ไม่พบผลการค้นหา
นับถอยหลังศาลโลกพิพากษา ตอนที่ 2
นับถอยหลังศาลโลกพิพากษา
ขับเคลื่อนประเทศไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2558 (ตอน1)
ทิศทางเศรษฐกิจไทยหลังน้ำท่วม
ภาพด้านบวก - ด้านลบจากวิกฤติมหาอุทกภัย
รวมพลังคนดีฝ่าวิกฤติน้ำท่วม
นักธรณีวิทยาเตือนอีก 2 เดือนภาคใต้เกิดมหันตภัยครั้งใหญ่
น้ำท่วมใหญ่กระทบเศรษฐกิจไทยหนัก
ธรณีพิโรธที่ “เซนได” เปลี่ยนทฤษฎีแผ่นดินไหวและสึนามิ
เลือกตั้ง 50 ผู้ว่า กทม.
ข้อเสนอแก้ปัญหาน้ำท่วม - การกัดเซาะชายฝั่ง
'มาตรการจัดเก็บภาษีน้ำท่วม' กรณีศึกษาจากออสเตรเลีย
สู้! เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ภัยการเมืองร้ายแรงกว่าภัยธรรมชาติ
"สังคมไทย" โครงสร้างอำนาจที่ไม่เท่าเทียม
“ใครลั่นกระสุนสังหารหมู่ 6 ศพ วัดปทุมฯ”
ถอดบทเรียน ''นาซ่า'' ถอนโครงการสำรวจสภาพอากาศ
มวลชนสั่งสอนพรรคเพื่อไทย ?
ขับเคลื่อนประเทศไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2558 (ตอน2)
เปิดวิสัยทัศน์ 'ดับไฟใต้' ของเลขาธิการอาเซียน
“ซุปเปอร์เอ็กซ์เพรสฟลัดเวย์” 1 ใน 11 มาตรการแก้น้ำท่วม
Nov 23, 2011 13:18

 

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 23 พ.ย. 2554 

 

ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล  หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ นำเสนอ 11 มาตรการ  แก้ไขปัญหาน้ำท่วมหลายมิติ โดยชู  “ซุปเปอร์เอ็กซ์เพรสฟลัดเวย์” โดยใช้แนวคลองชัยนาท ป่าสัก  คลองระพีพัฒน์  คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต  ระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร โดยจะต้องมีการเวนคืนที่ดินริมคลองข้างละ 1 กิโลเมตร  และสร้างถนนสูง 6 เมตรทั้งสองข้างทางเป็นมอเตอร์เวย์  พื้นที่นี้ไม่อนุญาตให้อยู่อาศัย แต่สามารถทำเป็นพื้นที่การเกษตรได้    แนวคิดนี้จะช่วยแบ่งเบาน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก  เป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วมในที่พื้นที่ลุ่มภาคกลางตั้งแต่จังหวัดชัยนาทลงมา รวมถึง กทม.ทั้งฝั่งตะวันออก และตะวันตก

 

แนวทางที่ถูกชูโรงขึ้นมาอีกแนวคิดหนึ่ง คือ "เมืองบริวาร" จะต้องมีการจำกัดการขยายตัวของ กทม. และสร้างเครือข่ายเมืองบริวารระยะทาง  ไม่เกิน 100 กม. จากกรุงเทพเช่น  สุพรรณบุรี  สระบุรี  ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ถ้าดำเนินการตามแนวคิดนี้ไม่จำเป็นต้องย้ายเมืองหลวง

 

นอกจากนั้น ศ.ดร.ธนวัฒน์ ยังเสนอมาตรการอื่น ๆ อาทิ การวางแผนแม่บทควบคุมป้องกันน้ำท่วม  ปรับปรุงระบบเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า  มาตรการจัดเก็บภาษีน้ำท่วม   มาตรการการควบคุมการใช้ที่ดินและผังเมือง  มาตรการการควบคุมการใช้น้ำบาดาล   มาตรการกำหนดระยะเวลา

การเพาะปลูกในลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ มาตรการอนุรักษ์และปกป้องพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติ   พัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการภัยพิบัติทั้งระบบ จัดตั้งหน่วยงานดูแลเรื่องภัยพิบัติ และส่งเสริมงานวิจัยอย่างเป็นระบบ

 

 
Produced by Voice TV 
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog