วันที่ 20 ม.ค. 2565 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณากระทู้ถามสด โดย จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ยื่นกระทู้ถามเรื่องสถานการณ์โรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่ได้ลามไปถึงวิกฤตของแพงและปัญหาเศรษฐกิจ โดยระบุว่า จุดเริ่มต้นมาจากโรค ASF ลงที่ไหนตายยกเล้า ไม่มีหนทางแก้ไข สุดท้ายวิธีเดียวคือการทำลายซากและฝังกลบสุกร โรคนี้กระทบจนกระทั่งฟาร์มเลี้ยงหมู ขนาดเล็ก ขนาดกลางล้มหายตายหมด โรคนี้สามารถติดเสื้อผ้า อาหาร นำพาหะจากมนุษย์เข้าไปติดโรค การระบาดจึงแพร่กระจาย และอยู่ในเนื้อหมูได้นาน ถ้าเนื้อหมูแช่แข็งโรคนี้จะอยู่ถึง 3 ปี ในปี 2561 ประเทศจีนทำลายหมู 500 ล้านตัว ปี 2562 โรคระบาดเข้าภูมิภาคอาเซียน ปี 2564 ประเทศมาเลเซียเกิดการระบาด โดยประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ปฏิเสธการคงอยู่ของโรคระบาด ASF มาตลอด รัฐบาล ฝ่ายข้าราชการปฏิเสธว่าไม่มี ไม่เห็น ในปี 2562 เกิดการระบาดลาว กัมพูชา และเมียนมา ในปี 2564 เกิดปาฏิหารย์บินข้ามไทยไปลงมาเลเซียได้ แต่ตั้งสมมติฐานโรคนี้ไม่เคยอยู่ในไทย ข้าราชการ รัฐบาลปกปิดการแพร่ระบาดโรค ASF
จุลพันธ์ ระบุว่า ประเทศไทยเป็นประเทศไข่แดงประเทศเดียวไม่มีโรคระบาด ASF ผลการส่งออกหมูในปี 2563 ถีบตัวขึ้น 300% ผลประโยชน์ตกอยู่เจ้าสัวรายใหญ่ 3 เจ้า ที่ส่งออกหมูได้ นี่หรือไม่ที่ปกปิดโรคระบาดเพื่อประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ปี 2564 สุกรตายไป 40% ตอนนี้เหลือ 12 ล้านตัวจาก 20 กว่าล้านตัว ปกปิดมา 3 ปี เพราะราคาหมูมันถีบตัวสูงขึ้น ประชาชนเดือดร้อนทั้งประเทศ ทำให้ 11 ม.ค. ที่ผ่ านมา กรมปศุสัตว์ออกมายอมรับมีโรค ASF ทำให้ผู้ค้า รายเล็ก รายกลางเจ๊ง และผู้ค้ารายใหญ่เสียหายเพียง 10% มีเงินมีทุนกว่า วันนี้ผู้ค้ารายใหญ่ครองส่วนแบ่งการตลาดไม่ต่ำกว่า 80-90% คนได้ประโยชน์หยิบมือเดียว บีบรายเล็กให้ตายเอื้อรายใหญ่ให้เข้มแข็ง สุดท้ายรายใหญ่ครองตลาดได้ ปั่นราคาให้สูง กำไรบนคราบน้ำตาประชาชน
"ทำไมรัฐบาลจึงปกปิดการระบาดโรค ASF ในสุกรจนประโยชน์ตกที่ผู้ค้ารายใหญ่ ที่ประชาชนบริโภคหมูแพงในปัจจุบัน ทางรัฐบาลจะหาทางแก้ไขอย่างไรในระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว" จุลพันธ์ ระบุ
รมช.เกษตรฯ แจงเพิ่งพบโรค ASF ปี 65 ที่ผ่านมาเคยตรวจสอบเจอแต่เพิร์ส
จากนั้น ประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรี ว่า การเข้าใจบนพื้นฐานไม่ตรงกัน ตนพยายามรวบรวมคนเดียวที่จะมาตอบกับเพื่อนสมาชิก โรค ASF เป็นของใหม่สำหรับตน ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง รมช.เกษตรฯ ตอนปี 2562 มีการรายงานว่าน่าจะเป็นโรคระบาดจากประเทศเพื่อนบ้าน ก็ไปจับซากหมูตรวจสอบดูห้องแลปผลเป็นบวก เมื่อรู้โรคนี้ อธิบดีและสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย บอกต้องรีบทำลาย เพราะระบาดเร็วติดต่อเร็ว ในช่วงเริ่มสมาคมฯช่วยเหลือดี และบอกว่าจะให้ผู้เลี้ยงรายย่อย รายเล็กช่วยต้องร่วมมือ ดังนั้น สมาคมฯก็เรี่ยไรจ่ายก่อนเป็นงบฯ 30 ล้าน จ่ายค่าหมูทำลายไป 90 ล้านตัวก็สกัดกั้นได้ แต่ตอนบอกว่าต้องนำผลแล็ป มีการบอกเสร็จบอกผลแลปว่าไม่พบอหิวาต์แอฟริกา ตรวจแบบโควิด และพบโรคเพิร์ส (PRRS) นี่ไม่ใช่การไม่ยอมรับ คือรายงานมาอย่างนี้
ประภัตร ระบุว่า ที่สมาชิกโจมตีว่าปกปิดโรค ASF นั้น โรคในสุกรที่ตายมากมายมี 3 โรค 1.โรค ASF 2. โรค PRRS ระบบสืบพันธุ์และระบบหายใจ และ 3. โรค CSF อหิวาต์สุกร และพบเจอโรค ASF เจอปี 2565 โดยพบสำรวจอย่างจริงจัง 309 แห่งที่พบโรงฆ่าสัตว์ จ.นครปฐม ตนและรัฐบาลไม่มีเจตนาปกปิด เพราะเรื่องนี้เสียหายทั้งระบบ ถ้าเจอโรค ASF แล้วไม่ประกาศ ทั่วโลกไม่เอาด้วย แต่ถ้าเจอต้องประกาศ โดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (World Organization for Animal Health : OIE) ก็จะประกาศด้วย ดังนั้นโรคนี้อย่างที่จุลพันธ์ พูดถูก ทำลายระบบการเลี้ยงหมู เหลือแต่รายใหญ่ ซึ่งเป็นเรื่องถูก
"หมูที่ท่านพูด 22 ล้าน ปี 2563 ส่งออกมากมาย หมูทั้งหมดในประเทศไทยประมาณ 19 ล้านตัว มีผู้เลี้ยง 1.9 แสนราย ในจำนวนนี้รายย่อย รายเล็ก มีจำนวน 1.86 แสนรายที่ขึ้นทะเบียน จะเหลือรายใหญ่ 22 ราย รายกลางประมาณ 3,000 ราย ส่วนอิทธิพลบทบาทการจะปั่นได้ ถูกอยู่ที่คนรวยรายใหญ่ ผมจะแสดงให้เห็นว่าข้าราชการไม่ต้องการปกปิดเพื่อใคร เพราะเขาไม่ได้ประโยชน์ ผมมาชี้แจงไม่แก้ตัว ไปแลป เป็น PRRS ไม่ใช่ ASF ส่วนหมูตายไปทั้งหมด 2.7 แสนตัว ในแลปไม่ได้บอกว่าเป็น ASF เป็น PRRS" ประภัตร ระบุ
ประภัตร ระบุว่า รัฐบาลก็อนุมัติงบมา 1,017 ล้านบาทต้องชมเชยเห็นใจนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับแรงปะทะคนเดียวทั้งเรื่องหมูและของแพง ทุกอย่างผูกกับหมูหมดก็ไม่ถูก
จากนั้น จุลพันธ์ ถามต่อว่า มันเป็นการปกปิดเรื่องโรคระบาดอย่างเป็นระบบ ตนท้าท้าพิสูจน์ขุดศพหมูขึ้นมาดูรับประกันเจอโรค ASF แน่นอน ท่านใช้เวลาชี้แจงพูดว่าเจอหรือไม่เจอเท่านั้น วันนี้ชัดเจนว่ามีคนได้ประโยชน์ เจ้าใหญ่มีไม่กี่คน ที่ได้ประโยชน์มหาศาลจากราคาที่ถีบตัวขึ้นสูง ท่านทำอะไรบ้างกับการกักตุนสินค้าและการเอารัดเอาเปรียบจากการขึ้นราคาสินค้า
ประภัตร ชี้แจงว่า พล.อ.ประยุทธ์ เอาใจใส่มาก เรียกข้าราชการไม่ผ่านรัฐมนตรี เรียกมาประชุมที่ทำเนียบฯ เกิดการกักตัวหรือไม่ และต้องดูสต๊อก เรื่องการแก้ไขกระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการ วันนี้ตนต้องนำตัวเลขให้นายกฯ ดูว่ามีการพองตรงไหนเป็นอย่างไร เป็นข้อมูลที่จะตัดสินใจในวันที่ 21 ม.ค.นี้ วันนี้กำชับให้อธิบดีกรมปศุสัตว์กำชับทุกจังหวัดต้องส่งตัวเลขให้กระทรวงมหาดไทย เพื่อประเมินถูกว่าหากกิน 50,000 ตัวจะกินเท่าไร จำเป็นต้องนำหมูนำเข้าหรือไม่เพื่อให้ราคาลดลง อีกทั้งนายกฯตัดสินใจเร็วเมื่อหมูตายเร็วต้องหาหมูใหม่ อนุมัติ 30,000 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย โดยกำชับว่ารายย่อยจะเลี้ยงอย่างไรให้รอด
จุุลพันธ์ ระบุว่าของแพงค่าแรงถูก นายกฯบอกเกินจากเงินเฟ้อ นโยบายหารายได้ของรัฐบาลนี้ไม่เป็น เก็บภาษีพลาดเป้า เงินกู้ก็กู้แล้วกู้อีก วันนี้ชาวบ้านเดือดร้อนเขาถามว่าของแพงค่าแรงขึ้นได้หรือไม่ นายกฯ บอกว่าเอาเงินจากไหน แต่วันที่อนุมัติเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท ซื้อเครื่องบินรบ F-35 ได้ รวมทั้งจะปรับภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้างด้วย แล้วจะกู้อีกกี่ครั้ง หากจะกู้ปีนี้จะกู้ตาม พ.ร.ก.อีกกี่ล้านบาท
จากนั้น ประภัตร ชี้แจงว่า ตนจะรับไปกราบเรียนนายกฯ โดยราคาแพงนั้น กระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการอยู่ ส่วนเก็บค่าน้ำไม่มี เกษตรกรไม่มีนโยบายเก็บ แต่มีการเก็บค่าน้ำประปาและอุตสาหกรรมเท่านั้น