เฉพาะช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีแรงงานชาวกัมพูชาเสียชีวิตในประเทศไทยอย่างน้อย 110 ราย โดยมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป และรัฐบาลกัมพูชายืนยันว่าปีหน้าจะขึ้นค่าแรงให้แก่กลุ่มแรงงานสิ่งทอในประเทศร้อยละ 11 แน่นอน
นายโช บุน เอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของกัมพูชา เปิดเผยกับสื่อภายในประเทศว่า นับตั้งแต่ปี 2014 จนถึงต้นปี 2017 มีแรงงานกัมพูชาเสียชีวิตในไทยมากกว่า 500 ราย โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุระหว่างการจราจร การเสียชีวิตขณะทำงานเนื่องจากไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกันหรือรักษาความปลอดภัย รวมถึงการทะเลาะวิวาทกับเพื่อนร่วมงาน นอกจากนี้ ยังมีผู้เหยียบกับระเบิดตามแนวชายแดนเสียชีวิตอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการหลบหนีเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยที่พยายามจับกุมแรงงานลักลอบเข้าเมือง
หนังสือพิมพ์ขแมร์ไทม์ส สื่อของกัมพูชา รายงานอ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ของนายโชเพิ่มเติม พบว่าช่วง 6 เดือนแรกของปี 2017 มีแรงงานชาวกัมพูชาเสียชีวิตในไทยถึง 110 ราย ส่วนใหญ่เสียชีวิตขณะทำงาน โดยมีทั้งผู้ที่ตกจากตึกสูง ถูกไฟช็อต รวมถึงแรงงานประมงที่จมน้ำเสียชีวิตจากเรืออับปาง โดยร่างของแรงงานที่เสียชีวิตจะถูกส่งกลับพร้อมใบแจ้งสาเหตุการตาย แต่ไม่ค่อยมีรายงานผลการชันสูตรศพที่ชัดเจนส่งมาด้วย
ด้านนายอิท สัม เอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการอบรมวิชาชีพของกัมพูชา ระบุว่าแรงงานกัมพูชาที่ทำงานในไทยอย่างถูกกฎหมายในขณะนี้มีจำนวนประมาณ 1 ล้านคน แต่ประมาณ 3 แสนคนเป็นแรงงานลักลอบเข้าเมือง และหลังจากที่ทางการไทยบังคับใช้กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ซึ่งมีบทลงโทษแรงงานลักลอบเข้าเมืองที่รุนแรงกว่าเดิม ทั้งจำคุกและปรับเงิน ทำให้แรงงานกัมพูชาจำนวนมากเดินทางกลับประเทศ แม้รัฐบาลไทยจะผ่อนผันการบังคับใช้ กม.ดังกล่าวในเวลาต่อมา แต่แรงงานกัมพูชาจำนวนมากก็ไม่ได้กลับไปทำงานที่ประเทศไทยแล้ว
ด้านนายอิท สัม เอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการอบรมวิชาชีพของกัมพูชา ระบุว่าแรงงานกัมพูชาที่ทำงานในไทยอย่างถูกกฎหมายในขณะนี้มีจำนวนประมาณ 1 ล้านคน แต่ประมาณ 3 แสนคนเป็นแรงงานลักลอบเข้าเมือง และหลังจากที่ทางการไทยบังคับใช้กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ซึ่งมีบทลงโทษแรงงานลักลอบเข้าเมืองที่รุนแรงกว่าเดิม ทั้งจำคุกและปรับเงิน ทำให้แรงงานกัมพูชาจำนวนมากเดินทางกลับประเทศ แม้รัฐบาลไทยจะผ่อนผันการบังคับใช้ กม.ดังกล่าวในเวลาต่อมา แต่แรงงานกัมพูชาจำนวนมากก็ไม่ได้กลับไปทำงานที่ประเทศไทยแล้ว
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์การเมืองมองว่าการขึ้นค่าแรงในครั้งนี้ไม่ใช่สาเหตุจากความต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่เป็นการออกนโยบายเพื่อเรียกคะแนนนิยมจากประชาชน เนื่องจากกัมพูชาจะจัดเลือกตั้งใหญ่ในเดือนกรกฎาคมปีหน้า รัฐบาลของนายฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จึงต้องเคลื่อนไหวด้านนโยบายที่เกี่ยวกับปากท้องและเศรษฐกิจ หลังจากรัฐบาลถูกโจมตีอย่างหนักจากพรรคฝ่ายค้านและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนว่าใช้อำนาจแทรกแซงและข่มขู่คุกคามผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงาน เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องขึ้นค่าแรงในกัมพูชาหลายครั้ง แต่เจ้าหน้าที่มักใช้กำลังสลายการชุมนุม ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมกันหลายราย
อกจากนี้ นางมู ซกฮัว รองผู้นำพรรคฝ่ายค้านซีเอ็นอาร์พีของกัมพูชา ซึ่งหลบหนีออกนอกประเทศเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม เพราะถูกทางการกัมพูชาข่มขู่ว่าจะจับกุม เรียกร้องให้นานาประเทศที่เป็นผู้บริจาคเงินสนับสนุนรัฐบาลกัมพูชา พิจารณามาตรการคว่ำบาตรรัฐบาลของนายฮุน เซ็น เช่นกัน โดยระบุว่ารัฐบาลกัมพูชาใช้อำนาจทางกฎหมายคุกคามและกวาดล้างจับกุมผู้เห็นต่างจากรัฐบาลเป็นจำนวนมาก โดยการคว่ำบาตรควรพุ่งเป้าที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงแต่ไม่ควรคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะะธุรกิจสิ่งทอ ซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ เพราะจะส่งผลกระทบต่อประชาชน