งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในนิตยสารวิชาการแลนเซ็ต โกลบอล เฮลธ์ เปิดเผยว่า มาตรการป้องกันวัณโรคจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก โดยงานวิจัยนี้ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างคนที่ใช้ชีวิตด้วยเงินต่ำกว่า 60 บาทต่อวันกับโครงการด้านสังคมต่างๆ ใน 192 ประเทศทั่วโลก จากนั้นค่อยนำมาเปรียบเทียบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของวัณโรค และคาดการณ์แนวโน้มในอีก 20 ปีข้างหน้า
ผลการวิจัยพบว่าคนที่เสียชีวิตจากวัณโรคมากว่าร้อยละ 95 อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ดังนั้น ความยากจนกับวัณโรคจึงมีความเกี่ยวโยงกันอย่างมีนัยสำคัญ และที่ผ่านมา การกำจัดวัณโรคมักจะทำงานครอบคลุมแต่กับคนที่ป่วยแล้ว แต่มาตรการเชิงรับไม่เพียงพอในการกำจัดวัณโรคไปได้ แต่โครงการแก้ไขความยากจนจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยวัณโรคลงได้ประมาณร้อยละ 84 ภายในปี 2035 ถือเป็นวิธีการต่อสู้กับวัณโรคที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการใช้ยาและวัคซีน
นายแดเนียล คาร์เตอร์ หนึ่งในทีมนักวิจัย กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ดูเซ็กซี่ แต่ความยากจนไม่ หากเครื่องมือทางการแพทย์สามารถกำจัดวัณโรคได้มีประสิทธิภาพพอๆ กับการแก้ปัญหาความยากจน มันจะถูกนำมาใช้ทันที แต่การขยายโครงการด้านสังคมต้องใช้ความมุ่งมั่นและความทะเยอทะยานทางการ เมืองจากผู้นำด้านสาธารณสุขและการพัฒนามากกว่า ทำให้ยุทธศาสตร์การกำจัดวัณโรคมุ่งเน้นไปที่การทดลองและหาคิดค้นยารักษามากกว่าปัญหาสังคมที่เป็นปัจจัยให้วัณโรคระบาด
วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง ซึ่งสามารถติดต่อกันผ่านทางอากาศได้ด้วยการหายใจ การจาม การไอ แม้จะมีวัคซีนป้องกันวัณโรค แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ โดยวัณโรคเป็น 1 ใน 10 อันดับสาเหตุการเสียชีวิตยอดนิยมทั่วโลก ในปี 2016 มีคนป่วยด้วยวัณโรคถึง 10.4 ล้านคน มีคนเสียชีวิต 1.7 ล้านคน และประเทศที่มีวัณโรคระบาดหนักที่สุดอยู่ในอินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน ไนจีเรีย และเซาท์แอฟริกา
การศึกษาสถานการณ์วัณโรคในบราซิล พบว่า โครงการช่วยเหลือทางการเงินครอบครัวยากจนกว่า 14 ล้านครอบครัว หรือประมาณร้อยละ 25 ของประชากรบราซิลทั้งหมด ซึ่งตั้งเงื่อนไขให้ครอบครัวที่ต้องการกู้เงินส่งลูกไปเข้าเรียนและรับ วัคซีนเบื้องต้น ทำให้การระบาดของวัณโรคลดลงร้อยละ 10 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญ เพราะโครงการดังกล่าวไม่ได้มีเป้าหมายลดการระบาดของวัณโรคโดยเฉพาะ
นายทอม วิงฟิลด์ อาจารย์แพทย์ด้านโรคระบาดของมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล อธิบายว่าการใช้ยารักษา โรคเพียงอย่างเดียวไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ เพราะค่าใช้จ่ายก็เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก หากค่าใช้จ่ายแฝงในการรักษา อย่างค่าเดินทางไปคลินิก ค่าอาหารและรายได้ที่หายไปจากการลางานไปพบแพทย์ สูงกว่า 1 ใน 5 ของรายได้ต่อปีของครอบครัว ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะไปรักษาและเสียชีวิตลง
ทีมวิจัยได้ลองแก้ปัญหานี้ด้วยการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วยที่ยากจนประมาณ 1,250 บาทต่อเดือน และให้พยาบาลไปพบผู้ป่วยที่บ้าน และพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับความช่วยเหลือมีแนวโน้มที่จะรักษาโรคอย่างครบขั้น ตอนมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญ และลูกหลานของผู้ป่วยก็มีแนวโน้มที่จะรับยาป้องกับวัณโรคมากกว่าด้วย