รายการ Intelligence ประจำวันที่ 30 สิงหาคม2554
ชัยชนะในการเลือกตั้งของเพื่อไทย พร้อมการก้าวสู่เส้นทางการเมือง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทยที่ผู้คนทั่วไปรู้จักเธอในชื่อ“ปู”
ปัญหาการใช้ "สรรพนามบุรุษที่ 1" แทนตัวเองว่า "ปู"ของนายกรัฐมนตรี ถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสม เมื่อ คุณสุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล ผอ.สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา ให้ทัศนะว่า "น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ คนแรกและคนเดียวที่เรียกตัวเองด้วยชื่อเล่น มันสะท้อนว่ายังไม่แยกแยะระหว่าง "การเป็นนายกฯ" กับ "การเป็นปู" มันต่างกันอย่างไร ตนคิดว่าเรื่องนี้สำคัญ เมื่อถึงวันหนึ่งเราอาจมีนวัตกรรมใหม่ คือมีนายกฯ เรียกชื่อเล่นตัวเองในการพูดกับแขกบ้านแขกเมืองซึ่งก็ดี แต่กังวลว่าการไม่แยกแยะแบบนี้จะเป็นการไม่แยกแยะในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยหรือเปล่า อันนี้ตั้งคำถามไว้เล่นๆ วันหนึ่งคุณปูต้องแยกแยะ "ความเป็นปู" กับ "ความเป็นนายกฯ" ให้ได้"
ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล เขียนในจดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ถึงความสำคัญของคำสรรพนามในภาษาไทยว่า เป็นสิ่งที่สะท้อนวัฒนธรรมไทยและลึกซึ้งละเอียดอ่อนมากกว่าคำสรรพนามในภาษาอื่น ๆ
ส่วนมุมมองของ คุณลักขณา ปันวิชัย (คำ ผกา) คอลัมนิสต์ชื่อดัง มองว่าความไม่เท่าเทียมที่มาพร้อมกับภาษา แฝงการแบ่งชนชั้น ความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพราะฐานทางวัฒนธรรม ฐานความสัมพันธ์ที่สร้าง ผู้หญิงให้อยู่ภายใต้อุดมการณ์ชายเป็นใหญ่
ในเรื่องสรรพนามที่จะเรียกแทนตัวเอง ซึ่ง ผู้หญิงไทยจะมีคำสรรพนามให้เลือกใช้จำกัดกว่าผู้ชาย ที่ใช้คำว่า “ผม”คำเดียว ก็สามารถใช้ได้เกือบทุกสถานการณ์ ขณะที่ผู้หญิงถ้าจะใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า “ฉัน”หรือ “ดิฉัน” เฉพาะกรณีที่เป็นการพูดคุยอย่างเป็นทางการเท่านั้น และไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน
Produced by VoiceTV