ไม่พบผลการค้นหา
เปิดหลักเกณฑ์ 'การให้สัญชาติ-สถานะ' บุคคลอพยพ ตามที่ ครม.ได้รับหลักเกณฑ์ที่ สมช.เสนอ โดยเร่งรัดแก้ 'การให้สัญชาติ-สถานะ' บุคคลอพยพ กว่า 4.8 แสนคน โดยลดขั้นตอนมอบสัญชาติ จาก 270 วัน เป็น 5 วัน

ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 นำโดย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ 'เห็นชอบ' กรอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนออนุมัติหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และสถานะให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาในอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ซึ่งรวมแล้วมีราว 4.8 แสนคน โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะใช้ทดแทนหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 เพื่อให้ได้รับสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ถาวร) หรือสัญชาติไทยอย่างรวดเร็ว โดยสาระสำคัญในประเด็นนี้ คือ การปรับหลักเกณฑ์ และการลดขั้นตอนการทางราชการ เช่น ผู้ยื่นสามารถรับรองตนเอง การลดขั้นตอนหรือยกเลิก

ซึ่งได้รับการพิจารณาผ่านคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการต่างๆ และการมอบอำนาจผู้ให้อนุญาตสัญชาติไทยและหนังสือรับรองใบถิ่นที่อยู่แยกกันระหว่างพื้นที่ กทม. และนอกเขต กทม. โดยกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาอยู่ไทยเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรของผู้อพยพมาอยู่ไทยเป็นเวลานาน นั้น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้สำรวจจัดทำทะเบียนประวัติแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - 2554

ซึ่งกรอบหลักเกณฑ์ดังกล่าว ภาครัฐได้รับฟังความคิดเห็นและศึกษาประเด็นปัญหาอย่างรอบคอบ การแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีข้อดีคือ จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในประเทศ ช่วยเหลือให้พลเมืองไทยที่ตกสำรวจมีสิทธิเข้าถึงการรักษาพยาบาล ผู้ที่ได้รับสถานะก็จะช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ สามารถเดินทางไปทำงาน ทำธุรกรรมทางการเงิน ได้รับโอกาสในชีวิตมากขึ้น เป็นการดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล

008.png
'ปัญหากลุ่มคนไม่มีสัญชาติไทย'

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้สำรวจจัดทำทะเบียนประวัติของกลุ่มคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย 

การสำรวจตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปี 2554 พบว่ามีกลุ่มคนไร้สัญชาติคงเหลืออยู่ทั้งสิ้น ประมาณ 4.8 แสนราย ประกอบด้วย ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน จำนวน 19 กลุ่ม อาทิ (บุคคลบนพื้นที่สูงและชุมชนบนพื้นที่สูง ผู้ที่ตกหล่นจากการสำรวจประชากร) ซึ่งมีประมาณ 215,000 คน กลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรของชนกลุ่มน้อย 29,000 คน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรของบุคคลที่ไม่มีสถานะตามทะเบียนประมาณ 113,000 คน 

ชาวเขาเศรษฐา ชาวเขา

โดย ดร.นฤมล อรุโณทัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ (2018) ได้กล่าวถึงปัญหาคนที่ไม่มีสัญชาติ ในบทความ ‘ปัญหาคนไร้สัญชาติ ซับซ้อนแต่ไม่ไร้ความหวัง’ ว่าคนไร้สัญชาติจะไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานหลายอย่าง ปัจจุบันมีการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้สิทธิบางส่วน เช่น ในด้านการศึกษา มีมติคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2548 รัฐมีนโยบายว่าเด็กสามารถเข้าเรียนโดยไม่ต้องมีเอกสารหลักฐาน และมีการอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัว ให้ในระดับประถมศึกษาเท่ากับเด็กสัญชาติไทย ในด้านสาธารณสุขมีมติคณะรัฐมนตรีในปี 2553 และ 2558 ให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบการรักษาพยาบาลสำหรับคนที่มีปัญหาสถานะ แต่จำกัดเฉพาะผู้มีเลขประจำตัว 13 หลักแล้วเท่านั้น และยังมีข้อจำกัดหลายด้าน ทั้ง ด้านสิทธิการศึกษาที่ในทางปฏิบัติ บางโรงเรียนก็ไม่มั่นใจไม่อยากรับเด็กกลุ่มนี้ ด้านการเดินทางออกนอกพื้นที่อำเภอ จังหวัด เพื่อการทำงานหรือเพื่อเรียนต่อ ถ้าไม่มีบัตรประชาชนก็จะถูกจำกัด ทำให้เสียโอกาสหลายด้าน ด้านการทำงาน มีนายจ้างน้อยคนที่จะจ้างคนที่ไม่มีบัตรประชาชน หรือเป็นจ้างการทำงานที่ต่ำต้อย งานสกปรกหรืออันตราย ทำให้โอกาสในชีวิตของพวกเขาน้อยลง 

รัฐบาลไทยมีความพยายามในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาบุคคลไร้สัญชาติมาโดยตลอด แต่เนื่องจาก มีความซับซ้อนในเชิงระเบียบกฎหมายหลายฉบับจึงใช้ระยะเวลายาวนาน โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 เรื่องหลักเกณฑ์การกำหนดสถานะและสิทธิของบุคคลที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ได้ร่างกฎกระทรวงกําหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย พ.ศ. .. เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนมอบสัญชาติให้กับบุคคลเหล่านี้ 

เมื่อเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา เกิดกรณีความไม่เข้าใจต่อกรณีอินฟลูเอ็นเซอร์ในช่องทางโซเชียลมีเดีย แจ้งว่าเด็กชาวเมียนม่าได้สัญชาติไทยอัตโนมัติ ซึ่ง นายวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีการชี้แจงไปแล้วว่า ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง เด็กไม่ว่าจะสัญชาติใดจะต้องได้รับการดูแลคุ้มครองตาม อนุสัญญาสิทธิเด็ก ข้อที่ 22 ไม่ได้ให้สัญชาติเด็กต่างชาติ และย้ำว่า คุ้มครองดูแลเด็กเท่านั้น 

'ความคืบหน้า'

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร เพื่อใช้ทดแทนหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ทั้งนี้ เพื่อให้บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร [ชนกลุ่มน้อย/กลุ่มชาติพันธุ์ (กลุ่มเป้าหมาย 19 กลุ่ม)] ที่รอการพิจารณากำหนดสถานะในปัจจุบัน จำนวน 483,626 คน ให้ได้รับสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ถาวร) หรือสัญชาติไทยอย่างรวดเร็ว โดยมีการปรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสถานะของบุคคลในประเด็นต่าง ๆ 

ซึ่งสภาความมั่นคงแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบแล้ว โดยที่ผ่านมามีปัญหาอุปสรรคสำคัญ 4 ประการ ดังนี้

1)   ปัญหาเรื่องขั้นตอนการดำเนินงานในการสอบสวนผู้ยื่นคำขอและพยานบุคคล

2)   การตรวจสอบพยานและหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ใช้ระยะเวลานาน

3)   การพิจารณาในรูปแบบของคณะกรรมการและอนุกรรมการใช้ระยะเวลานาน

4)   บุคลากรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวมีความขาดแคลน

สมช. จึงได้เสนอปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และสถานะให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาในอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ตามตารางการเปรียบเทียบหลักเกณฑ์มติ ครม. เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2564 และหลักเกณฑ์ที่เสนอขอปรับปรุง ตามรายละเอียดในตาราง

กลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในราชอาณาจักร

หลักเกณฑ์เดิม

(มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564)   หลักเกณฑ์ที่เสนอขอปรับปรุง

กลุ่มเป้าหมาย

1.บุคคลที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542

2. บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายในปี พ.ศ. 2542 กลุ่มที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน (ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม)   คงกลุ่มเป้าหมายเดิม

คุณสมบัติ

1. หลักเกณฑ์ทั่วไป

1) มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติและมีเลขประจำตัว 13 หลัก

2) มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย ติดต่อกันต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอมีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย

(ตรวจสอบพฤติการณ์ด้านความมั่นคงโดยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจสันติบาล เป็นต้น ซึ่งหลักเกณฑ์นี้กำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานของกรมการปกครอง มท.)

3) มีความจงรักภักดีต่อประเทศไทยและเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4) มีความประพฤติดี และไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของไทย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดไม่เคยรับโทษคดีอาญา ยกเว้นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ

5) หากได้รับโทษคดีอาญา ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง เว้นแต่โทษในคดียาเสพติดฐานเป็นผู้ค้าหรือผู้ผลิตให้ขยายระยะเวลาจาก 5 ปี เป็นไม่น้อยกว่า 10 ปี

6) ประกอบอาชีพสุจริตโดยมีใบอนุญาตทำงานหรือหนังสือรับรองจากนายอำเภอท้องที่ยกเว้นเด็กที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาอื่น ซึ่งต้องปฏิบัติกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และคนพิการ (แล้วแต่กรณี)

2. หลักเกณฑ์เฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มบุคคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นเวลานาน กลุ่มเด็กที่ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักร กลุ่มคนไร้รากเหง้า และกลุ่มบุคคลที่ทำให้คุณประโยชน์แก่ประเทศไทย

* การอนุญาตผ่านคณะอนุกรรมการพิจารณาให้สัญชาติไทย และให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย ระดับจังหวัด)/กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพิจารณาให้สัญชาติไทยและให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและนายกรัฐมนตรี เป็นผู้พิจารณาอนุญาต   ปรับหลักเกณฑ์ให้ผู้ยื่นคำขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเองเพื่อเร่งรัดคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว หากมีคุณสมบัติ ดังนี้ 

(*ปรับ ให้ผู้ขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเองแทนการสอบสวนผู้ขอและพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือและแทนการส่งไปตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและตรวจสอบพฤติการณ์ด้านความมั่นคงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)

1) มีความจงรักภักดีต่อประเทศไทยและเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2) มีความประพฤติดี ไม่มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ไม่เคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ถึงที่สุดของศาลให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หากเคยได้รับโทษดังกล่าว ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่น

คำร้อง เว้นแต่โทษในคดียาเสพติดฐานเป็นผู้ค้าหรือผู้ผลิต ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ยกเว้นสำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี บริบูรณ์

3) ไม่สามารถกลับประเทศต้นทาง/ไม่มีจุดเกาะเกี่ยวใด ๆ กับประเทศต้นทาง

4) ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น

- ยกเลิกหลักเกณฑ์เฉพาะกลุ่ม –

การอนุญาต

1.ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ผู้อำนวยการสำนักกิจการความมั่นคงภายใน เป็นผู้พิจารณาอนุญาตและออกหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

2. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. นายอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาตและออกหนังสือ รับรองการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ราชอาณาจักร

3. อธิบดีกรมการปกครอง มีอำนาจดำเนินการทั่วราชอาณาจักร

กลุ่มเป้าหมาย

บุตรของชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในราชอาณาจักร  กลุ่มเป้าหมาย

บุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร เป็นเวลานาน ที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้ สัญชาติไทย (เฉพาะชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม ไม่รวมชาวต่างด้าวอื่น ๆ )

(ปรับ ให้เป็นบุตรของบุคคลที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2554 เพื่อให้ครอบคลุมการแก้ไขทุกกลุ่มและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันตามคุณสมบัติด้านล่าง)

คุณสมบัติ

1. บิดาหรือมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ จะต้องได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติ มีเลขประจำตัว 13 หลัก ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและต้องเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่บุตรยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย

2. ต้องมีหลักฐานการเกิดในราชอาณาจักรไทยและทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ

3. ต้องไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น

4. ต้องพูดและเข้าใจภาษาไทย

5. มีความจงรักภักดีและเลื่อมใสระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

6. มีความประพฤติ ไม่มีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ไม่เคยต้องรับโทษความผิดคดีอาญาเว้นแต่ความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ หรือถ้าเคยรับโทษคดีอาญา ต้องพ้นโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย   คุณสมบัติ

1. บิดาหรือมารดาเป็นบุคคลที่ได้รับการสำรวจจะต้องได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติ มีเลข จัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลระหว่างปีพ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2554

2. ต้องมีหลักฐานการเกิดในราชอาณาจักรไทยและมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ

3. ให้ผู้ยื่นคำขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเอง เพื่อเร่งรัดคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว หากมีคุณสมบัติ ดังนี้

3.1) ต้องไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น

3.2) ต้องพูดและเข้าใจภาษาไทยกลาง หรือภาษาถิ่นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดที่เป็นภูมิลำเนา ของผู้ขอ ยกเว้นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี คนพิการที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ทางการสื่อสาร จิตใจ และทางพฤติกรรม

3.3) มีความจงรักภักดีและเลื่อมใสการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3.4) มีความประพฤติดี ไม่มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ไม่เคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หากเคยได้รับโทษดังกล่าว ต้องพ้นโทษมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง เว้นแต่โทษในคดียาเสพติดฐานเป็นผู้ค้าหรือผู้ผลิตต้องพ้นโทษ มาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ยกเว้นสำหรับเด็กที่มีอายุ ไม่เกิน 18 ปี

การอนุญาต

1. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร

- อายุไม่เกิน 18 ปี ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน เป็นผู้พิจารณาอนุญาต

- อายุเกิน 18 ปี อธิบดีกรมการปกครองเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

2. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขตกรุงเทพมหานคร

- อายุไม่เกิน 18 ปี นายอำเภอ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต

- อายุเกิน 18 ปี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุญาต   การอนุญาต

1. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขต กทม. ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียนเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

2. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. นายอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

3. อธิบดีกรมการปกครอง มีอำนาจดำเนินการทั่วราชอาณาจักร

*เพิ่มเงื่อนไข

หากภายหลังปรากฏว่าผู้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยคุณสมบัติไม่เป็นไปตามลักษณะหรือหลักเกณฑ์ข้างต้น อาจถูกเพิกถอนคำสั่งทางปกครองในการให้สัญชาติไทยดังกล่าว (สามารถถอนสัญชาติไทยของบุคคลดังกล่าวได้โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องพิจารณาที่ 9/2567)

การดำเนินการขอมีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย (ออกใบสำคัญถิ่นที่อยู่)

รวมระยะเวลาการดำเนินการ 270 วัน   การดำเนินการขอมีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย (ออกใบสำคัญถิ่นที่อยู่) รวมระยะเวลาการดำเนินการ 5 วัน

การดำเนินการขอมีสัญชาติไทยของบุตรบุคคลต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้สัญชาติไทย

รวมระยะเวลาการดำเนินการ 180 วัน   การดำเนินการขอมีสัญชาติไทยของบุตรบุคคลต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้สัญชาติไทย

รวมระยะเวลาการดำเนินการ 5 วัน

INFO-การให้สัญชาติ-สถานะ-01.jpg

โดย สมช. แจ้งว่าหากมีการปรับแก้หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรแล้ว จะมีการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาใหม่เพื่อให้เร่งรัดกระบวนการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่ประชุม ครม.เห็นชอบตามที่ สมช. เสนอ และส่งให้กระทรวงมหาดไทยประกาศบังคับใช้ในรายละเอียดไม่น้อยกว่า 30 วันไม่เกิน 60 วัน