โดมิโนในโลกอาหรับ เป็นการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย มีจุดเริ่มต้นจากที่นายโมฮาเมด โบอาซีซี วัย 26 ปี ที่เผาตัวเอง เพื่อประท้วงตำรวจตูนิเซีย ที่ยึดแผงขายผักผลไม้ของเขา ทั้ง ๆ ที่เขาตกงาน เหตุการณ์นี้ ทำให้ชาวตูนิเซีย ที่ทุกข์ยากไม่ต่างกัน ลุกขึ้นประท้วงประธานาธิบดีที่บริหารประเทศมานานถึง 23 ปี ซึ่งท้ายที่สุดเขาหนีออกนอกประเทศ
เหตุการณ์ในตูนิเซีย ทำให้ประชาชนหลายประเทศในโลกอาหรับ ลุกฮือขึ้นสะท้อนปัญหาที่เผชิญ ไม่ว่าจะเป็นแอลจีเรีย ที่ประสบปัญหาราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้น และอัตราคนว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จอร์แดน ที่มีคนว่างงานร้อยละ 30 ของประชากร รวมทั้งอียิปต์ ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ
เหตุการณ์ในลิเบีย ถือว่ารุนแรงที่สุดประเทศหนึ่ง เกิดการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำของ โมอัมมาร์ กัดดาฟี ที่เมืองเบงกาซีเป็นที่แรก สอดรับกับกระแสต่อต้านรัฐบาลในหน้าเฟซบุ๊กโดยใช้ชื่อวาระ "วันแห่งความโกรธแค้น" เจ้าหน้าที่สถานทูตและกงสุลใหญ่ลิเบียทั่วโลกออกมาสนับสนุนกลุ่มผู้ประ ท้วง และต้องการการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง กองทหารกัดดาฟีเริ่มตอบโต้เต็มรูปแบบ โดยยึดเมืองซาวียาที่อยู่ใกล้ตริโปลีคืนมาได้ ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่ตั้งประเด็นถามนานาชาติถึงการปกป้องชีวิตกลุ่มผู้ประท้วง และชาวเมืองผู้บริสุทธิ์
กัดดาฟีออกแถลงการณ์ ถ้าต่างชาติเข้ามายุ่ง กองทัพลิเบียก็จะโต้ตอบ ซึ่งฝูงบินรบฝรั่งเศสขึ้นบินเหนือน่านฟ้าเมืองเบงกาซี และยิงจรวดลูกแรกเข้าใส่รถถังฝ่ายรัฐบาลลิเบีย นับเป็นการสู้รบระหว่างลิเบียกับกองกำลังพันธมิตรเป็นครั้งแรก ขณะที่ขีปนาวุธจากสหรัฐและอังกฤษเกินร้อยลูก โจมตีที่มั่นทางทหารสำคัญกว่า 20 แห่งในกรุงตริโปลี
ร่วมวิเคราะห์เหตุการณ์ในโลกหรับ และจุดจบในลิเบีต ควรเป็นอย่างไร จากแขกรับเชิญ 3 ท่าน นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ส.ส.นราธิวาส พรรคมาตุภูมิ, รศ.ดร.จรัญ มะลูลีม คณะรัฐศาสตร์ม.ธรรมศาสตร์ ,ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู ส.ว.ปัตตานี ในรายการ Intelligence
Produced by VoiceTV