ไม่พบผลการค้นหา
ความเป็นไปได้ของการเคหะมวลชนในสังคมไทย
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์
ความจำเป็นของผลิตภัณฑ์เพื่อจุดซ่อนเร้นสำหรับผู้หญิง
อนุสรณ์สถานที่ถูกลืม
นางสาวสยาม สตรีผู้เป็นศรีสง่าแห่งรัฐธรรมนูญ
'ความสัมพันธ์ของสถานีโทรทัศน์ไทยกับรัฐประหาร'
วรรณยุกต์ในภาษาไทยมีมาแต่โบราณการจริงหรือ?
รถไฟความเร็วสูงกับอนาคตของประเทศไทย
มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะรักเดียวใจเดียว
จาก OVOP ถึง OTOP
ขันติธรรมกับสังคมไทย
ม่านรูด ทำไมจึงต้องรูดม่าน?
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนกับความเป็นไปได้
ทำไมคุณภาพของการศึกษาไทยจึงต่ำติดอันดับโลก
รัฐไทยไม่เคยแทรกแซงตลาดการค้าข้าวจริง?
บัญญัติ 10 ประการที่จะนำพรรคประชาธิปัตย์กลับมาสู่ความรุ่งโรจน์
นิยายติดเรท บทอัศจรรย์ของยุคสมัยใหม่
COSPLAY คืออะไร
รักแท้ ช็อกโกแลตและวันวาเลนไทน์
พื้นที่ของเพศทางเลือกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บทเรียนของเทย์เลอร์รีพอร์ตเปรียบกับรายงานคอป.
Oct 6, 2012 12:00

รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา  6 ตุลาคม 2555  

 
 
หากยังมีใครจำโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับแฟนฟุตบอลของสโมสรลิเวอร์พูลเมื่อ 23 ปีก่อนได้ คงไม่เคยลืม "โศกนาฏกรรมฮิลส์โบโร" เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1989 หรือ พ.ศ. 2532 เวลา 15.06 น. ในเกม เอฟเอ คัพ รอบรองชนะเลิศระหว่างทีม ลิเวอร์พูล กับ นอตติงแฮม ฟอเรสต์ ที่สนามฮิลส์โบโรของทีม เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ และเนื่องจากที่มีคนแออัดเข้ามาชมเกมมากเกินความจุจึงทำให้ อัฒจันทร์ ยืนได้พังลงมาและจนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 96 คน และทั้งหมดเป็นแฟนบอลของลิเวอร์พูล ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บมากถึง 766 คน
 
 
ผ่านมา 23 ปี เหตุการณ์อันแสนเศร้าในครั้งนั้นได้เปิดเผยความจริงออกมาแล้วหลังจากได้สร้างความคาใจให้กับแฟนฟุตบอลและญาติๆผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เพราะการสืบสวนก่อนหน้านี้ได้บอกว่าแฟนบอลกลายเป็นผู้ต้องหา โดนป้ายความผิดให้กลายเป็นพวกบ้าคลั่ง เมามายไม่ได้สติ อย่างไรก็ดีการเปิดเผยข้อมูลทำให้เหตุการณ์เปลี่ยนไป ทางสโมสรเชฟฟิลด์ เวนส์เดย์ เจ้าของสนามฮิลส์โบโรห์ ได้กล่าวคำขออภัยสำหรับครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่ต้องต่อสู้เพื่อความยุติธรรมนานกว่า 23 ปี และนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้ออกมายอมขอโทษต่อแฟนบอลของลิเวอร์พูลที่ปล่อยเรื่องนี้นิ่งไปนานไม่มีการสอบสวนหาความจริง
 
 
แต่สำหรับเหตุการณ์ที่สร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้กับคนไทยก็คือการที่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป.ได้ออกรายงานฉบับสมบูรณ์ พ.ศ.2555 ที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบและค้นหาความจริงในเหตุการณ์ความรุนแรงระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2553 โดยรายงานดังกล่าวได้บรรยายรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดจากการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าควบคุมฝูงชนที่มาชุมนุมและแกนนำผู้ชุมนุมในเวลานั้น ประกอบด้วยเหตุการณ์ในช่วงเวลาต่างๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เสียชีวิตของ
 
 
พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล วันที่ 13 พฤษภาคม 2553 เหตุการณ์ความรุนแรงบริเวณถนนราชปรารภ - มักกะสัน - ดินแดง โดยแบ่งเป็นเหตุการณ์ก่อนการปิดล้อมพื้นที่และเหตุการณ์ช่วงการปิดล้อมพื้นที่ ระหว่างวันที่ 13 ถึง 18 พฤษภาคม 2553 และเหตุการณ์บริเวณวัดปทุมวนารามฯ วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 
 
 
แม้ว่า คอป. ได้พยายามพรรณาหรือบรรยายถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การใช้ความรุนแรงในการควบคุมฝูงชนในห้วงช่วงเวลานั้น แต่ข้อเท็จจริงในบางประเด็นก็ยังไม่ได้มีการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือให้ความกระจ่างแก่สังคมอย่างแน่ชัด จนอาจเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงจากการควบคุมฝูงชนและการสลายผู้ชุมนุม ที่อาศัยอำนาจรัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในการกระทำการดังกล่าว เช่น กรณีกลุ่มชายชุดดำที่มิได้สรุปว่ากลุ่มชายชุดดำมีอยู่จริงหรือไม่และมีบทบาทชัดเจนอย่างไรต่อเหตุการณ์ดังกล่าว อันอาจทำให้บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นชายชุดดำหรือเกี่ยวข้องกับชายชุดดำมีตราบาปและถูกสังคมประณามว่าเป็นผู้ใช้ความรุนแรง 
 
 
บางทีอาจจะต้องใช้ระยะเวลาถึง 23 ปี กว่าที่คอป.จะออกมาทำความจริงเกี่ยวกับเรื่องของการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ให้กระจ่างและไม่ให้ใครๆค้างคาใจเหมือนโศกนาฏกรรมฮิลส์โบโรก็เป็นได้
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog