ไม่พบผลการค้นหา
สูตรหาร 500 สะดุด! สภาฯ มีมติถอนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ตีกลับไปให้ กมธ. กลับไปพิจารณา หลังพบข้อขัดแย้งในบางมาตราต้องแก้ไข 'เพื่อไทย' แนะไม่ต้องรีบ ประชุมอีกทีสัปดาห์หน้า ก่อนนำกลับมาเสนอที่ประชุมสภาฯ

วันที่ 26 ก.ค. 2565 ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ต่อเนื่องในมาตรา 24 ซึ่งครั้งก่อนหน้านี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับการแก้ไขของกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ในมาตรา 23 ให้เป็นสูตรคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ แบบหารด้วย 500

โดย มหรรณพ เดชวิทักษ์ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการฯ คนที่ 1 มาตรา 23 แก้ไขมาตรา 128 เห็นชอบตามการแก้ไขของ นพ.ระวี มาศฉมาดล เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุม กรรมาธิการฯ ขอเวลาพักการประชุม 30 นาที เพื่อหารือเรื่องกฏหมายมาตราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นผลผูกพันมาจากแก้ไขสูตรคำนวณเป็นแบบหาร 500

ประชุมรัฐสภา -4251-8473-0878827FD701.jpeg

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังพักการประชุมไปเกือบ 1 ชั่วโมง คณะกรรมาธิการเห็นร่วมกัน ว่าจะขอยึดตามร่างรายงานเดิม ที่ได้นำเสนอต่อสภาเพื่อพิจารณา พ.ร.ป.ฉบับนี้แล้ว ส่วนมาตรา 23 ที่มีการแก้ไขผิดไปจากร่างเดิม ขอให้เป็นหน้าที่ของกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ได้ปรับแก้ เป็นผู้นำเสนอต่อที่ประชุมสภา ว่าเห็นด้วยหรือไม่ในการปรับปรุงมาตราต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 23 เพียง 1 หรือ 2 มาตรา 

ทั้งนี้ นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ได้เสนอปรับเพิ่มมาตรา 24/1 ว่าด้วยผลรวมคะแนน และการคำนวณหาจำนวน ส.ส.จากการเลือกตั้ง

แต่ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ประท้วงกระบวนการที่กำลังเกิดขึ้น เนื่องจากคณะกรรมาธิการฯ ได้ใช้เวลาประชุมกันไปแล้ว แต่กลับยังให้กรรมาธิการเสียงข้างน้อยให้ข้อเสนอเพิ่มอีก เหตุใดจึงไม่หารือกันภายในกรรมาธิการฯ จนได้ข้อสรุปตามเสียงข้างมากก่อน ซึ่ง ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ปฏิบัติหน้าที่ประธานการประชุม ได้วินิจฉัยว่า โดยหลักแล้ว กรรมาธิการฯ มีสิทธิเสนอได้ แต่ท้ายสุดก็อยู่ที่มติของที่ประชุม

ประชุมรัฐสภา สภา 8FAD-B6F3868FE4E2.jpegวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประชุมรัฐสภา F787.jpegกรรมาธิการ กฎหมายลูก รัฐสภา 62AF0F7B63AF.jpeg

ด้าน วันมูหะหมัดนอร์ มะทา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ได้ทักท้วงว่า การเสนอแก้ไขใหม่ ขัดต่อกติกาการประชุม เนื่องจากมาตรา 24 ยังไม่เคยมีการแก้ไข หรือแปรญัตติ หรือสงวนความเห็นไว้ก่อน ไม่ควรตีหัวเข้าบ้านเช่นนี้ เหมือนไม่เห็นหัวสมาชิกฯ และอาจจะไปติดขัดข้างหน้าอีก ควรให้กรรมาธิการรับกลับไปพิจารณาก่อนเพื่อความรอบคอบ

มหรรณพ จึงย้ำว่า ที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ ได้ลงมติด้วยเสียง 16 ต่อ 5 เสียง เห็นชอบให้กรรมาธิการฯ เสียงข้างน้อยเป็นผู้นำเสนอ แต่ยังคงมี ส.ส. บางส่วนทักท้วงว่า การวินิจฉัยของประธานฯ ยังมีปัญหา เพราะขัดต่อข้อบังคับ

นิกร จำนง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะกรรมาธิการฯ ระบุว่า ที่ประชุมกรรมาธิการฯ ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน ถ้าจะกลับไปประชุมอีก ก็อาจจะเสียเวลาของสภา จึงเห็นว่าควรเสนอไปก่อน แล้วดำเนินการตามข้อบังคับ 96 ด้าน สมชาย แสวงการ ส.ว. ในฐานะกรรมาธิการฯ ยืนยันว่า กระบวนการนี้ถูกต้องตามหลักแล้ว เนื่องจากรัฐสภาเห็นชอบกับสูตรหาร 500 ตามกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ทำให้เสียงข้างน้อยกลายเป็นเสียงข้างมาก กระบวนการเช่นนี้เคยมีมาก่อนแล้วในการพิจารณากฏหมายประชามติ

ชูศักดิ์ ประชุมรัฐสภา กรรมาธิการ B0E66F863E7C.jpegประชุมรัฐสภา 1-9C56-BCB69457EE6C.jpegระวี พลังธรรมใหม่ บัตรเลือกตั้ง ประชุมรัฐสภา -2011CE589DA5.jpeg

จากนั้น ชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกรรมาธิการ แย้งว่า การปรับแก้มาตรา 24/1 ที่ นพ.ระวี เสนอนั้น เป็นข้อความที่เสนอขึ้นใหม่ แม้แต่กรรมาธิการฯ ก็ยังไม่ทันได้เห็นรายละเอียดเลย เนื่องจากไม่มีเวลา และเนื้อหายังคงมีความขัดแย้งกันได้มาก อาจจะเกิดปัญหา ทางออกที่ดีที่สุดคือถอนเรื่องกลับไปพิจารณาจนได้มติกรรมาธิการก่อน ไม่เช่นนั้นอาจจะถกเถียงกันไปจนไม่จบได้

แต่ สมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายพรรคเสรีรวมไทย ในฐานะกรรมาธิการฯ ชี้ว่า หากเดินหน้าโดยอาศัยร่าง พ.ร.ป.เดิม ท้ายสุดจะได้กฏหมายที่เนื้อหาขัดกันเอง ตนเป็น 1 ใน 5 เสียงของกรรมาธิการฯ ที่ขอเวลาเพิ่มเพื่อดูให้ละเอียดว่าเหลือมาตราใดที่ต้องปรับแก้ และต้องทำให้เร็ว ไม่เช่นนั้นจะเกินกรอบเวลา 180 วัน กฏหมายจะตกไป แต่เหตุใดกรรมาธิการฯ อีก 16 คนที่ยืนยันว่าให้เดินหน้าต่อ กลับมาบอกในที่ประชุมว่าให้ถอนกลับมาพิจารณา อย่างไรก็ตาม ถ้าที่ประชุมรัฐสภาเห็นต่างออกไป ตนก็ยินดีปฏิบัติตาม

ทำให้ ชูศักดิ์ ชี้แจงที่ถูกพาดพิงว่า ตนเป็นฝ่ายงดออกเสียง กรรมาธิการฯ ในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทยทั้งหมดก็งดออกเสียงเช่นเดียวกัน

จากนั้น สมาชิกฯ ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีความเห็นแยกเป็น 2 ทาง ส่วนหนึ่งมองว่า ในเมื่อได้มติของรัฐสภาแล้ว กระบวนการแก้กฏหมายควรดำเนินไปให้ถึงที่สุด คือให้ผ่านในวาระ 3 ไป แล้วจึงส่งให้ กกต. พิจารณาให้ความเห็น ขณะที่อีกฝ่ายมองว่า หากดำเนินการต่อ ความขัดแย้งของกฏหมายจะยิ่งถลำลึก กรรมาธิการควรทำหน้าที่ของตนเองให้สมบูรณ์ คือควรประชุมกันในกรรมาธิการฯ จนมีมติร่วมไม่ใช่มาเสนอแก้ไขต่อรัฐสภาอีก ทั้งที่เลยเวลาแปรญัตติมาแล้ว

พงศ์เทพ 628-28F24E2EC737.jpegวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประชุมรัฐสภา F787.jpegจุลพันธ์ เพื่อไทย ประชุมรัฐสภา ED0-7B5D4EAE11F1.jpeg

'สาธิต' ขอถอนร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส.ให้ กมธ.แก้ไขเนื้อหา

กระทั่ง เวลา 12.20 น. สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมาธิการฯ เสนอญัตติขอถอนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยเลือกตั้ง ส.ส. เพื่อให้กรรมาธิการได้นำกลับไปประชุมหาข้อสรุปเรื่องการแก้ไขเนื้อหา โดยมีเงื่อนไขว่าจะกลับมาพิจารณาในมาตราที่ค้างอยู่ต่อไปในโอกาสต่อไป ประธานการประชุม จึงถามมติที่ประชุมว่าจะอนุญาตให้ถอนหรือไม่

จากนั้นที่ประชุมจึงได้ลงมติ โดยผลปรากฏว่า เห็นด้วย 476 ต่อ 25 เสียงให้ถอนร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวกลับไปแก้ไข งดออกเสียง 20 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 9 เสียง เป็นอันว่า มติที่ประชุมเห็นด้วยให้ถอนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. กลับไปให้กรรมาธิการหาข้อสรุปก่อน แล้วจึงกลับมาเสนอเพื่อพิจารณาในรายมาตราต่อจากที่ค้างอยู่เดิม

จากนั้น สาธิต จึงเสนอให้ที่ประชุมสภาฯ เดินหน้าพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองไปก่อน แล้วช่วงค่ำวันนี้ คณะกรรมาธิการฯ จะนัดประชุมกันเพื่อหารือข้อสรุปอีกครั้ง โดยหากเสร็จทันก็อาจจะนำข้อเสนอที่ได้มาหารือต่อที่ประชุมสภาฯ ในวันพรุ่งนี้เลย

อย่างไรก็ตาม สุขุมพงศ์ โง่นคำ ทีมกฏหมายพรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการฯ แย้งว่า การพิจารณากฎหมายฉบับนี้ควรเป็นไปด้วยความรอบ ไม่ต้องรีบร้อน เห็นว่าควรให้เวลาโดยนัดประชุมกันในวันจันทร์ที่ 1 ส.ค. 2565 แล้วค่อยนำเสนอต่อที่ประชุมสภาฯ ในวันอังคารที่ 2 ส.ค. 2565 ทำให้ ชวน ระบุว่า เห็นด้วย ขึ้นอยู่กับกรรมาธิการ แต่ขอให้พิจารณาอย่างระมัดระวัง แล้วจึงเข้าสู่วาระการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง