ไม่พบผลการค้นหา
สุเทพ เทือกสุบรรณ ยืนยันไม่เกี่ยวข้องกัตามที่เสนอขออนุมติโครงการก่อสร้างฯ สถานีตำรวจนั้น ครม.ได้ประชุมปรึกษากัน ลงวันที่ 17 ก.พ. 2552 ลงมติอนุมัติหลักการโครงการก่อสร้างฯ สถานีตำรวจ เขาอนุมัติหลักการวิธีการก่อสร้าง ไม่ได้อนุมัติวิธีการจัดจ้าง

เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (26 ส.ค.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย และ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ที่อาคารทู แปซิฟิค เพลส เพื่อชี้แจงกรณีสร้างโรงพักทดแทน 396 แห่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) โดยอ้างถึงข้อกล่าวหาของอนุกรรมการไต่สวนของ ป.ป.ช. ข้อที่ 5 ที่มีการกล่าวหาว่า "ท่านซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลงาน สตช.อยู่ในขณะที่ สตช.เสนอเรื่องดังกล่าวให้พิจารณา ทราบอยู่แล้วว่าสตช. ต้องไปดำเนินการก่อสร้างจัดจ้างเป็นรายภาค ตามที่ สตช.เสนอและ ครม.มีมติอนุมัติไว้แล้ว และท่านได้เห็นชอบแล้ว"

นายสุเทพระบุว่า คำกล่าวข้างต้น แปลความง่ายๆ ว่า ตนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ สตช. ทราบอยู่แล้วว่า ครม.มีมติให้ดำเนินการจัดจ้างเป็นรายภาค ตามที่ สตช.เสนอไป แต่ตนกลับไปเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดจ้างเสียใหม่ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงของคณะอนุฯ ไต่สวนของ ป.ป.ช.


"ผมขอกราบเรียนว่า นี่เป็นความสับสน เป็นความเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวนของป.ป.ช. เพราะข้อเท็จจริงคือว่า ทาง สตช. ไม่เคยเสนอต่อ ครม.ให้พิจารณาวิธีการจัดจ้าง เพราะ สตช.ทราบดีว่า ผู้ที่จะมีอำนาจพิจารณาเรื่องวิธีการจัดจ้างคือ ผบ.ตร.ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกฯว่าด้วยการพัสดุ"


นายสุเทพ กล่าวต่อว่า อนุกรรมการไต่สวนของ ป.ป.ช. ไปสับสนเรื่องที่ สตช. เสนอ ครม.เปลี่ยนรูปแบบการลงทุนจากเดิมที่ ครม.อนุมัติให้ใช้วิธีแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ให้บริษัทธนารักษ์ฯ ดำเนินการ แต่เมื่อ ครม.มีมติวิธีนั้นไว้แล้ว ครม.ได้สั่ง สตช.ว่าไปดูในรายละเอียด ไปปรึกษาสำนักงบฯ ปรึกษากระทรวงการคลัง ว่าทั้งหมดจะต้องใช้งบเท่าไร บทบาทแต่ละหน่วยงานเป็นอย่างไร สตช.ก็ไปตั้งคณะกรรมการแล้วทำหนังสือลงวันที่ 14 พ.ย. 2551 เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอต่อ ครม.

"แต่สาระสำคัญในหนังสือฉบับนี้เขาอ้างมติ ครม.เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2550 เขาก็ไปทำตั้งคณะกรรมการ เสร็จแล้ว เขาเห็นว่า ถ้าใช้วิธีการลงทุนโดยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามที่ บริษัทธนารักษ์ฯ เสนอนั้นในเวลา 5 ปี จะต้องใช้เงินแพงกว่า การตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีปกติถึง 4,717 ล้านบาท สตช.จึงบอกว่า แนวทางนี้ไม่เหมาะสมเป็นภาระผูกพันกับรัฐบาลสูงมากและไม่เหมาะตามข้อเสนอคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2551 จึงขออนุมัติครม. ขอให้สตช.ดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารสถานีตำรวจทดแทน" 

นายสุเทพ กล่าวอีกว่า โดยวิธีการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีและผูกพันงบประมาณ 3 ปี เขาเสนอขอเปลี่ยนรูปแบบวิธีการลงทุน อนุกรรมการไต่สวนของ ป.ป.ช.ไปคิดเอาเองว่าที่เสนอนี้ คือ การขอเปลี่ยนวิธีการจัดจ้าง เพราะฉะนั้นผมได้กราบเรียนคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ว่า ครม.ไม่เคยพิจารณาเรื่องวิธีการจัดจ้าง และ ครม.ไม่เคยมีมติว่าด้วยการจัดจ้าง

เพราะฉะนั้น ที่อนุกรรมการไต่สวนของ ป.ป.ช.กล่าวหาว่าผมทราบอยู่แล้วว่า ครม.อนุมัติวิธีการจัดจ้างไว้ จึงเป็นการเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง ครม.ไม่ได้เป็นคนอนุมัติการจัดจ้าง แต่ผมเป็นคนอนุมัติเอง อนุมัติตามหนังสือที่ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ผบ.ตร .เสนอเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2552 ว่า ขอเสนอวิธีการจัดจ้างรวมเป็นสัญญาเดียว เพราะกฎหมายงบประมาณเขียนเอาไว้โครงการเดียวเงินก้อนเดียว ผมเป็นคนอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2552


"และที่อนุกรรมการไต่สวนของ ป.ป.ช.บอกว่าผมทราบว่า ครม.เป็นผู้อนุมัติวิธีการจัดจ้าง ผมจึงบอกว่าอนุกรรมการไต่สวนของ ป.ป.ช. เข้าใจผิด เพราะเมื่อผมอนุมัติด้วยข้อเท็จจริง มันก็ไม่มีอะไรที่ต้องเป็นความผิด"


นายสุเทพทิ้งท้ายว่า หลักฐานยืนยันอีกชิ้น คือ หนังสือยืนยันจากเลขาธิการ ครม. ที่ตอบไปยัง สตช.ว่า ตามที่เสนอขออนุมติโครงการก่อสร้างฯ สถานีตำรวจนั้น ครม.ได้ประชุมปรึกษากัน ลงวันที่ 17 ก.พ. 2552 ลงมติอนุมัติหลักการโครงการก่อสร้างฯ สถานีตำรวจ เขาอนุมัติหลักการวิธีการก่อสร้าง ไม่ได้อนุมัติวิธีการจัดจ้าง ความชัดเจนอยู่ในหนังสือของเลขา ครม.ที่แจ้งมติ ครม.ไปให้ ผบ.ตร.ได้รับทราบตามที่ลงหนังสือในวันที่ 3 มีนาคม 2552

ทั้งนี้ นายสุเทพถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกรณีทุจริตอนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารสถานีตำรวจทดแทน 396 แห่งเป็นสัญญาเดียว โดยฝ่าฝืนมติ ครม.ในสมัยที่นายสุเทพดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี โดยอนุมัติสั่งการให้ยกเลิกการประมูลจัดจ้างโครงการก่อสร้างโรงพักทดแทนและอาคารพักอาศัยข้าราชการตำรวจ แบบแยกการเสนอราคาเป็นรายภาค (ภาค 1 - 9) เป็นให้หน่วยงานจัดจ้างก่อสร้างทุกอาคารรวมกันในครั้งเดียว ซึ่งเป็นการขัดมติ ครม. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: