วันที่ 15 ส.ค. 2566 ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ รองเลขาธิการและรักษาการโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีการปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยผู้สูงอายุที่จะเข้าเกณฑ์ใหม่ได้รับเงินดังกล่าว จะต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือ คนจน ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนดนั้น
พรรคเพื่อไทยตระหนักถึงในสถานการณ์จำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้น และประเทศไทยกำลังจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาแรกในโลก ที่ต้องรับมือกับภาวะแก่ก่อนรวย โดย 1 ใน 5 ของคนไทยเป็นผู้สูงอายุ และในอีก 20 ปีจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 โดย 63% อยู่ในภาคเกษตร และ 87% เป็นแรงงานนอกระบบ และมีปัญหาร่วมกันคือรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ ไม่มีเงินเก็บ
ดังนั้น นโยบายของพรรคเพื่อไทย จึงทำเพื่อตอบโจทย์การสร้างรายได้ เพื่อแก้ปัญหาระดับโครงสร้างในทุกมิติผ่าน ‘ชุดนโยบายของพรรคเพื่อไทย’ เพื่อรองรับสังคมสูงวัย ประกอบด้วย
(1) กระเป๋าเงินดิจิทัล กระตุ้นเศรษฐกิจ บรรเทาความเดือนร้อนให้ทุกคน
(2) 1 ครอบครัว 1 ศักยภาพ softpower สร้างแรงงานทักษะสูง 20 ล้านตำแหน่ง ผู้สูงอายุคนเกษียณก็ยังสามารถทำงาน สร้างรายได้ มีศักดิ์ศรี
(3) เพิ่มรายได้ภาคเกษตร เพิ่มรายได้ 3 เท่าตัว เพราะผู้สูงอายุและกำลังจะเข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ อยู่ในภาคเกษตร
(4) อัพเกรด 30 บาทรักษาทุกโรค บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทั่วไทย ผู้ป่วยติดเตียง-ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลจากผู้ช่วยพยาบาลทั้งที่บ้านและศูนย์ชีวาภิบาลของรัฐและเอกชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ลูกหลานสามารถไปประกอบอาชีพได้ตามปกติโดยไม่ต้องลางาน
(5) Learn to Earn เรียนเพื่อสร้างรายได้ เรียนรู้ง่ายตลอดชีวิต จับคู่สมรรถนะของคนเข้ากับงานที่ใช่ เพื่อช่วยให้มีงานทำเร็วที่สุด ตรงกับสมรรถนะของตนเองมากที่สุด และสร้างรายได้ที่ดีที่สุด
“สวัสดิการจำเป็นสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ เพื่อไทยมุ่งเป้าให้คนไทยยืนได้ด้วยลำแข้งตนเอง การปรับเบี้ยผู้สูงอายุ ให้เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่การให้ถ้วนหน้าแบบเดิม ต้นเหตุมาจาก ‘รัฐมีงบประมาณไม่เพียงพอ’ ซึ่งเพื่อไทยเห็นปัญหานี้มาโดยตลอด เราจึงเป็นพรรคเดียว ที่พูดถึงการสร้างรายได้ เพื่อมีรายได้มาจัด ‘สวัสดิการโดยรัฐ’ สำหรับกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส ให้ครอบคลุมและทั่วถึงในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้คนไทยทุกกลุ่มเข้าถึง