ไม่พบผลการค้นหา
ผู้ว่าฯ กทม. ได้รับรายงานเหตุเพลิงไหม้ชุมชนบ่อนไก่ ถ.พระราม 4 ขณะเปิดงาน 'หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย' โดยซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ของเทศกิจมุ่งหน้าไปดูจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้ทันที โชคดีีชุมชนอยู่ใกล้สถานีดับเพลิง แต่ไม่มีประปาหัวแดงในชุมชน ย้ำหน้าที่ผู้ว่าฯ ต้องบำบัดทุกข์ให้ประชาชน กทม.พร้อมดูแลผู้เดือดร้อนจากเหตุการณ์เต็มที่

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 21 มิ.ย. 2565 ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เสาชิงช้า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกิจกรรม "หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย #ความดีที่คุณทำได้" ครั้งที่ 5 พร้อมรับข้อเสนอเชิงนโยบาย จากคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา และรับมอบสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ผู้ขับขี่หยุดรถตรงทางม้าลาย ด้วยการลดความเร็วเขตชุมชนและชะลอก่อนถึงทางแยกทางข้าม โดยมี สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.และประธานคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานเขตพระนคร สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ และภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน ร่วมกิจกรรม

ชัชชาติ ทางม้าลาย -4C0C-4A5A-A052-C2C255D21D34.jpegชัชชาติ ทางม้าลาย -B5AD-4319-8C28-009A2B3F117E.jpeg

กรุงเทพมหานครมีนโยบายเป็น เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน กอปรกับรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงครึ่งหนึ่ง ให้เหลือ 12 คน/ประชากรแสนคน ในปี 2570 โดยใช้แนวคิดเน้นการจัดการเชิงระบบแห่งความปลอดภัย (Safe System Approach) ที่มองว่าคนมีข้อจำกัดและผิดพลาดได้เสมอ ระบบที่ปลอดภัยต้องช่วยป้องกันและลดความสูญเสีย คณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา ซึ่งมีเป้าหมายร่วมในเรื่องความปลอดภัยของคนเดินถนน ตระหนักว่ากรุงเทพมหานครมีความพร้อมที่จะเป็นต้นแบบในการสร้างการมีส่วนร่วมและบรรลุผลในการจัดการเรื่องนี้ให้เป็นแบบอย่างกับเมืองใหญ่ทั่วประเทศ จึงมีข้อพิจารณาเสนอแนะกรุงเทพมหานครในประเด็นสำคัญ 3 ด้าน คือ  

1. ด้านการบริหารจัดการ: โครงสร้าง กฎหมาย งบประมาณ และ KPI กำกับติดตาม ประกอบด้วย 1.1 การสนับสนุนและยกระดับการทำงานของสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. ให้มีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการเสริมสร้างมาตรการความปลอดภัยของการใช้รถใช้ถนนให้มีขอบเขตกว้างขวางขึ้นครอบคลุมทุกมิติ 1.2 กำหนดตัวชี้วัดเรื่อง "ความปลอดภัยทางถนน" ในทุกเขต 1.3 จัดสรรงบประมาณเพื่อความปลอดภัยทางถนนในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น 1.4 เร่งรัดติดตามการพัฒนาระบบข้อมูลด้านอุบัติเหตุทางถนนใน BMA Platform ที่ริเริ่มไว้แล้วให้นำมาใช้งานได้โดยเร็ว

2. ด้านมาตรการด้านถนนและ "ทางม้าลายมาตรฐาน-ปลอดภัย" ประกอบด้วย 2.1 ปรับเปลี่ยนการออกแบบถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ให้มีมาตรฐานสากล 2.2 ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางถนน "กำหนดทางม้าลายให้มีมาตรฐาน" ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้และมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น ป้ายเตือน ไฟส่องสว่าง และมาตรการชะลอความเร็ว (Traffic Calming) 2.3 มีระบบประเมินจุดเสี่ยงที่จำเป็นต้องมีหรือปรับปรุงทางข้าม พร้อมทั้งระดมความร่วมมือกับภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนให้เกิดทางข้ามที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งร่วมสร้างทางข้ามทางเลือก เช่น Sky Walk ทางเดินเท้า ทางจักรยาน ให้ครอบคลุมทั่วทุกเขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2.4 มีการกำหนด Speed Zone (จำกัดความเร็ว 30-40 กิโลเมตร/ชั่วโมง) โดยเฉพาะในจุดที่มีทางข้ามและเขตชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาดสด ฯลฯ

3. ด้านการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและความรับผิดชอบร่วมกัน ประกอบด้วย

3.1 ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบก วางแนวทางกำกับผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่กรุงเทพมหานครมีบทบาทกำกับดูแล เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านความปลอดภัย เช่น ขสมก./รถร่วมบริการ วินรถจักรยานยนต์ กลุ่มไรเดอร์หรือจักรยานยนต์ส่งสินค้าต่าง ๆ

3.2 นำเทคโนโลยีเสริมการบังคับใช้ผู้ที่ฝ่าฝืน ไม่ชะลอหรือหยุดให้คนข้าม รวมทั้งกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนคนข้าม โดยมีการกำกับและติดตามรายงานผลการบังคับใช้ให้สาธารณะได้รับรู้โดยเร็ว เพื่อสร้างความตระหนักรู้กับผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างต่อเนื่อง

3.3 สร้างการเรียนรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการรับรู้และประเมินสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง (Hazardous Perception) เข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับชั้นเรียนในโรงเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร

3.4 ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องผ่านสื่อหรือช่องทางต่าง ๆ ที่กรุงเทพมหานครและเครือข่ายมีอยู่แล้ว ทั้งนี้ อาจจะมีการนำ Key Message ที่จะกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักและร่วมมือกัน เช่น หยุดสูญเสีย หยุดรถให้คนข้าม

ชัชชาติ ทางม้าลาย 43BF-9E3B-88CA9D856C4E.jpeg

'ชัชชาติ​' ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ตรวจไฟไหม้ชุมชนบ่อนไก่

จากนั้น เวลา​ 15.30 น.​ ชัชชาติ​ สิทธิพันธุ์​ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)​ ได้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของเจ้าหน้าที่เทศกิจ ออกจากศาลาว่าการ กทม.เสาชิงช้าเป็นการด่วน หลังได้รับรายงานเมื่อเวลา 14.00 น. ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้​ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ ถนนพระรามที่ 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน​

ชัชชาติ ไฟไหม้ บ่อนไก่  51DF53D9618.jpegชัชชาติ ไฟไหม้ บ่อนไก่  F1546187C.jpegชัชชาติ ไฟไหม้ บ่อนไก่ เทศกิจ  1072CFB5DDE1.jpeg

ทันทีที่มาถึงจุดที่เกิดเพลิงไหม้ชัชชาติได้ลงสำรวจจุดเกิดที่มีเพลิงไหม้ทันที และกล่าวว่า หลังเกิดเหตุ รถดับเพลิงเข้ามายังจุดภายใน 10 นาที เพราะสถานที่เกิดเหตุตั้งอยู่ใกล้กับสถานีดับเพลิงบ่อนไก่ สามารถควบคุมเพลิงได้ช่วงเวลาประมาณ 14.35 น. ความเสียหายกว่า 30 หลังคาเรือน ส่วนปัญหาอุปสรรคที่พบในการดับเพลิง คือ สภาพลมที่รุนแรงและมีคอนโดสูงล้อมรอบ ทำให้เกิดอากาศร้อนหมุนเวียนอยู่ข้างในและเพลิงลุกกระพือขึ้น ประกอบกับบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งหมด ส่วนน้ำที่ใช้ดับเพลิงเมื่อน้ำหมดต้องใช้ประปาหัวแดง จ่ายน้ำดับเพลิงซึ่งจุดที่อยู่ใกล้ที่สุดคือริมถนนพระราม 4 เบื้องต้นไม่พบผู้เสียชีวิตแต่มีผู้บาดเจ็บ แต่ฝ่ายแพทย์ทำงานได้ดีมีการตั้งหน่วยปฏิบัติการเตรียมไว้

ปัญหาหลักที่พบ คือ ไม่มีประปาหัวแดงดับเพลิงอยู่ในชุมชน ซึ่งอนาคตเป็นเรื่องที่ต้องนำไปหารือปรับปรุงต่อไป ส่วนปัญหาเฉพาะหน้าต้องดูแลผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนให้มีที่อยู่อาศัย ซึ่งตั้งศูนย์พักคอยไว้ที่ศูนย์เยาวชนบ่อนไก่แล้ว ที่น่าเป็นห่วงคือเด็กนักเรียนที่กลับมาจากโรงเรียน เข้าบ้านไม่ได้ ต้องให้คนดูแล 

ไฟไหม้ บ่อนไก่ B15-8ED5004DDEE0.jpegไฟไหม้ บ่อนไก่ -4631-A122-E6147E5CA024.jpegชัชชาติ ไฟไหม้ บ่อนไก่  BD3B78855A.jpegชัชชาติ ไฟไหม้ บ่อนไก่  273CB4558CBE.jpegไฟไหม้ บ่อนไก่ -800B-D937295F6962.jpeg

ชัชชาติ กล่าวต่อไปว่า เหตุการณ์นี้เป็นบทเรียนที่สำคัญ จุดนี้ถือเป็นจุดที่โชคดีเพราะอยู่ห่างจากสถานีดับเพลิงหลักไม่กี่ร้อยเมตร แต่หากเกิดในชุมชนที่ห่างจากสถานีดับเพลิงและไม่มีอุปกรณ์ในการดับจะเกิดความเสียหายมากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถหาสาเหตุของเพลิงไหม้ในครั้งนี้ได้

ผู้ว่าฯ กทม.ได้ย้ำว่า หัวใจของการดับเพลิงคือ 8 นาทีแรกสำคัญที่สุด หากสามารถดับช่วงแรกได้จะไฟไม่ลาม สำคัญคือต้องช่วยกันดูแลเรื่องอัคคีภัยเป็นเรื่องร้ายแรง ทางกทม.พร้อมดำเนินการเต็มที่แต่หากเราร่วมกันแล้วจะเกิดพลังบวก 

“เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องลงมาดูปัญหา เพื่อแก้ปัญหาให้กับพวกเขา เพราะหน้าที่ของเราคือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน โดยมุ่งที่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนก่อนสำหรับคืนนี้ ต้องให้กำลังใจกันในช่วงเวลายากลำบากเช่นนี้ ย้ำว่ากทม.พร้อมดูแลทุกคนอย่างเต็มที่” ชัชชาติ กล่าว