ไม่พบผลการค้นหา
'นโยบายต่างประเทศ' การถูกจับเป็นตัวประกันของการเมืองภายใน
นับถอยหลังศาลโลกพิพากษา ตอนที่ 2
2 ปียิ่งลักษณ์ในกระแสโลก
นับถอยหลังศาลโลกพิพากษา
“ก้าวข้ามความกลัว”... มาตรา 112 !
“ก้าวข้ามความกลัว”... มาตรา 112 !
40 ปีความเป็นเพื่อน
ประเทศที่ไม่เอาเลือกตั้ง
เรียกร้อง 'ปฏิรูปกองทัพ' คู่ขนาน 'ปฏิรูปการเมือง'
ประเมินการเมืองไทยหลังน้ำลด
'หมุนกงล้อประวัติศาสตร์ 14 + 6 ตุลา' สู่อนาคตการเมืองไทย
เปิดวิสัยทัศน์ 'ดับไฟใต้' ของเลขาธิการอาเซียน
การเมืองเรื่อง "น้ำ" ศปภ. เพื่อไทย VS กทม. ปชป.
ทำไมต้อง 'ปฏิรูปศาล'
ภาพด้านบวก - ด้านลบจากวิกฤติมหาอุทกภัย
เปิดหัวใจหญิงเหล็ก กกต. “สดศรี สัตยธรรม”
"วิกฤติน้ำ" VS " วิกฤติคน"
“ซุปเปอร์เอ็กซ์เพรสฟลัดเวย์” 1 ใน 11 มาตรการแก้น้ำท่วม
การ์ตูนเพื่อผู้ถูกกระทำ ?
'คิดใหม่ประชานิยม' จากรัฐบาลทักษิณถึงยิ่งลักษณ์ เราเรียนรู้อะไรบ้าง
วิพากษ์ "ภาวะผู้นำ" ฝ่ายค้านและบทบาทกองทัพ
Dec 2, 2011 16:04

รายการ  Intelligence ประจำวันที่  2 ธ.ค. 2554 

 

ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์  นักวิจัยจากสถาบันเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์  วิพากษ์ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร  บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะของฝ่ายค้าน และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร  และบทบาทของกองทัพในวิกฤติมหาอุทกภัย  รวมถึงการส่งสัญญาณครั้งสำคัญ ของ นางฮิลลารี คลินตัน  รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ

             

ดร.ปวิน วิพากษ์ว่า จุดอ่อนของนายกรัฐมนตรี คือ ขาดความเป็นผู้นำ  และ ไม่มีประสบการณ์ในการแก้ไขภาวะวิกฤติ แต่ไม่สามารถโยนความผิดไปที่นางสาวยิ่งลักษณ์เพียงคนเดียวได้  เพราะในวิกฤติน้ำท่วม มีวิกฤติการเมืองที่ซ้อนทับอยู่ทำให้รัฐบาลไม่ได้รับควาวมร่วมมืออย่างเต็มที่  และเสียดายที่ฝ่ายค้าน หรือฝ่ายตรงข้ามไม่ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมที่เป็นรูป

ธรรม  แต่กลับใช้วิธีการอื่น คือ การลดความน่าเชื่อถือนายกฯ ด้วยการโจมตี เรื่อง ระดับสติปัญญา และการแสดงอารมณ์ซึ่งเป็น  ประเด็นรอง

         

ส่วนบทบาทของฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้บริหาร กทม. แสดงบทบาท "แข่งขัน" มากกว่า ร่วมมือ จะเห็นว่าการทำงานของ กทม. ไม่สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติที่กำหนดโดย ศปภ. ทั้ง ๆที่วิกฤติมหาอุทกภัยเป็นวิกฤติที่กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของโลกในอุตสาหกรรมรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ และคอมพิวเตอร์ที่นิคมตั้งอยู่ในพื้นที่ปริมณฑล  แต่ กทม.กลับเล่นบทรัฐซ้อนรัฐ เน้นปกป้องกทม.เป็นหลัก

         

อ.ปวิน ประเมินบทบาทของ "กองทัพ" ว่ายังไม่ทำงานเป็นกลไกหนึ่งของรัฐบาล  สังเกตจากผลโพลล์ที่ความพึงพอใจสูงสุดอยู่ที่ "ทหาร"  แต่อ.ปวินมองว่าผลโพลล์สะท้อนภาพ เฉพาะ กทม. ปริมณฑล  แต่ไม่ได้สะท้อนภาพความรู้สึกของคนทั้งประเทศ    นักวิจัยท่านนี้ มองว่า กองทัพยังไม่เปลี่ยนมุมมองต่อการเมืองหลังรัฐประหาร 2549 จึงตั้งคำถามว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์กับกองทัพ จะทำงานร่วมกับรัฐบาลอย่างไรเมื่อผลประโยชน์ทางการเมืองต่างกัน

 

นักวิจัยจากสถาบันเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงโปร์ อ่านสัญญาณของ รัฐมนตรีสหรัฐที่เยือนประเทศ ไทยที่วิกฤติมหาอุกภัย 5 เรื่อง คือ การสนับสนุนรัฐบาลพลเรือน  การสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตย  การสนับสนุนให้ไทยเคารพหลักกฎหมายและหลักการปกครองที่ดี  การสนับสนุนสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน และสนับสนุนการสมานฉันท์ทางการเมือง  ซึ่งถือเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐต่อไทยครั้งสำคัญ หลังยุคสงครามเย็น

 

Produced by Voice TV 
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog