เวลา 19.00 น. ของวันที่ 9 ส.ค. 2562 ท่ามกลางการจราจรขาออกของ ถ.วิภาวดีที่หนาแน่น หลายคนต่างมุ่งหน้าเดินทางกลับภูมิลำเนา เนื่องในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ส.ส. หนุ่มจากพรรคไทยศรีวิไลย์ ที่เพิ่งประกาศตัวว่าเป็นฝ่ายค้านอิสระเมื่อวันที่ 8 ส.ค. กำลังอยู่ในช่วงคิวทอง จากการประกาศลั่นมีพันธมิตรพรรคก๊กเล็กซึ่งมี ส.ส. 5 เสียงพร้อมแยกตัวออกจากรัฐบาล กำลังฝ่าสภาพการจราจรที่ติดขัดมาให้สัมภาษณ์พิเศษกับ ‘วอยซ์ ออนไลน์’
เขาคือ ‘มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์’ บางคนรู้จักเขาในนาม “เต้ พระราม 7” ซึ่งเขาเพิ่งกลับจากการลงพื้นที่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช สู่สนามบินดอนเมือง
'มงคลกิตติ์' ผู้ซึ่งเคยประกาศว่าเป็น “ตัวเปิด” พร้อมเผยถึงเหตุแยกตัวออกจากขั้วรัฐบาล
‘มงคลกิตติ์’ ให้สัมภาษณ์ผ่าน ‘วอยซ์ ออนไลน์’ ในประเด็นที่กำลังร้อน 10 พรรคเล็กเสียงแตกถอนตัวออกจากรัฐบาล จากข่าวที่เกิดขึ้นอาจทำให้สับสนว่า นี่อาจเป็นการเล่นละคร “โก่งราคา อัพค่าตัว” หรือไม่
‘มงคลกิตติ์’ ย้ำอีกครั้งว่า ตอนนี้ 10 พรรคเล็กส้มหล่นที่ได้เข้าสภา จากสูตรคำนวณปัดเศษของ กกต. ได้ถูกหั่นออกเป็น 2 ฝ่ายเรียบร้อยแล้ว คือกลุ่ม 5/1 และ 5/2 ฝั่งละ 5 พรรคการเมือง
โดยที่ 5 พรรคเล็กกลุ่มหนึ่งรวมถึงไทยศรีวิไลย์ได้แยกออกมาเป็นฝ่ายค้านอิสระ
พร้อมย้ำสถานะของพรรคไทยศรีวิไลย์ในตอนนี้คงไม่ใช่ในฐานะฝ่ายรัฐบาล แต่ขอเรียกว่า “ฝ่ายค้านประชาชน”
“เป็นแค่การแถลงข่าวของฝั่งพรรคพลังประชารัฐฝ่ายเดียว ผมนั้นไม่ได้ไปร่วมเจรจาพูดคุย เนื่องจากได้ไปลงพื้นที่ที่ จ.นครศรีธรรมราช ในช่วงเช้าของวันที่ 9 ส.ค. โดยคิดว่าจะต้องทำหน้าที่ผู้แทนราษฎรให้ดีที่สุด"
เขาคุยกันไปแล้ว อย่ารวมเหมาก็คือมาไม่ครบ
“ไม่คุยครับ”
คุณพิเชษฐเพิ่งคุยกันก็หมายความว่า ก็คือพรรคของท่านก็มีนโยบายของท่าน เป็นเอกเทศกัน หมายความว่าตอนที่เราไม่พอใจเราจับกลุ่มกัน แล้วก็แสดงออกให้สาธารณชนรับทราบ ให้พรรคพลังประชารัฐรับทราบ แล้วกลุ่มนี้ก็ยังอยู่เหมือนเดิม พวกเราก็นั่งอยู่ติดกันเหมือนเดิม พวกเราไม่ได้แตกแยกกัน
'เต้ มงคลกิตติ์' ยังกล่าวอีกว่า ขอเลือกอยู่ในฝั่งที่ทำประโยชน์ให้ประชาชน มองว่าหากเป็นฝ่ายรัฐบาลคือฝ่ายที่ทำประโยชน์ให้กับรัฐบาล ฝ่ายค้านก็ทำประโยชน์ให้กับฝ่ายค้าน
“ผมว่ามันวัฒนธรรมเดิม ฝ่ายรัฐบาลโดยส่วนใหญ่เขาจะปกป้องตัวเอง 90 เปอร์เซ็นต์ก็มีนักการเมืองที่ดี มีไหม...มี เพียงแต่จะไม่ค้านกัน เพราะเกรงใจกัน สุดท้ายประชาชนก็เสียประโยชน์ หรือฝ่ายค้านเอง บางทีรัฐบาลทำดี ก็ไปค้านเขาในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ผมมองว่าถูกว่าไปตามถูก ผิดว่าไปตามผิด อะไรที่ได้ประโยชน์กับประชาชน เราก็อยู่ตรงจุดนั้นดีกว่า เขาเรียกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายประชาชน”
อาจจะเป็นในประมาณนั้น เพราะว่าถ้าเป็นฝ่ายรัฐบาลมันต้องตามทุกเรื่อง ต้องตามวิป อันนี้พวกเราไม่จำเป็นต้องตาม ตามเป็นเรื่องๆ บางเรื่องวิปฝ่ายค้านโอเค ถ้าทำถูกก็ต้องตามเขา วิปฝ่ายค้านรัฐบาลทำถูกก็ต้องตามเขาเป็นเรื่องๆ ไป
มันไม่ล้มหรอก ถ้ารัฐบาลทำดี 5 เสียงก็ยังอยู่กับรัฐบาล ถ้ารัฐบาลทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง 5 เสียงนี้ก็ไม่อยู่กับรัฐบาล
“มีทางเดียว ต้องลาออก ไม่งั้นประชาชนต้องประท้วงทั่วประเทศ นายกฯ จะหาทางออกให้กับประเทศไทย หรือจะหาทางออกให้กับตัวเอง"
จากกระแสข่าวที่มีการมองว่าอาจจะมีการออกมาเรียกร้องปั่นกระแสหรือโก่งค่าตัว
'มงคลกิตติ์' ตอบเพียงว่า “ขอทำหน้าที่ผู้แทนราษฎร”
โดยปกติเวลาร่วมรัฐบาลเราต้องร่วมกัน ทั้งนโยบายที่จะเข้าไปผลักดัน ถ้ามีผู้แทนของเราเข้าไปผลักดันก็เป็นสิ่งที่ดี ในการที่จะขับเคลื่อนนโยบายของพรรคเรา แต่สมมติถ้าเขาไม่ได้เห็นความสำคัญ หรือไม่ได้เห็นว่าคนของเรามีความสามารถ ก็ต้องแล้วแต่รัฐบาลว่าจะว่าอย่างไร แต่ตัวผมในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถดำรงตำแหน่งบริหารได้อยู่แล้ว ดำรงตำแหน่งบริหารได้อย่างเดียว คือรัฐมนตรีเท่านั้น ในเมื่อมีการแต่งตั้ง ครม. ครบถ้วนแล้ว คงทำหน้าที่ ส.ส. ฝ่ายค้านอิสระ หรือที่เรียกว่าฝ่ายค้านประชน
ถ้าเราประกาศตั้งแต่ตอนเลือกตั้งก็ตั้งรัฐบาลไม่ได้ ตั้งรัฐบาลไม่ได้ แต่ คสช. ก็ยังอยู่ไง เพราะว่าพรรคผมเวลาหาเสียง หาเสียงสองมุมด้วยกัน หลายอย่าง อย่างหนึ่งคือไม่เอาพวกที่มีคดีทุจริตหนีไปต่างประเทศ สองไม่เอาสืบทอดอำนาจ แต่เผอิญพรรคผมได้คะแนนน้อย ก็ต้องยอมรับ ผมอยู่ตรงกลาง เพื่อนๆ อยู่ตรงกลาง ก็ตั้งรัฐบาลกันไม่ได้ พอไปรวมกับพรรคพลังประชารัฐเสร็จ บวกกับ ส.ว.250 มันก็เปิดสวิตช์ให้ประเทศไทย มีนายกรัฐมนตรี มี ครม. มีการถวายสัตย์ มีการเสนอนโยบายต่อรัฐสภา ก็จบแล้ว พอจบเสร็จ กระบวนการเป็นระบอบประชาธิปไตยหมดแล้ว ถูกไหม คสช. ไม่มีแล้ว มาตรา 44 ไม่มีแล้ว ทหารกลับเข้ากรมกองทั้งหมดแล้ว เพราะฉะนั้นก็หมดภารกิจในการเปิดสวิตช์ประเทศไทย เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราหมดภารกิจตรงนั้น หน้าที่ของเรา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ต้องทำผลประโยชน์ให้แก่ประชาชน ตามที่เขาเลือกเรามา
“ไม่มี ยังไม่เคยได้อะไรเลย ก็เป็น ส.ส. มาตลอด เพิ่งมาตั้ง ครม. เสร็จ แถลงนโยบายเสร็จ เพิ่งจะมาตั้งข้าราชการการเมือง เพราะกฎหมายมันห้ามไว้ไง ถูกป่ะ”
ส.ส. หนุ่มกล่าวอย่างหนักแน่นในกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวคำถวายสัตย์ไม่ครบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161
“มีทางเดียว ต้องลาออก ไม่งั้นประชาชนต้องประท้วงทั่วประเทศ นายกฯ จะหาทางออกให้กับประเทศไทย หรือจะหาทางออกให้กับตัวเอง ถ้าหาทางออกให้กับตัวเองก็อยู่ต่อ แต่ถ้าหาทางออกให้กับประเทศไทย เพื่อให้บ้านเมือง มีความปรองดองสงบสุข ต้องลาออก”
“ผมใช้ประวัติศาสตร์ชาติไทยมาอย่างยาวนาน 770 ปีด้วยกัน ในสมัย ถ้าไม่ผิดก็พระเจ้าสรรเพชญ์ ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ พันท้ายนรสิงห์เขาไม่ได้ตั้งใจทำความผิด เขายังพยายามรักษากฎมณเฑียรบาลไว้ เพื่อไม่ให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ก็ยังถูกประหารชีวิต ลาออกแล้วก็ไปกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษซะ”
ก็รัฐธรรมนูญไม่ได้บอกให้โหวตกลับมาใหม่ไม่ได้ ถูกไหม ยังไม่ถึงเวลานั้น ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรี 29 คนแล้ว ไม่ได้บอกว่าจะยุติแต่ 29 คน ยังมีคนที่ 30 31 32 ต่อไปเรื่อยๆ
หาก พล.อ.ประยุทธ์ไม่ลาออก แล้วมีการส่งฟ้องศาล ครม. อาจสิ้นสภาพทั้งคณะอาจทำให้บานปลาย
“ถ้าเป็นผม ผมเป็นนายรัฐมนตรี ผมต้องลาออก ต้องลาออก มันไม่มีวิธีอื่นที่จะดีกว่านี้ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ดับไฟด้วยตัวเอง ปัญหาก็จะไม่บานปลายไปถึงหมู่พี่น้องประชาชน”
แน่นอนว่าหลายคนอาจจะยังสับสน หรือรู้สึกไม่มั่นใจในตัว ส.ส. คนนี้ เกิดอะไรขึ้นกับเขา ทำไมวันนี้ถึงเปลี่ยนมามุ่งมั่นทำงานจริงจังเรียกได้ว่า “จากหน้ามือเป็นหลังมือ”
“เปลี่ยนยังไง...คือเราประเด็นหลังจากถวายสัตย์ต่อหน้าพระเจ้าอยู่หัวแล้วเราก็ต้องทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ราษฎร ได้ตามหน้าที่ของเรา ถูกป่ะ ถ้าเรามีหน้าที่แล้วเราไม่ทำหน้าที่มันก็ไม่ถูกต้อง ถูกไหมครับ”
ก็มี เมื่อมีคำชื่นชมมันก็เป็นแรงบันดาลใจที่ต้องการทำดีมากยิ่งขึ้น ถูกมะ การทำดีพวกนี้ไม่จำเป็นต้องหวังผลตอบแทน เพราะโดยปกติแล้วในเมื่ออาสามาทำพรรคการเมือง ก็แสดงว่าต้องการเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง คงไม่ได้คิดเล็กๆ ว่าเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร มันต้องมีอุดมการณ์มันต้องมีจุดมุ่งหมาย ผมมีจุดมุ่งหมายและอุดมการณ์ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่ต้องการให้บ้านเมืองแตกแยก ต้องการแก้ปัญหา
เห็น 'มงคลกิตติ์' มุ่งมั่นทำหน้าที่ ส.ส. อย่างเต็มกำลังแบบนี้ มาดูมุมมองความคิดประชาธิปไตยของ ส.ส. จากฝ่ายค้านประชาชน
คิดว่าเป็นประชาธิปไตยแล้วในส่วนที่เป็นสภาผู้แทนราษฎร แต่ในส่วนของ ส.ว. แต่ก็อย่าลืมว่ามันผ่านการลงประชามติมาแล้ว เสียงส่วนใหญ่ก็ถือว่าเป็นประชาธิปไตย นอกจากมีการเสนอแก้รัฐธรรมนูญแล้วมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งบอกว่าให้แก้ ก็ถือว่าเข้าสู่กระบวนการแก้ไขแล้ว เพราะปัจจุบันก็ถือว่ารัฐธรรมนูญก็ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว เราก็ถือว่าก็ต้องเดินตามนี้ นอกจากต้องมีการแก้ไขในอนาคต เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของคนหมู่มาก
ก็ต้องดูเป็นข้อๆ ไป ผมมองว่าต่อให้ดีแค่ไหน แต่ถ้าคนเลวมาใช้ มันก็ไม่ดี ต่อให้กฎหมายมันไม่ดีแค่ไหน คนดีใช้มันก็ดี มันอยู่ที่คนไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย
แก้ไขที่มา ส.ว. ต้องไปถามประชาชนก่อน ต้องไปถามประชาชน ลองไปซาวด์เสียงดูว่ามีข้อเสนออะไรที่ดีๆ บ้าง
เรื่อง - ชนกนันท์ เสรีธรรมาชน
ภาพ - ฐานันด์ อิ่มแก้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง