ไม่พบผลการค้นหา
'คำด่า' ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตอน 2
การหายไปของคำว่า 'กรรมกร'
วรรณกรรมต้องห้ามในร้านหนังสือ
สงครามระหว่างวัย
บทเรียนของเทย์เลอร์รีพอร์ตเปรียบกับรายงานคอป.
รัฐเวชกรรมกับการควบคุมพลเมือง
'เบนโตะ' ในฐานะที่เป็นอุดมการณ์ของรัฐ
ทำไมต้องเผาตุ๊กตาบาร์บี้
จักรพรรดิกับประชาธิปไตย
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์
รัฐเวชกรรมกับการควบคุมพลเมือง ตอน 2
กำเนิดวันชาติ
อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของวันพืชมงคล
วิชาสร้างพลเมืองแบบไทยๆ 'สร้าง' หรือ 'ทำลาย' พลเมือง
แม่พลอยคือคนโง่ จากปากคำของ 'ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช' ตอนที่ 2
สถาปนิกแห่งความเป็นไทย
แม่พลอยคือคนโง่ จากปากคำของ 'ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช'
ครัวไทยไปครัวโลก..ได้แค่ฝัน หรือเป็นจริง (ตอน 2 )
ประวัติศาสตร์ว่าด้วย..ของต้องห้าม!! ในสังคมไทย
การฟื้นฟูเมือง เมืองใหญ่ของไทย อยู่ที่ไหนของโลก?
'คำด่า' ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
May 18, 2013 01:27

รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม 2556

 

"โปรดเข้าใจ กะหรี่ไม่ใช่หญิงคนชั่ว กะหรี่แค่เร่ขายตัว แต่หญิงคนชั่วเที่ยวเร่ขายชาติ"


ข้อความบนเฟซบุ๊ก ของชัย ราชวัตร  การ์ตูนนิสต์ชื่อดังหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กลายเป็นที่ถกเถียงกันใน โซโซเซี่ยลเน็ตเวิร์ก จนกระทั่งกลายเป็นเรื่องวิพากษ์วิจารณ์ระดับประเทศ


อ.ยุกติ มุกดาวิจิตร ได้เขียนบทความ "คำด่าไทยในสังคมไทย" ว่าการที่ข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมถึงใช้คำว่า "กะหรี่" และนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำ จึงใช้คำว่า " อยากเอา" มาประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง หลายคนวิเคราะห์ว่า เป็นเพราะพวกเขาเริ่มจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่ง! ไป"


การด่ากัน เป็นการต่อสู้ทางสังคมอย่างหนึ่งด้วยระบบสัญลักษณ์ เพียงแต่จะใช้ระบบสัญลักษณ์นี้อย่างไร  นักมานุษยวิทยา เอ็ดมันด์ ลีซ ได้วิเคราะห์โครงสร้างว่า ทำไมคำบางคำจึงหยาบคายในภาษาอังกฤษ เช่นหมาตัวเมีย (Bitch) ลูกแมว (Pussy) ฯลฯ คำด่าหรือสัตว์เลี้ยง ที่ต้องห้ามแต่ ยั่วยวน สิ่งต้องห้ามมักเป็นยั่งยวนของมนุษย์  ขณะเดียวกันก็น่ากลัว อันตราย และกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์


ส่วนเมืองไทย คำว่า หมา ...เหี้ย... ควาย... อาจวิเคราะห์จากโครงสร้างสังคมไทย ทั้งสามคำอยู่ในฐานะที่ต่ำต้อย  หรือแม้แต่ "ส้นตีน"ก็ใช้ส่วนอวัยวะที่ต่ำสุด รวมไปถึงการใช้คำว่า "กะหรี่"ที่มีฐานะต่ำกว่า บ้านนอก ขอทาน    ดังนั้นกรณีคู่ขัดแย้งที่อยู่ในฐานะเดียวกัน หากไม่สามารถทำให้อีกฝ่ายยอมรับนับถือตนเองด้วยเหตุผลได้  ก็มักหันมาใช้คำด่าแทน เป็นที่ชัดเจนว่า "พวกเขาไม่ใช่นักคิด ไม่ใช่นักประชาธิปไตยอะไรที่ไหน ก็แค่นักอนุรักษ์วัฒนธรรมลำดับชั้น ยึดมั่นกับวัฒนธรรมเหลื่อมล้ำสูงของสังคมไทยคนหนึ่งเท่านั้นเอง"


คำด่า คำหยาบ มีมาตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฎในกฎหมายตราสามดวง พระไอยการลักษณะวิวาทด่าตี มาตรา 36 ปีมหาศักราช 1369 ตรงกับปี พ.ศ.1990 แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่มีการชำระและคัดลอกใหม่ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ใจความว่า


"มาตราหนึ่ง ด่าท่านว่าไอ้ขี้ตรุ ขี้เมา ขี้ฉกลัก ขี้ลวงคนขาย ขี้โซ่ตรวน ขี้ขื่อขี้คา ขี้ถอง ขี้ทุบ ขี้ตบ ขี้คุก ขี้เค้า ขี้ประจานคนเสีย ขี้ขายคนกินทั้งโคตร ขี้ครอก ขี้ข้า ข้าถ้อย แลด่าว่าไอ้อี คนเสียคน กระยาจก คนอัปลักษณ์ คนบ้า คนใบ้…. สรรพด่ากันประการใดๆ ท่านปรับไหมโดยยศถาศักดิลาหนึ่ง ถ้าด่าถึงโคตรเค้าเถ้าแก่ไหมทวีคูณ"


ปัจจุบันคำด่าได้เปลี่ยนตามยุคสมัยไป เช่น อีเมมโมรี่ต่ำ  อีพะยูนน้ำตื้น  อีตู้เย็น ตู้เย็นธานินทร์ ไส้ติ่งปลาวาฬ  อีศพไม่ฉีดฟอร์มาลิน อีหน้าข้อศอกหมา เป็นต้น

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog