นิพนธ์ เที่ยงธรรม นักเขียนเจ้าของนามปากกา จุฬามณี ,เฟื่องนคร และ ชอนตะวัน ที่ถนัดงานเขียนแนวพีเรียดผ้าถุง ที่หลายคนรู้จักในผลงาน นิยาย ชิงชัง ,สุดแค้นแสนรัก และอีกหลายเรื่อง ได้ให้สัมภาษณ์ กับ ทีมข่าววอยซ์ออนไลน์ ถึงที่มานิยาย ‘กรงกรรม’ ที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครสุดแซ่บ ตอนนี้
ตอนสุดแค้นแสนรัก ดังๆ มีคนนครสวรรค์ เพื่อนพี่สาว มีเรื่องเล่าครอบครัวหนึ่ง แม่ผัวลูกสะใภ้ แซ่บมาก โทรมาเล่าให้ฟัง เลยให้พี่เล่าผ่านบันทึกส่งมาให้ พอได้อ่านเรื่องที่พี่เขียนส่งมา 16-17 หน้า เรื่องแรงมาก แต่สะดุด คำว่า ‘กรรม’ กรรมของกรรมแท้ๆ ของครอบครัวคนจีนครอบครัวหนึ่ง ที่มีความโลภ อยากได้ อยากมีอยากเป็น จนไม่สนใจใครว่าจะเดือดร้อน ในบันทึกนั้น ครอบครัวนี้มาแต่ลูกชาย แต่เรื่องราวแซ่บมาก สะใภ้แต่ละคนที่เข้ามา ยิ่งกว่า เรณู จึงนำมาดัดแปลง และนำมาอ้างอิง ในนวนิยาย กรงกรรม โดยสมมติให้เรื่องราวเกิด ใน อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ช่วงปี พ.ศ.2510 ที่เลือก อ.ชุมแสง เพราะเป็นอำเภอที่เราเดินทางผ่านไปมา ซึ่ง อ.ชุมแสง อำเภอนี้ เหมือนเป็นจุดทางผ่าน เลยเลือก อ.ชุมแสง ในนิยายชุดนี้
จากนั้นเริ่มหาข้อมูล วัฒนธรรมต่างๆจากนิยายชั้นครู ทั้ง อยู่กับก๋ง ลอดลายมังกร ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด เพื่อสร้างคุณค่าให้กับนิยาย เพราะ ไม่อยากให้คนคิดว่า ถ้าเป็นจุฬามณี ต้องแซ่บ เราไม่รู้สึกอยากได้คำนั้นอย่างเดียว เรารู้สึกว่าต้องอ่าน มันมีมากกว่าคำว่า แซ่บ!
ส่วนที่มาผูกเรื่องกับ ‘สุดแค้นแสนรัก’ เพราะมีอยู่วันหนึ่งไปเปิด YOUTUBE สุดแค้นแสนรัก ไปเจอ ตอนไหนไม่รู้ เห็นหน้าพี่อัมพร ไปตามยัยย้อย ไปหาลูกที่บ้านยัยย้อยพอดีครับ เออ...แล้วมันก็ปิ๊งขึ้นมาว่า แล้วยัยย้อย มาจากหนองนมวัวได้ยังไง ประมาณอย่างนั้นหล่ะครับ นั่นคือที่มา เรารู้สึกว่า เราก็ดีดนิ้วเปาะ มาแล้วตังค์กู (หัวเราะ) เอาป้าแย้มมาส่ง เพราะบารมีของป้าแย้ม จะทำให้ฉันสามารถเรียกตังค์ได้ เลยผูกเรื่อง ป้าย้อย และ ป้าแย้ม ขึ้นมาใหม่
ผมเป็นคนชอบดูซีรี่ส์จีน มรสุมชีวิตลิขิตพระจันทร์ อย่างนั้นนะครับ ตอนนั้นคือเราเป็นคนชอบอะไรที่แบบว่า เขาเล่าเรื่องได้ยังไง คือเรานั่งดูอยู่ เรารู้สึกว่า ลูกเขา 4-5 คน ที่หมี่เซี่ยะเล่น ที่ไปแย่งแฟนที่เกี่ยวกับร้านขนมไหว้พระจันทร์ คือตัวละครลูกเขา 5 คน เขาสามารถทำให้รักลูกเขาทั้ง 5 คน แล้วตามได้ ฉันจะต้องทำอย่างนี้ให้ได้ มันท้าทาย คือทุกคนเด่น ถ้าเกิดกล้องแพนไปหาใคร ก็อาใช้ก็ได้ อันนี้ก็ได้ อาตง อาซา อะไรแบบนี้ คือคนรู้สึก คนรู้จักทั้ง 4 คนหมด ไม่ได้มีใครเป็นพระเอก ไม่ได้มีใครเป็นนางเอก ที่ต้องตามออกมาทุกฉาก ต้องรอดู แต่คนนี้ไม่ใช่ เรารู้สึกว่าละครไทยต้องพัฒนาบ้างไหม อย่างนั้นครับ ไม่จำเป็นต้องมีพระนางยืนโรงไหม ประมาณอย่างนั้น โดยเรื่องนี้ เขียนเพื่อต่อยอดมาทำละคร เพราะงานเขียนแนวดราม่า ปัจจุบันไม่ได้เป็นที่นิยม การเขียนเรื่องนี้จึงเขียนเพื่อทำละคร แต่ก็ไม่ได้ทิ้ง งานวรรณศิลป์ โดยผ่านกระบวนการคิดจะทำยังไงให้คนอ่านรู้สึกว่า งานของเรามีฝีมือ
มาจากเฟซบุ๊กผู้หญิงคนหนึ่ง ชื่อ เรณู แล้วเธอโพสต์ภาพ นั่งถ่างขา วางขวดเบียร์ไว้ตรงกลาง โพสต์ข้อความประมาณจะแย่งผัวเขา แบบโนสนโนแคร์ รู้สึกเขาแรงได้ใจ (หัวเราะ) แล้วตอนหลังมีคนระดมทุนให้เมียหลวงไปศัลยกรรม ก็เลยเป็นที่มาของนางเอกชื่อ เรณู และเราเปิดฉากตัวละคร เรณู มา แบบโนสนโนแคร์โลก แล้วถ้ายัยย้อยเปิดมาเจอลูกสะใภ้คนโตเป็นกะหรี่ จะเป็นยังไง เราพยายามหาพื้นฐานตัวละคร ใน จ.นครสวรรค์ ช่วงปี พ.ศ.2510 เรานึกถึง นวนิยาย ‘ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด’ ตัวละคร สุนีย์ เราเห็นความแซ่บของตัวละครนี้ เลยลองปรับตัวละครนี้ ให้เป็นนางเอก ดูสิ มันไม่มีใครยืดอกและภูมิใจว่าฉันเป็นอย่างนี้หรอก เธอมีสิทธิ์กลับใจ
"เรามองว่าใจคนมันเปลี่ยนได้ ถ้าได้ฟังเหตุผลของเขา ในทุกคนมีเมตตา เราคิดว่าคนไม่มีใคร อยากเห็นใครหายนะ จนกระทั่งแบบกระทืบซ้ำหรอก"
เรื่องนี้สดมาก เขียนไป 5 ตอน โพสต์ลงเฟซบุ๊กเลย เพราะอยากสร้างให้แฟนๆลองอ่าน ลองตามว่าจะสนใจไหม คนอ่านบอก แซ่บ พริก 10 เม็ด แต่เรารู้สึกว่า เราไม่ใช่คนที่ฟังความใครข้างเดียว เพราะในบันทึก ก็เป็นเรื่องจากความคิดของคนฝั่งเดียว เรารู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรมกับคนที่เป็นเจ้าของเรื่อง กับการถูกมอง เพราะคนที่ถูกมองเขาไม่มีสิทธิแก้ต่าง เราจะให้เหตุและผล ให้คนรู้จัก ตัวละคร คิดแบบนั้นได้ยังไง เราก็เล่นกับอารมณ์คนอ่าน คือ คิดว่าผู้หญิงที่มาจากซ่อง ผู้หญิงที่ทาปากแดงต้องเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น แต่เราลอง ลองให้ผู้หญิงที่มาจากซ่องกลายเป็น ผู้หญิงที่รักความสะอาดสุดฤทธิ์ บ้านช่องเรียบร้อย คือ คนอ่านเปลี่ยนนะ คนอ่านแบบ มึงตบหัวกูอะ อะไรอย่างนี้ คือตอนแรก ทำให้รู้สึก อีเรณูแรง เรณูต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนั้น ไอ้กำเนิดของนาง ก็คือว่า ผิดขนบของนางเอกแล้ว ทีนี้คนเริ่มรักเรณู เกลียดยัยย้อย ตอนนั้นฟีดแบคกลับ คนเริ่มรักเรณู เกลียดยัยย้อย เกลียดไปเกลียดไป จะทำให้คนอ่านสงสารยัยย้อยให้ได้
เรามองว่าใจคนมันเปลี่ยนได้ ถ้าได้ฟังเหตุผลของเขา ในทุกคนมีเมตตา เราคิดว่าคนไม่มีใคร อยากเห็นใครหายนะ จนกระทั่งแบบกระทืบซ้ำหรอก อะไรประมาณอย่างนี้ครับ เราลองดูกับมัน ลองเล่นกับอารมณ์ของคนอ่านเลย ยัยย้อยนี่ก็เหมือนกัน ทำไปทำมา สุดท้ายพอเขียนไปให้ลูกแกตาย เรื่องพลิกแล้ว โอย...สงสาร
ตัวละครในเรื่อง จะเป็นคน ที่พบหาได้ในคนทั่วไป คนมันมีโอกาสที่จะกลับตัวได้ เราให้โอกาสคน เราคิดว่าคนที่มันพลาดไปแล้ว มันไม่ได้แปลว่า จะต้องตายตอนจบ
"กรงตัวนี้ แปลว่า บ้าน กรงตัวนี้ เปรียบเหมือนบ้านหลังหนึ่ง คือ ป้าย้อยเป็นเซ็นเตอร์ แล้วก็ดึงสิ่งเหล่านั้นเข้ามา จากบันทึกเรามองว่า เป็นเพราะตัวแกเองนั่นแหละ ทำให้ลูกสะใภ้แต่ละคนเข้ามาถึงได้แสบขนาดนั้น"
ชั้นเชิงในการที่จะบอก ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มันตรงเกินไป อะไรประมาณแบบนั้น มันต้องรู้สึกว่า เออ กรรมของกรรม เพราะว่าตอนที่เราอ่านบันทึก มันมีอยู่คำเดียวที่เข้ามาหาเรา กรรมของกรรม กรรมแท้ๆ ประมาณอย่างนั้น มันถึงได้ดึงคนอย่างนี้เข้ามา
มีคนอ่านบอกว่า อ่านแล้วไม่อยากทำบาปเลยพี่ ตอนจบแล้ว คือสั้นๆแค่นั้น เขาจบมาแค่นั้น นี่คือเป้าประสงค์ของเราไงครับ หนูกลัวบาป !