Clip
World Trend - MIT พัฒนาระบบประสาทเทียมสั่งการจากสมองมนุษย์ - Short Clip
Jan 25, 2018 10:45

บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Intel หรือ IBM ต่างเริ่มพัฒนาชิปสำหรับ AI ที่เลียนแบบวิธีการทำงานของสมองมนุษย์ แต่ปัญหาคือยังไม่สามารถส่งผ่านข้อมูลจากสมองของมนุษย์ไปยังอุปกรณ์ AI ได้โดยตรง แต่ว่าล่าสุดทีมวิศวกรจาก MIT ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวได้สำเร็จแล้ว 

ปัจจุบันบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายแห่งได้ให้ความสนใจเทคโนโลยีการพัฒนาชิปปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เลียนแบบการทำงานของสมองและเส้นประสาทของมนุษย์ ซึ่งเรียกว่า Neuromorphic Computing แต่หนึ่งในความท้าทายที่สุด และเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกก็คือ การพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse) หรือจุดประสานประสาท ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพิเศษที่ทำหน้าที่เสมือนลำเลียงข้อมูลจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้ โดยล่าสุดทีมวิศวกรจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาไซแนปส์เทียมที่ทำงานได้จริงแล้ว ซึ่งควบคุมความแรงของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านได้อย่างแม่นยำ คล้ายกับการไหลของไอออนระหว่างเซลล์ประสาท ที่จะทำให้ในอนาคตมนุษย์สามารถสั่งการ AI ได้จากสมองได้โดยตรง โดยที่ไม่ต้องพูดออกมาเลย

ทีมวิศวกรได้สร้างไซแนปส์เทียมจากเวเฟอร์ซิลิกอน และ ซิลิกอน-เจอมาเนียม ซึ่งเป็นวัสดุแบบเดียวกับที่ใช้ทั่วไปในทรานซิสเตอร์ หรือตัวขยายสัญญาณ ซึ่งด้านจีวาน คิม หนึ่งในทีมวิจัยได้กล่าวว่า การใช้สองวัสดุที่ไม่ตรงกันอย่างสมบูรณ์แบบ จะทำให้เกิดข้อต่อรูปทรงกรวย ที่สามารถรวมเป็นเส้นทางเดียวในตอนปลาย และทำให้ไอออนไหลผ่านไปได้ ซึ่งจะต่างจากวิธีปัจจุบันที่นิยมใช้ของแข็งที่ไม่มีผลึก ทำให้ควบคุมการไหลของไออนได้ยากนั่นเอง

จากการทดสอบ ได้ลองสั่งงานชิป AI จากเครือข่ายประสาทเทียม ด้วยการเขียนตัวอย่างลายมือนับหมื่นแบบ ซึ่งผลปรากฏว่า AI สามารถจดจำลายมือได้กว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหากเทียบกับอัลกอรึธึมทั่วไปที่ทำงานด้วยฮาร์ดแวร์ก็มีความถูกต้องอยู่ที่ราว 97 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าชิฟ AI นี้ทำงานได้อย่างน่าเชื่อถืออย่างมาก 

จีวาน คิม ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอนาคตการคำนวณทางประสาทสัมผัส หรือ Neuromorphiccomputing จะสามารถทำได้มากกว่าการรับรู้ตัวอย่างลายมือ ซึ่งอาจนำไปสู่อุปกรณ์ AI แบบพกพาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสมาร์ตโฟนปัจจุบัน และในท้ายที่สุดเราต้องการชิปชิ้นใหญ่เพื่อแทนที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเลยก็ว่าได้  

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog