นักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯ กำลังพัฒนาหัวใจเทียมแบบถาวรขึ้นจากเครื่องพิมพ์ Bioprinting แบบสามมิติ และเคลือบด้วยไทเทเนียมอัลลอยด์ โดยจะมีรูปร่างคล้ายอะไหล่รถยนต์ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจในอนาคตได้
ในปัจจุบันมีการพัฒนาการใช้ Bioprinting 3D หรือการพิมพ์ 3 มิติชีวภาพ เพื่อสร้างอวัยวะทดแทนที่สามารถทำงานร่วมกับร่างกายมนุษย์ได้อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในแนวคิดที่น่าสนใจคือ การสร้างหัวใจเทียมแบบถาวร โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสุขภาพและวิทยาศาตร์แห่งโอเรกอน หรือ OHSU สหรัฐอเมริกา ได้ค้นอุปกรณ์หัวใจเทียมที่ทำจากไทเทเนียมอัลลอยด์ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับอะไหล่รถยนต์ โดยทีมงานหวังพัฒนาให้เป็นหัวใจเทียมแบบถาวรครั้งแรก ซึ่งจะสามารถช่วยชีวิตชาวอเมริกันได้กว่า 75,000 คนที่เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวในแต่ละปี
โดยเมื่อเทียบกับรูปแบบของหัวใจเทียมอื่น ๆ หัวใจเทียมที่คิดค้นโดย OHSU ถูกออกแบบมาอย่างเรียบง่าย และไม่มีส่วนที่เป็นลิ้นหัวใจ แต่แทนที่ด้วยห้องหัวใจ 2 ห้อง ซึ่งเป็นท่อกลวงที่เคลือบด้วยโลหะไทเทเนียม และยึดกันด้วยแกนทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ กระตุ้นการเคลื่อนไหวของเลือดไปยังปอด และทำให้ออกซิเจนเดินทางต่อไปยังทั่วร่างกายได้
สำหรับโมเดลของหัวใจชิ้นที่เสร็จแล้วนี้ จะขับเคลื่อนโดยชุดควบคุมและชุดแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ สำหรับการใช้งานในระยะสั้น ผู้ใช้จะต้องพกติดตัวไปกับเข็มขัดหรือเป้สะพายหลัง แต่ในระยะยาวอาจมีการใส่แบตเตอรี่ขนาดเล็กลงใต้ผิวหนังของผู้ป่วย และชาร์จไฟจากภายนอก
ด้าน Sanjiv Kaul ผู้ออกแบบกล่าวว่า หัวใจของมนุษย์ปกติแล้วจะเต้นราว 14 ล้านครั้งต่อปี ดังนั้นการออกแบบให้แข็งแรงและทนทานเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก รวมไปถึงการออกแบบที่เรียบง่ายและมีประสิทธิภาพของหัวใจเทียมจะทำให้เกิดโอกาสภาวะหัวใจล้มเหลวต่ำด้วย
โครงการนี้เริ่มต้นมาจากการประดิษฐ์ของ Richard Wampler ซึ่งเริ่มพัฒนาอุปกรณ์นี้มาตั้งแต่ปี 2014 โดยพัฒนาอุปกรณ์ออกมา 2 รุ่น รุ่นแรกมีขนาดใหญ่ได้ถูกทดสอบโดยฝังอยู่ในวัว ส่วนรุ่นที่สองเป็นขนาดที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์และได้รับการทดสอบในแกะ
Note:
ขณะนี้นักวิจัยวางแผนที่จะดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแกะ และหากการทดสอบเหล่านี้เป็นไปตามแผน พวกเขาจะขออนุญาตจากรัฐบาลกลางเพื่อดำเนินการทดลองทางคลินิกกับมนุษย์ ซึ่งแม้จะฟังดูเป็นเรื่องน่ากลัว แต่ผลสุดท้ายการทดลองนี้ก็อาจเปลี่ยนอนาคตของวงการแพทย์ในด้านการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะไปเลยก็ได้