ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี 2475 กองทัพเข้ามามีบทบาท เกี่ยวกับการเมืองมากขึ้น รัฐประหารครั้งล่าสุด ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นำโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ โดยโค่นล้มรักษาการนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนับเป็นการก่อรัฐประหารเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนต่อมา หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมือง
ทหารและกองทัพ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองในช่วงหลัง รัฐประหารเป็นต้นมา แม้ว่าจะมีความต้องการปฏิรูปกองทัพ ให้กองทัพเลิกเข้ามา แทรกแซงการเมือง และพัฒนาไปสู่การสร้างประชาธิปไตยในบ้านเมือง
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งก่อนหน้านั้น ก็มีหลายฝ่ายเกรงว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ หรือไม่ เนื่องจากพรรคที่จะได้รับเลือกตั้งเข้ามา อาจจะเป็นพรรคการเมืองที่กองทัพ และอำนาจนอกระบบ ไม่ยอมรับ จึงเกิดกระแสข่าว การปฏิวัติ รัฐประหารขึ้นอีกครั้ง
ฟังทัศนะ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ ภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับบทบาทของกองทัพในปัจจุบันควรเป็นเช่นไร และกองทัพจะต้องปฏิรูปหรือปรับตัว ท่ามกลางสังคมที่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร
Produced by VoiceTV