วันนี้ (29 พ.ย. 2567) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย น.ส.ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.3) นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.4) ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรม ปภ. อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมกรมที่ดิน อธิบดีกรมกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมกรมโยธาธิการและผังเมือง เดินทางลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ถึ งศาลากลางจังหวัดนราธิวาส พร้อมประชุมรับฟังรายการสถานการณ์และการช่วยเหลือประชาชน จาก ผู้ว่าราชการจังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายวีรพัฒน์ บุณฑริก รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ลงพื้นที่ มาติดตามสังเกตการณ์ สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เพื่อหาวิธีการสนับสนุนภารกิจของพื้นที่ ที่ต้องต่อสู้กับสถาณการณ์น้ำท่วม ได้รายงานภาพรวมของพื้นที่ ไปยังที่ประชุม ครม.สัญจร ที่ จ.เชียงใหม่ ให้นายกรัฐมนตรีทราบในเบื้องต้นแล้ว ซึ่งท่านนายกฯ มีความห่วงใย เรื่องอาหารสด ที่ไม่สามารถขนส่งได้ เกรงจะไม่สามารถนำมาประกอบอาหารและส่งต่อให้ผู้ประสบภัยได้ทัน ก็ได้ให้ผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดได้หาแนวทางในการช่วยเหลือเบื้องต้นรองรับไว้
นอกจากนี้ ในเรื่องของการเงินช่วยเหลือ ได้ให้อธิบดีกรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำเรื่องขอขยายวงเงินทดรองฯ สถานการณ์ฉุกเฉิน ภัยพิบัติ จาก 20 ล้าน เป็น 50 ล้าน คาดว่า กรมบัญชีกลางจะเร่งให้ความเห็นชอบโดยเร็ว และในพื้นที่ ขอให้เร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อจะได้ เร่งใช้เงินช่วยเหลือตามระเบียบ ที่ กรม ปภ. มีอยู่ ต่อไป
โดยรองนายกอนุทินได้ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ทุกคน และให้ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ให้ประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ขณะที่ ความช่วยเหลือส่วนใหญ่ที่จังหวัดต้องการ คือ ความต้องการเรือท้องแบนติดเครื่องยนต์ และเจ็ทสกี เพื่อใช้อพยพประชาชน
ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ได้สรุปรายงานความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย พร้อมความช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสล่าสุด ให้ รองนายกได้รับทราบ ซึ่งได้ได้รับการสนับสนุนทรัพยากร เครื่องมือช่วยเหลือผู้ประสบภัย คือ เรือท้องแบน เครื่องสูบน้ำ รถยกสูง เรือ เคลื่อนที่เร็ว ส่วนเรือท้องแบบได้มา 25 ลำ นำกระจายไปยังอำเภอต่างๆในพื้นที่ และอพยพผู้ประสบภัยไปยังศูนย์พักพิงฯ ในพื้นที่ โดยจังหวัดได้เปิดศูนย์บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมาก่อนหน้านี้แล้ว พร้อมถอดบทเรียนในครั้งที่แล้ว มาแก้ปัญหา โดยเฉพาะการเคลื่อนย้าย กลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่ประสงค์ออกจากบ้าน เนื่องจากเป็นห่วงบ้านและทรัพย์สิน โดยครั้งนี้ได้เน้นย้ำให้ นายอำเภอและเจ้าหน้าที่สร้างความเข้าใจกับครอบครัวที่มีกลุ่มเปาะบางผู้พิการให้ประสานและอพยพมายังศูนย์พักพิงฯ ที่ทางราชการเตรียมไว้ให้เพื่อความปลอดภัยอย่างสูงสุด
ส่วนในเรื่องของการดูแลผู้ประสบภัยฯจังหวัดนราธิวาสได้มีการเปิดโรงครัวพระราชทานและโรงครัว ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้มีจิตสาธารณะ ได้มาประกอบอาหารปรุงสุขช่วยเหลือผู้ประสบภัยภายใน ศูนย์พักพิง ฯ มีการดูแลอาหารครบ 3 มื้อ และ มีเจ้าหน้าที่รพ.สต แพทย์ พยาบาลประจำศูนย์ฯ ดูแลเรื่องความเจ็บป่วย สำหรับ กลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยติดเตียง ที่เข้ามาในศูนย์พักพิงมีการจัดเตรียมสถานที่พิเศษรองรับฯ ดูแลในส่วนนี้อย่างเต็มที่