ไม่พบผลการค้นหา
อาหารเกียวโต... วัฒนธรรมไร้รูป มรดกโลก
นิตยสารเกย์ ในเมืองไทย
กำเนิดวันชาติ
โรงอาบน้ำสาธารณะคืออะไร...และอย่างไร?
ความขาว การเมือง เชื้อโรค
ชำแหละแฟชั่น เลดี้กาก้า
วรรณกรรมต้องห้ามในร้านหนังสือ
วัฒนธรรมการข่มขืน หรือ Rape Culture ตอนที่ 2
ประวัติศาสตร์การรับน้องและระบบ Sotus ในประเทศไทย (ตอนจบ)
วัฒนธรรมการข่มขืน หรือ Rape Culture ตอนที่ 1
ยุทธศาสตร์เปลี่ยน 'วัฒนธรรม' เป็น 'สินค้า' บทเรียนจากญี่ปุ่น
คุณค่าของอุดมการณ์เสรีนิยมในประเทศอังกฤษกับกรณีภาพเปลือยของเจ้าชาย "แฮรี"
ความหมายและหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ (ตอนจบ)
ลำยองเลี้ยงลูก
ดคีฆาตกรรม อันเนื่องมาจากเสียง
สถาปนิกแห่งความเป็นไทย
วัฒนธรรมไทย กับดีไซน์ คัลเจอร์
จากOVOP สู่ OTOP กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ขันติธรรมกับสังคมไทย
จักรพรรดิกับประชาธิปไตย
คนไทยกับ service mind
Feb 3, 2013 12:34

รายการ คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา ประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556

 

 

จิตสำนึกกับความเป็นมืออาชีพเป็นของคู่กันเพราะจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในการทำงาน หากไม่มีความภูมิใจก็จะเกิดความคิดว่า งานที่ทำเป็นงานต่ำต้อยเป็นที่รองมือรองเท้า โดยเฉพาะคนที่ทำงานด้านบริการ  
 
ในประเทศไทย ซึ่งมีการแข่งขันธุรกิจ และค่าแรงที่ถูก  จึงมีความคิดที่ว่าเมื่อค่าแรงถูก ต้องหาคนมาทำงานเยอะๆ เข้าไป แต่หากไม่มีประสิทธิภาพ ตลาดแรงงานเหล่านี้ก็ไม่มีคุณภาพ จากประสบการณ์ของพิธีกรที่ต้องการซื้อเครื่องครัวทำเบเกอรี่  ของแต่ละชิ้น ว่างอยู่คนละชั้น เมื่อสอบถามพนักงาน จะมีพนักงานมารุมล้อมจำนวนมากถึง  7 คน แต่จะมีคนเดียวพอที่จะตอบคำถาม หรือมักจะสอบถาม หรือคุยกันเองว่าสิ่งของนั้นอยู่ตรงไหน   ทำให้มองเห็นพนักงาน...ไม่มีจิตสำนึกบริการแบบมืออาชีพ เพราะปล่อยให้ลูกค้าหาของเอง หรือ มีจิตบริการแนะนำ หรืออาจเป็นเพราะคนเหล่านี้ จะมีความคิดว่างานบริการเป็นงานต่ำต้อย  ประกอบกับการปลูกฝัง ตั้งแต่เด็กๆว่า ให้เรียนดีๆเก่งๆไว้ จะได้เป็นเจ้าคน นายคน  แต่ไม่มีการสอนถึงการทำงานแบบมืออาชีพ
 
ที่ผ่านมา คนทั่วไปมักคิดว่า คนไทยมีจิตใจบริการ และคิดว่ามันเป็นธรรมชาติ แต่ที่แท้นี่คือกับดัก  เพราะจะไม่มีการปลูกฝังการทำงานแบบมืออาชีพ  รวมทั้งการเข้าใจแบบผิดๆ เช่นคิดว่าพนักงานบนเครื่องบิน ทุกคนอาจคิดว่าพนักงานการบินไทยเสิร์ฟเก่งที่สุด ซึ่งความจริงหน้าที่หลักคือดูแลความปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งบางคนคิดว่าเธอเหล่านั้นเป็นพนักงานบริการบนเครื่องบิน เวลาเสิร์ฟไม่ดีก็จะถูกด่า จึงถือว่าเป็นการเข้าใจผิด ควรใช้คำว่าพนักงานประจำเครื่องเพื่อดูแลความปลอดภัยจะถูกต้องกว่า
 
ประเทศญี่ปุ่นถือว่า เป็นคนที่มีจิตสำนึกในมืออาชีพสูงมาก เช่น พนักงานในห้างสรรพสินค้า ก่อนที่จะเข้าหรือออก พื้นที่ขาย เขาต้องโค้งให้เคารพ สถานที่ด้วย หรือแม้แต่แท็กซี่ เองก็เช่นกันก็จะมีความเป็นอาชีพ ด้วยการดูแลความสะอาดภายในรถ ไม่ให้มีกลิ่นอับรบกวนผู้โดยสาร  นอกจากนี้คนญี่ปุ่น จะมีการทบทวนว่ามีข้อบกพร่องการทำงานอะไรบ้าง หรือสารภาพว่าได้ทำอะไรผิดอะไรบ้างเพื่อแก้ไขสิ่งที่ทำผิดไปแล้ว รวมทั้งการดูแลเสื้อผ้า ทรงผม ให้สอดคล้องกับการทำงาน รวมทั้งอาหารการกิน เช่น  พนักงานธนาคาร ช่วงจันทร์-ศุกร์จะไม่รับประทานอาหารที่มีกลิ่น เพราะต้องพบปะกับลูกค้า นี่คือจิตสำนึกในอาชีพที่ทำ และจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในอาชีพนั้นด้วย 
 
ดังนั้นการทำงานอาชีพอะไรก็ตาม ก็ต้องให้เกียรติผู้ทำงาน และผู้ที่ทำงาน ต้องมีความเป็นมืออาชีพด้วยเช่นกัน แล้วความรู้สึกภาคภูมิใจกับงานที่ทำ ก็จะก่อให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
 
 
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog