รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา วันเสาร์ ที่ 16 มีนาคม 2556
สิ่งที่ซึมลึกในสังคมสยามมานานคือสังคม ผัวเดียวหลายเมีย จนกลายเป็นคำถามที่คนต่างชาติมักจะถามว่า ทำไมผู้ชายไทยชอบมีเมียหลายคน จนกระทั่งมาถึงปลายรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงตรงนี้ เพื่อแก้ปมว่าไม่มีความศิวิไลซ์ และต้องการทัดเทียมอารยประเทศ
ก่อนหน้าที่จะเปลี่ยนกฎหมายให้มีผัวเดียว เมียเดียว ใน พ.ศ.2478 สยามประเทศได้ใช้กฎหมายตราสามดวง รองรับความเป็นผัว เมีย ตามสภาพสังคม โดยแบ่งชนิดของเมียไว้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เมียกลางเมือง ( Major Wife ) คือเมียที่สามีจัดแจงให้มี เฒ่าแก่ ไปสู่ขออย่างเป็นทางการกับพ่อแม่ฝ่ายหญิง และมีการตกลงเรื่องสินสอด จัดพิธีแต่งงานอย่างเป็นทางการและเอิกเกริก
แต่ในกรณีพ่อแม่ฝ่ายหญิงไม่ตกลง ฝ่ายชายสามารถนำหญิงไปเป็น 'เมียกลางเมือง' ได้เช่นกัน โดยแอบลักลอบได้เสียกันที่บ้านผู้หญิง แล้วไปขอโทษพ่อแม่ฝ่ายหญิงโดยทันที หรือฝ่ายชายลักพาฝ่ายหญิงออกจากบ้านไปหลายวัน แล้วกลับมาขอขมาพ่อแม่ฝ่ายหญิงทีหลัง หากพ่อแม่ฝ่ายหญิงยอมรับก็เป็นเมียกลางเมืองได้ แต่ไม่ยินยอม ทุกอย่างก็จบ
เมียกลางนอก หรือ อนุภรรยา คือภรรยาที่ฝ่ายชายไปขอโดยตรงไม่ผ่านพิธี การมีอนุภรรยา เพียงเพื่อความสัมพันธ์ระยะสั้นเท่านั้น
เมียทาส หรือ อีเย็น ในละคร เรื่องนางทาส คือหญิงทุกข์ยากที่ชายช่วยไถ่ตัวมาและรับเลี้ยงดูเป็นเมีย
ความพยายามของรัชกาลที่ 5 ที่ต้องการให้มีผัวเดียวเมียเดียว เป็นไปอย่างเชื่องช้ากว่าสำเร็จ ก็หลังการปกครองในปี 2475 สาเหตุการเปลี่ยนช้า เนื่องจากลึกๆ แล้ว สถานทางการเมืองของผู้มีอำนาจในยุคนั้น ก็ยังพึ่งพิงอยู่บนการแต่งงานด้วยการสร้างเครือข่ายครอบครัววงศ์ตระกูล
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เสนอว่า คุณค่าความเป็นหญิง ด้วยการยกให้เป็นเมีย และแม่ สถานะอื่นๆ นอกเหนือจากเมียและแม่จะไม่มีเกียรติสูงส่งเท่า เมื่อผู้หญิงถูกจัดเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจนเช่นเมียลับ ( Mistress) หญิงโสเภณี (Prostitute) หญิงแพศยา ( Harlot) หญิงเสเพล (Loose woman) คุณค่าของผู้หญิงถูกกำหนดด้วยความสัมพันธุ์กับชายด้วยระยะเวลา และการอบรมจากพ่อแม่