ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - นักวิทย์ค้นพบเอนไซม์ย่อยสลายพลาสติก - Short Clip
World Trend - มลพิษทางอากาศส่งผลร้ายต่อระดับสติปัญญามนุษย์ - Short Clip
World Trend - วิกฤติเวเนซุเอลากำลังทำร้าย 'วิทยาการ' - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันเสพข่าวโซเชียลมากกว่าสิ่งพิมพ์เป็นครั้งแรก - Short Clip
World Trend - ยูเนสโกประกาศ 'พุกาม' เป็นมรดกโลก - Short Clip
World Trend - บริษัทดังชี้ AI จะสร้างงานให้คน - Short Clip
World Trend - Tender Buttons ร้านกระดุมในตำนานของนิวยอร์ก - Short Clip
World Trend - ผู้ชมจีนบ่น 'กัปตันมาร์เวล' ไม่สวยตรงสเปก - Short Clip
World Trend - ประกาศสงคราม 'พลาสติก' ภัยคุกคามของยุคนี้ - Short Clip
World Trend - 'เกรตแบร์ริเออร์รีฟ' อาจไม่สามารถฟื้นตัวได้อีก - Short Clip
World Trend - รวมยูทูบเบอร์ดังที่งาน 'YouTube FanFest 2018' - Short Clip
World Trend - Dead Zones ในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น 4 เท่า - Short Clip
World Trend - ธุรกิจกัญชาบูม มีแรงงานมากกว่าสาธารณสุข - Short Clip
World Trend - 'รองเท้าผ้าใบ' เทรนด์สุขภาพมนุษย์เงินเดือน - Short Clip
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
World Trend - เกาหลีเหนือเสี่ยง 'ขาดอาหาร' หลังผลผลิตเกษตรตกต่ำ - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ดื่มชาร้อนเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร - Short Clip
World Trend - 'ใช้แล้วทิ้ง' Single-Use ถูกยกเป็น 'คำศัพท์แห่งปี' - Short Clip
World Trend - ผู้ถูกรังแกในที่ทำงานเสี่ยงหัวใจวายกว่าคนทั่วไป - Short Clip
World Trend - 'อ้ายฉีอี้' เปิดตัวแอปฯ ใหม่ เจาะตลาดผู้สูงวัย - Short Clip
World Trend - สถิติชี้ คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายสูงสุด 'เช้าวันจันทร์' - Short Clip
Nov 8, 2018 16:35

มหาวิทยาลัยชื่อดังญี่ปุ่นเผยสถิติชาวญี่ปุ่นวัยทำงาน-วัยกลางคนฆ่าตัวตาย 'ช่วงเช้าวันจันทร์' มากที่สุด และช่วงปีงบประมาณ 2016-2017 พบสถิติเยาวชนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายพุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี

สำนักข่าวเจแปนไทมส์รายงานว่า คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวาเซดะและมหาวิทยาลัยโอซะกะ เผยแพร่การศึกษาสถิติผู้ฆ่าตัวตายในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1974-2014 จำนวนกว่า 870,000 ราย เพื่อหาแนวทางป้องกันการฆ่าตัวตายอย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า ประชากรชายวัยกลางคนของญี่ปุ่น ที่มีอายุระหว่าง 40-65 ปี ฆ่าตัวตายมากที่สุดช่วงเช้าวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 04.00 - 07.59 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จะต้องเดินทางไปทำงานวันแรกในรอบสัปดาห์ ผลวิจัยดังกล่าวบ่งชี้ว่า การฆ่าตัวตายของชาวญี่ปุ่นบางส่วนอาจจะเกี่ยวข้องกับภาวะทางอารมณ์ที่นักจิตวิทยามักเรียกว่า 'อาการเบื่อวันจันทร์' หรือ Blue Monday

มิชิโกะ อุเอดะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ หัวหน้าคณะนักวิจัยที่ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าว เปิดเผยกับเจแปนไทม์ส ว่า สถิติชายวัยกลางคนที่ฆ่าตัวตายในช่วงเช้าวันจันทร์พุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา

ช่วงปีดังกล่าว ญี่ปุ่นเริ่มประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และต้องเผชิญกับการปลดพนักงานและการปรับโครงสร้างองค์กร ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยเกี่ยวพันที่ทำให้ชายวัยกลางคนชาวญี่ปุ่นฆ่าตัวตาย เนื่องจากสังคมญี่ปุ่นคาดหวังว่าผู้ชายญี่ปุ่นจะต้องเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว 

รายละเอียดของงานวิจัยบ่งชี้ว่า สถิติผู้ชายฆ่าตัวตายในเช้าวันจันทร์สูงกว่าการฆ่าตัวตายในช่วงค่ำเฉลี่ย 1.57 เท่า และสูงกว่าสถิติการฆ่าตัวตายในวันหยุดเฉลี่ย 1.55 เท่า 

ผศ.อุเอดะ ระบุด้วยว่า ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสำคัญที่รัฐบาลและภาคประชาสังคมควรนำไปพิจารณา และหาทางเพิ่มบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่อยากฆ่าตัวตายให้ครอบคลุมทุกช่วงเวลา เพราะที่ผ่านมาการให้บริการคำปรึกษามักจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาสายไปจนถึงค่ำ แต่การให้คำปรึกษาในช่วงเช้าไม่มีให้บริการในบางพื้นที่ 

นอกจากนี้ ผลวิจัยยังบ่งชี้ว่าผู้หญิงญี่ปุ่นวัยกลางคน และผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง มักจะฆ่าตัวตายในระหว่างวัน ซึ่งเป็นช่วงที่พวกเธอมักจะต้องอยู่เพียงลำพังในที่พักอาศัย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาบริการหรือแนวทางป้องกันการฆ่าตัวตายในประชากรกลุ่มนี้เช่นกัน แต่สื่อญี่ปุ่นไม่ได้รายงานว่าสถิติผู้หญิงวัยกลางคนที่ฆ่าตัวตายคิดเป็นสัดส่วนเท่าใด

ขณะเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นเปิดเผยด้วยว่า ปี 2016-2018 ที่ผ่านมา เป็นปีที่เยาวชนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุด คิดเป็นจำนวนทั้งหมด 250 ราย มีตั้งแต่เด็กประถมไปจนถึงเด็กมัธยม แต่ช่วงอายุที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุด คือ 18 ปี 

อย่างไรก็ตาม สาเหตุการฆ่าตัวตายในกลุ่มเยาวชนญี่ปุ่นจำนวนมากยังเป็นปริศนา เพราะผู้ที่ฆ่าตัวตาย 140 ราย จากจำนวนทั้งหมด 250 ราย ไม่ได้เขียนจดหมายหรือทิ้งข้อความใด ๆ เอาไว้เลย แต่ช่วงที่มีการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นมากที่สุดคือ วันเริ่มต้นภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา ซึ่งมักจะเริ่มขึ้นช่วงวันที่ 1 กันยายนของทุกปี

ด้านสำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า สถิติผู้ฆ่าตัวตายโดยรวมทุกเพศและช่วงวัยในญี่ปุ่นลดลงจาก 34,500 รายในปี 2546 เหลือ 21,000 รายในปี 2560 แต่ 'โนริกะ คิตะซะกิ' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น เปิดเผยว่าสถิติเยาวชนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายยังถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ รัฐบาลและประชาชนต้องร่วมมือกันหาทางลดจำนวนและป้องกันการฆ่าตัวตายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทยก็ถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างมากเช่นเดียวกัน โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2016 กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดเผยว่าคนไทยฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากดื่มสุรา การป่วยเป็นโรคซึมเศร้าซึ่งไม่ได้รับการรักษา และสาเหตุจากปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ

ล่าสุด ในช่วงวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก หรือ World Suicide Prevention Day ได้มีการเปิดเผยข้อมูลจากการสำรวจใบมรณบัตรจากกรมสุขภาพจิตพบว่า คนไทยฆ่าตัวตายเฉลี่ย 6 รายต่อประชากร 1 แสนคน โดยคนไทยอายุ 60-64 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายมากถึง 9-10 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน ขณะที่เด็กและวัยรุ่นไทยฆ่าตัวตายเฉลี่ยปีละ 140-160 รายต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่เฉลี่ยออกมาจากจำนวนคนไทยที่ฆ่าตัวตายราว 4,000 รายต่อปี

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog