วิกฤติการเมืองไทยในระยะ 4-5 ปี โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์ความรุนแรงเดือนเมษา–พฤษภา 2553 วาทกรรมทางการเมืองที่ถูกขับเน้นโดยกลุ่มมวลชนคนเสื้อแดง คือ เรื่องความเหลื่อมล้ำ–ความไม่เป็นธรรม วาทกรรม 2 มาตรฐานถูกชูขึ้นมาเป็นธงนำในการเคลื่อนไหว
นักวิชาการอีกท่านหนึ่งที่ใช้ปรากฎการณ์คนเสื้อแดง มาเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนปัญหา ความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมด้านกระบวนการยุติธรรม เพราะกระบวนการยุติธรรมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงได้รับ เช่นเดียวกับ การศึกษา การสาธารณสุข แต่การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมภายใต้กระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก กลับมีปัญหา โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมที่มีราคาแพง ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย–คนจน
ปัญหาอีกด้านที่กระทบเป็นลูกโซ่ คือ การใช้กระบวนการยุติธรรมพื้นที่หลักไปกับคดีที่ไม่สมควร เช่น คดียาเสพติด คดีหลบหนีเข้าเมือง คดีการพนัน คดีทั้งสามประเภทใช้พื้นท่กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักไปถึง ร้อยละ 65 ตามมาด้วยปัญหาคนล้นเรือนจำ สถิติปัจจุบันไทยมีนักโทษ อัตรา 253 คน ต่อประชากร 1 แสนคน เป็นตัวเลขที่สูงมาก
รศ.ดร. จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอทางออก เช่น ควรปรับปรุงการเขียนกฎหมาย และปรับระบบการลงโทษทางกฎหมาย ลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงระบบยุติธรรมของคนด้อยโอกาส คนชายขอบ การใช้พหุนิยมทางกฎหมาย หรือการใช้กฎหมาย 2 ชุดในพื้นที่เดียวกัน การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
ส่วนการก้าวข้ามวิกฤติความขัดแย้งทางการเมือง นักวิชาการท่านนี้เสนอ แนวทางการใช้กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน
ติดตามรายการ Intelligence ได้ตั้งเเต่เวลา 20.30 - 21.30 น. ทางวอยซ์ทีวี
Produced by VoiceTV