ไม่พบผลการค้นหา
'หมุนกงล้อประวัติศาสตร์ 14 + 6 ตุลา' สู่อนาคตการเมืองไทย
เสียงสะท้อนครอบครัวเหยื่อชุมนุม "เท่ากัน" ไม่ได้หมายถึง "เท่าเทียม" ?
ผลสะเทือนจากคดี "อากง"
“สื่อต่างประเทศ” กับวิกฤติการเมืองไทย
คลี่ปัญหาความเหลื่อมล้ำ- ไม่เป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม
ถอดบทเรียน ''นาซ่า'' ถอนโครงการสำรวจสภาพอากาศ
ปราสาทพระวิหาร…ระเบิดเวลา รัฐบาลใหม่?
ผลสะเทือนจากคดี "อากง"
เปิดใจคณะผู้สร้างภาพยนตร์ "นวมทอง" สีไหนๆก็ดูได้
ย้อนทางแยกคนตุลา
วิจัยชนบทกับ "ครก. 112"
2 ตัวช่วยบิ๊กแบ๊กทางการเมือง ลดโอกาส“อุทกรัฐประหาร – วารีภิวัฒน์”
การ์ตูนเพื่อผู้ถูกกระทำ ?
35 ปี 6 ตุลา ในสายตา 'คนรุ่นใหม่'
'มาตรการจัดเก็บภาษีน้ำท่วม' กรณีศึกษาจากออสเตรเลีย
นิรโทษเพื่อเป็นธรรม
การเมืองเรื่อง "น้ำ" ศปภ. เพื่อไทย VS กทม. ปชป.
ประเมินการเมืองไทยหลังน้ำลด
วิจัยต้นทุนทางการเมือง "กลุ่ม 111"
40 ปีความเป็นเพื่อน
หนุน-ต้านเยียวยาเหยื่อชุมนุม คำตอบอยู่ที่"เจตจำนงทางการเมืองของรัฐบาล"
Jan 22, 2012 11:43

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 22 ม.ค. 55

 

มติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุมัติเยียวยาให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต บาดเจ็บจากเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองในช่วงปี 2548-2553 โดยเฉพาะการจ่ายเงินเยียวยาให้ครอบครัวผู้เสียชีวิต 7.75 ล้านบาท ก่อให้เกิดกระแส วิพากษ์ทั้งสนับสนุน และคัดค้านอย่างกว้างขวาง  ฝ่ายที่สนับสนุน จะหยิบยกประเด็นเชิงศีลธรรมว่า ไม่สามารถตีราคาชีวิตมนุษย์กับ จำนวนเงินได้  และสังคมไทย   ยังตกหลุมกับเงินจำนวน  7 ล้านบาท ว่าคุ้มค่ากับชีวิตคนหนึ่งคนหรือไม่

 

ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เช่น พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นคำร้องให้ ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉิน ว่าเป็นมติ ครม.ที่ไม่ชอบด้วย   กฎหมายเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม  เป็นการเยียวยาบุคคลที่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่ากระทำความผิดหรือไม่ และยังเรียกร้องให้ชดเชยเยียวยาเหตุการณ์รุนแรงในอดีต ทั้ง ตุลา 16  19 และ พฤษภา 35  เหยื่อความไม่สงบไฟใต้  เหยื่อคดีฆ่าตัดตอนคดียาเสพติด   แต่ในที่สุดศาลปกครองก็มีมติไม่รับคำร้องไต่สวนฉุกเฉิน

 

รายการ Intelligence  พูดคุยกับนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ เกี่ยวกับมาตรการเยียวยา และเสียงวิจารณ์ที่เกิดขึ้น   อ.พนัศ ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยอมรับว่า ไม่มีกฎหมายโดยตรงที่กำหนดการเยียวยาชัดเจน  คณะรัฐมนตรีใช้งบ 2000  ล้านบาท จากงบประมาณประจำปี  ที่สำคัญต้องยึดหลักการ เรื่อง "การปรองดอง" ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ  และเป็นการปฏิบัติตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงหรือ คอป. ที่สำคัญ

 

คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์เยียวยา ผู้เสียหายแต่ละราย อย่างรอบคอบ  โดยเฉพาะประเด็นที่ฝ่ายค้านกังวลเรื่องการเยียวยาผู้กระทำความผิด

 

ผศ.พวงทอง ภวัครพันธ์ จากคณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่า การเยียวยาเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล เพราะในช่วงเหตุรุนแรงทางการเมือง เม.ย.- พค. 53 มีการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ  ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานสากล   เป็นความเสียหายรุนรแงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่    อ.พวงทอง  ยังเชื่อมั่นว่า การกำหนดเกณฑ์การเยียวความรุนแรงทางการเมือง ช่วง 48-53 จะกลายเป็นบรรทัดฐานทางการเมืองต่อไป  และช่วยให้การเรียกร้องเยียวยาแก่กลุ่มอื่น ๆ ทำได้ง่ายขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ ความรุนแรงในจังหัวดชายแดนภาคใต้ และ การฆ่าตัดตอนคดียาเสพติด

 

นักวิชาการทั้งสองท่าน ตั้งคำถามว่า พวกที่ออกมาคัดค้านมติ ครม.เรื่องการเยียวยา ปฎิเสธการปรองดองใช้หรือไม่ พร้อมขอให้ทุกฝ่ายยึดหลักสากลของประเทศที่เคยผ่านประสบการณ์รุนแรงทางการเมือง และอาศัยการเยียวยาทั้งในแง่ของ การจ่ายเงินชดเชย และการเดินหน้ากระบวนการยุติธรรมจนผ่านพ้นวิกฤติมาได้  นักวิชาการทั้งสอง ยังเห็นตรงกันว่า ในเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองในอดีตทั้ง 3 ครั้ง

 

ไม่มีใครออกมาคัดค้านการเยียวยา  เพราะสังคมไม่ได้แตกแยกร้าวลึก แบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างทุกวันนี้ เสียงคัดค้านในขณะนี้ไม่ได้ใช้เหตุผลในเชิงศีลธรรม แต่ใช้อคติ ความเกลียดชังนำหน้า แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้การปรองดอง ด้วยการเยียวชดเชยเดินหน้าต่อไปได้คือ การแสดงเจตจำนงทางการเมืองที่แน่วแน่ของรัฐบาล

 

Produced by Voice TV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog