ไม่พบผลการค้นหา
ธุรกิจของความโหยหาอดีตกรณี 'นางาซากิ' ตอนที่ 2
เครื่องแบบนักเรียนควรผ่อนปรน ยกเลิกหรือไม่
ทำไมต้องเผาตุ๊กตาบาร์บี้
ทาสคือใคร ใครคือทาส?
การข่มขืนและความรุนแรงทางเพศในสังคมไทย
กรุงเทพเมืองแห่งการอ่านปี 2556 ของจริง…หรือของปลอม...?
ทำไมคุณภาพของการศึกษาไทยจึงต่ำติดอันดับโลก
การหายไปของคำว่า 'กรรมกร'
เกาหลีเหนือกับลัทธิบูชาผู้นำ
วัฒนธรรมการข่มขืน หรือ Rape Culture ตอนที่ 2
สงครามระหว่างวัย
สังคม Ageism คืออะไร?
วัยรุ่นในภาพยนตร์ไทย
วิชาสร้างพลเมืองแบบไทยๆ 'สร้าง' หรือ 'ทำลาย' พลเมือง
มายาของสุภาพบุรุษจุฑาเทพ
'ไม่เจียมสังขาร คือการเหยียดวัยในสังคมไทยหรือไม่?'
จากOVOP สู่ OTOP กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
โทษประหารชีวิตยังควรมีอยู่หรือไม่
ปืนใหญ่พญาตานี กับหนทางสู่ 'สันติภาพ' ตอน 2
ลับ ลวง พราง ข้อสอบโรงเรียนอีตั้น
ธุรกิจของความโหยหาอดีตกรณี 'นางาซากิ'
Jun 1, 2013 14:05

รายการคิดเล่นเห็นต่าง กับคำผกา ประจำวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2556

    
สำหรับการพัฒนาแหล่งการท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่โหยหาอดีต ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการเปิดเกาะ Gunkanjima ที่แปลว่า Battle Island  ที่เวลามองจากระยะไกล รูปร่างของเกาะเหมือนเรือรบ

    
เดิมทีเกาะนี้ถูกใช้เป็นฐานผลิตถ่านหินของบริษัทมิตซูบิซิ ตั้งแต่  1887-1974  พอประมาณปี  1960 น้ำมันปิโตรเลียมถูกใช้ทดแทนถ่านหินมากขึ้น พวกกิจการผลิตถ่านหินก็เริ่มปิดตัวลง และมิตซูบิซิก็ประกาศเลิกกิจการถ่านหินบนเกาะนี้เช่นกันในปี 1974 และเกาะได้ปิดตาย
   
         
ต่อมาประมาณปี  2009 เกาะนี้ได้เปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว จนถึงปี 2010 มีนักท่องเที่ยวเข้าไปชมแล้วถึง 60,000 คน ความน่าสนใจของเกาะนี้คือ บรรยากาศ คือมันได้อารมณ์ของเมืองร้าง ที่บ้านเรือน ข้าวของ เครื่องใช้ รองเท้า เก้าอี้ หรือแม้แต่ตึกเรียนของนักเรียน ก็ยังมีให้เห็นอยู่มากมาย จนบางคนเรียกว่า Ghost Island และขณะนี้หลายองค์กรกำลังเสนอต่อ UNESCO ให้เกาะนี้เป็น World Heritage ในฐานะที่เป็น Modern Industrial Heritage Sites
    
        
ในนางาซากิ  ยังมีแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่โหยหาอดีต คือ Dejima Island ในอดีต Dejima คือย่านการค้าเก่าแก่ตั้งแต่สมัยEdo เมื่อครั้งญี่ปุ่นยังปิดประเทศอยู่ ยังมีเฉพาะย่าน Dejima เท่านั้นที่ผ่อนปรนให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับต่างชาติได้  โดยเฉพาะชาวฮอลันดา โดยย่าน Dejima แต่ก่อนเป็นเกาะริมทะเล เกาะทั้งเกาะจมลง และเมื่อต้องการฟื้น Dejima ขึ้นมา ได้มีการถมทะเลในจุดที่เกาะจมแล้วสร้างบ้านเรือนขึ้นมาใหม่ โดยได้โมเดลของเกาะนี้จากพิพิธิภัณฑ์ในเนเธอร์แลนด์ ทำให้ Dejima กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวสามารถสวมชุดกิโมโนเที่ยวชมบ้านเรือนได้อย่างไม่เคอะเขิน
       
    
หากจะนำความคิดเรื่องการเอาประวัติศาสตร์มาเป็นจุดขายเช่นที่พระนครศรีอยุธยา ก็มีหมู่บ้านฮอลันดา หมู่บ้านญี่ปุ่น หากชุมชนร่วมกับเทศบาลร่วมมือกันย้อนยุคไปในอดีต ก็จะทำให้อยุธยามีความน่าสนใจไม่น้อยและยังเป็นการสร้างรายได้กับชาวบ้านในชุมชนนั้นด้วย

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog