ไตรมาสสุดท้ายปีนี้ จะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของเศรษฐกิจไทยไหม
ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี เพิ่งเปิดเผยรายงานหลัก 'Asian Development Outlook 2018' หริือ ADO2018 ซึ่งเป็นรายงานว่าการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียประจำปี 2561 เมื่อ เดือนก.ย. ที่ผ่านมา พร้อมกับการปรับคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.0 เป็นร้อยละ 4.5 ซึ่งสะท้อนศักยภาพเศรษฐกิจไทยที่เข็มแข็งมากขึ้น
ส่วนเศรษฐกิจในปี 2562 เอดีบีคาดว่า จะเป็นข่าวดี เพราะได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปีหน้าจากร้อยละ 4.1 เป็นร้อยละ 4.3 เช่นกัน
มีปัจจัยอะไรบ้างที่จะบ่อนทำลายเศรษฐกิจไทย
มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่ใหญ่ๆ มี 2 ข้อ หนึ่ง คือปัจจัยด้านการค้า อย่างที่เราทราบกันดีว่าตอนนี้กำลังมีความขัดแย้งทางการค้าระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่ด้านเศรษฐกิจของโลกอยู่ ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นเป็นแบบเปิด ปัจจัยนี้อาจส่งผลกระทบต่อโอกาสการเติบโตได้
อีกข้อคือการเกิดความปั่นป่วนในตลาดการเงิน (Financial shock) ซึ่งจะกระทบกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเช่นกัน เช่น จากการขึ้นดอกเบี้ยระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา
การเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในปีหน้า จะส่งผลต่อนักลงทุนต่างชาติมากน้อยแค่ไหน
คำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบยากครับ หากมีการเลือกตั้งระดับประเทศเกิดขึ้น ในช่วงแรกก็มีความเป็นไปได้ปั่นป่วนบ้าง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวและความรู้สึกของนักลงทุน และเป็ฯสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันในหลายประเทศ แต่ทุกอย่างนั้นคือกระบวนการทางการเมือง มันยากที่จะคาดการณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างไร
ในเวลานี้ เศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ในห้วงเวลาที่ดีมาก ไทยค่อนข้างเป็นที่น่าอิจฉาเนื่องด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงมาก อย่างไรก็ตามหากมองไกลออกไป ก็ยังมีปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข หนึ่งคือไทยเป็นประเทศที่ยืนอยู่บนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานทักษะต่ำและค่าตอบแทนน้อย ข้อที่สองคือโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เพียงพอ และสุดท้ายคือการพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อตามเทรนด์ต่างประเทศให้ทัน โดยชูนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ขณะเดียวกัน ในแง่พัฒนาการเศรษฐกิจไทย เอดีบียินดีที่จะให้ความช่วยเหลือทั้งแก่รัฐบาลและบริษัทเอกชนไทย ที่จะลงทุนในโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อีกทั้งเราได้ทำงานในการพัฒนาแก้ไขความไม่เท่าเทียมในการมีส่วนร่วมทางการเงิน การให้ความช่วยเหลือเฉพาะด้านในการชี้ให้เห็นถึงปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเงิน ด้วยการเพิ่มความเข้มแข็งให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) และองค์กรที่เป็นกึ่งสถาบันการเงินด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :