ไม่พบผลการค้นหา
ชาวกูยหรือส่วยเป็นชาติพันธุ์หนึ่งในลุ่มแม่น้ำโขงบริเวณแนวเขาพนมดงรักจนถึงบริเวณลาวตอนกลางและลาวใต้ วิถีชีวิตที่ผูกพันกับช้าง ถูกสืบทอดมายังปัจจุบัน และแสดงออกผ่านพิธีที่เชื่อมโยงกับพุทธศาสนา ด้วยพิธีบวชบนหลังช้าง

พิธีบวชที่ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของชาวกูยใน จ.สุรินทร์ ปีนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่วัดป่าอาเจียง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์  โดยมีพิธีโกนผมนาค  พิธีบวชนาค 86 รูปหลังช้าง ณ ศาลาเอราวัณ  ขบวนช้างกว่า 100 เชือก แห่นาคบนหลังช้างตามแบบประเพณีโบราณ พิธีบรรพชาและอุปสมบถพิธีเซ่นพระครูประกำ  เซ่นไหว้และขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์

S__40108046.jpg

การจัดขบวนแห่นาคช้างในครั้งนี้ยังมีขบวนกลองยาวและดนตรีต่างๆบรรเลงอย่างสนุกสนาน ได้รับความสนใจจากประชาชนชาวตำบลกระโพ และนักท่องเที่ยวเข้าร่วมชมขบวนแห่กันเป็นจำนวนมากสำหรับงานประเพณีบวชนาคช้าง ไม่ว่าชาวกวยหมู่บ้านช้างแห่งนี้จะอยู่แห่งหนตำบลใดของประเทศ ก็จะเดินทางกลับบ้านเพื่อมาร่วมงานประเพณีของตนอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

S__26419225.jpg

งานประเพณีบวชนาคช้าง เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวกูยตั้งแต่อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บ้านตากลาง ประมาณเกือบ 200 ปีมาแล้ว ตามคตินิยมที่นับถือผีประกอบกับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับช้างอย่างแนบแน่นเมื่อ คนรุ่นหลังได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเหมือนชาวพุทธทั่วไปในดินแดนแถบนี้ จึงรวมความเชื่อและศรัทธาปฏิบัติเข้าด้วยกันอย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มชน ของตนเองด้วย การบวชนาคช้าง นั่นหมายถึงว่าในการที่ชาวกวยจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เช่น พุทธศาสนิกชน ต้องมีขบวนแห่แหนนาคทุกองค์ด้วยการขี่ช้าง บางที่เรียกว่า ขี่ช้างแห่นาค แต่ชาวบ้านที่บ้านตากลางเรียกว่า งานบวชนาคช้าง เป็นงานประเพณีที่ภาคภูมิใจของชาวบ้านบ้านตากลางว่าเป็นงานประเพณีที่ยิ่ง ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ เพราะมีขบวนช้างร่วมแห่นาคหลายสิบเชือกไปจนถึงนับร้อยเชือกในแต่ละครั้ง มีขบวนแห่ยาวไกลไม่น้อยกว่า1 กิโลเมตร