ไม่พบผลการค้นหา
ชอปปิงออนไลน์ติด 5 อันดับแรกการใช้เน็ตในไทย
Biz Feed - ไทยรั้งท้าย-ถูกลดอันดับ 'ดัชนีนวัตกรรมโลก 2018' - Short Clip
Biz Insight  : บริษัทญี่ปุ่นตีตลาดเพื่อผู้สูงอายุในไทย
Biz Feed - Biz Insight:เครื่องสำอางเกาหลีมุ่งตีตลาดมุสลิมในอาเซียน- Short Clip
Biz Feed - กระทรวงการคลังเร่งแก้เงินบาทแข็งค่า - Short Clip
CLIP Biz Feed : เทรนด์รัฐแบนสตรีทฟู๊ดระบาดในอาเซียน
CLIP Biz Feed : จ่าย 2 ล้านได้อยู่ไทยแบบอภิสิทธิ์ชน 20 ปี
World Trend - เกาหลีใต้เริ่มแบนถุงพลาสติกในซูเปอร์มาร์เก็ต - Short Clip
Biz Feed - เงินสะพัดธุรกิจสัตว์เลี้ยงเกือบ 3 หมื่นล้านบาท - Short Clip
Biz Feed - จีนให้วีซาฟรี 10 ปี กับชาวต่างชาติฝีมือสูง - Short Clip
CLIP Biz Feed : 'พิโก' เครื่องผลิตคราฟท์เบียร์ประจำบ้าน
Biz Feed - พาผู้สูงอายุเที่ยวไทยอาจได้ลดภาษี - Short Clip
Biz Feed - ไทยได้อันดับ2เป็นมิตรกับคนกินผักมากที่สุดในโลก - Short Clip
Biz Feed - คมนาคมกำชับรถไฟฟ้าแจ้งใน 5 นาที หากขัดข้อง - Short Clip
Biz Feed - 'ดีแทคพลิกไทย'สนับสนุน10โครงการเพื่อสังคมระดมทุน - Short Clip
Biz Feed - คลังเตรียมชง ครม.ลดภาษีท่องเที่ยวเมืองรองปี 61- Short Clip
CLIP Biz Feed : 5 ธุรกิจสำหรับนักลงทุนยุคมิลเลนเนียล
ยูนิเซฟขานรับ พ.ร.บ.คุมโฆษณานมผงไทย
CLIP Biz Feed : มูจิ ขยายสาขาในต่างแดนเกินหน้าสาขาญี่ปุ่น
World Trend - ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่มองชีวิตในแง่ร้าย - Short Clip
Biz Feed - คนทำงานรุ่นใหม่เบื่อง่าย เปลี่ยนงานบ่อย - Short Clip
Apr 18, 2018 04:20

ผลสำรวจที่มีชื่อว่า “วิถีชีวิตมนุษย์เงินเดือนในมิติการทำงาน และคุณภาพชีวิต” ของศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) พบว่ามนุษย์เงินเดือนในกรุงเทพ 55.2% มีการเปลี่ยนงานเฉลี่ยสองแห่ง โดยการทำงานในแต่ละที่ จะมีระยะเวลาในการทำงานเฉลี่ยที่ละ 3 ปี 6 เดือน แต่หากดูในกลุ่มคน Gen Y ที่มีอายุระหว่าง 20-37 ปี จะทำงานแต่ละที่เฉลี่ยที่ละ 2 ปี 5 เดือน ซึ่งก็สั้นกว่าคนกลุ่ม Gen X ซึ่งจะทำงานแต่ละที่เฉลี่ยที่ละ 5 ปี 5 เดือน ซึ่งสาเหตุที่กลุ่มคน Gen Y เปลี่ยนงานกันบ่อย ก็เพราะว่าต้องการทำงานกับบริษัทที่มีความมั่นคงมากขึ้น เพื่อที่จะได้ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เพิ่มขึ้น และก็ยังมีเหตุผลเรื่องของความเบื่อ เพราะคนรุ่นใหม่มักมีขอบเขตความอดทนที่ต่ำ และต้องการที่จะทำอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ 

ข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนงานที่ยืนยันว่าได้รับเงินเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเงินเดือนของผู้ที่เปลี่ยนงานกับไม่เปลี่ยนก็พบว่า กลุ่มที่ทำงาน 5 ปี และมีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีเท่ากัน ที่มีการเปลี่ยนงาน 1-2 แห่ง มีเงินเดือนเฉลี่ย 20,120 บาท และกลุ่มที่เปลี่ยนงานเกิน 2 แห่งมีเงินเดือนเฉลี่ย 22,044 บาท ส่วนผู้ที่ทำงาน 5 ปี แต่ไม่เคยย้ายงานเลย มีเงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 17,602 บาท ส่วนผู้ที่ทำงาน 10 ปี เปลี่ยนงานเกิน 2 ครั้ง รับเงินเฉลี่ย 38,500 บาทสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เปลี่ยนเลยถึงประมาณ 11,000 บาท หรือ 43% ซึ่งตรงนี้ก็แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนงานนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น 

ขณะเดียวกันยังพบว่า ภาพรวมของมนุษย์เงินเดือนในกรุงเทพมีความผูกพันต่อองค์กรค่อนข้างต่ำอยู่ที่ 40.6% ส่วนสัดส่วนผู้ผูกพันกับองค์กรสูงมี 33.5% และผู้ผูกพันปานกลาง 25.9% โดยกลุ่มผู้ทำงานในองค์กร 6-10 ปี มีสัดส่วนกว่าครึ่งมีความรู้สึกผูกพันต่ำที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มผู้ทำงานไม่เกิน 5 ปี ส่วนผู้ทำงานมากกว่า 10 ปีผูกพันสูงที่สุด แต่ก็มีถึง 1 ใน 3 ที่ไม่รู้สึกผูกพันกับองค์กร

ที่น่าสนใจคือ กลุ่มบริษัทจำกัด เป็นองค์กรที่มีแนวโน้มคนทำงานผูกพันกับองค์กรต่ำกว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงกลุ่มพนักงานบริษัทมหาชน ส่วนข้าราชการ เป็นกลุ่มที่มีความผูกพันกับองค์กรสูงที่สุด ซึ่งความผูกพันในองค์กรก็จะมีสาเหตุมากจากความรู้สึกพึงพอใจในการทำงาน และความพึงพอใจนี้ก็เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น เงินเดือน ความมั่นคง ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งบริษัทจำกัดยังไม่สามารถสร้างความพึงพอใจได้เท่ากับอีก 3 กลุ่มองค์กร ซึ่งหากเป็นด้านความมั่นคงต้องเป็นกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีความมั่นคงสูงที่สุด ส่วนบริษัทมหาชนมีโครงสร้างค่าตอบแทน และความก้าวหน้าทางอาชีพดีกว่า 


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog