เปิดต้นปี 2565 สัปดาห์เดียวเกิดเหตุรุนแรงที่สามจังหวัดชายแดนใต้ติดต่อกันสองครั้ง วันที่ 3 ม.ค. ด่านทหารพราน 4513 อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ถูกยิงถล่ม ทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 2 คน ต่อมาวันที่ 7 ม.ค. รถบรรทุกทหารพราน 4304 ถูกลอบวางระเบิด ขณะแล่นไปบนถนนสาย 418
‘วอยซ์’ สัมภาษณ์ ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ถึงประเด็นที่ดังกล่าว
19 ปี เหตุปล้นปืน - ‘โควิด’ พาสันติสุขชะงัก ?
ผศ.ดร.ศรีสมภพ ระบุว่า เหตุการณ์ปล้นปืน 4 ม.ค. 2547 ครบรอบ 19 ปี อาจจะมีความเกี่ยวข้องอยู่ อย่างน้อยจากสถิติไม่ตำ่กว่า 5 ปีที่ผ่านมา ช่วงต้นปีในเดือนม.ค. เหตุการณ์แบบนี้จากสถิติเก่าไม่มี แสดงว่าครั้งนี้เป็นปีแรกที่ฝ่ายก่อควาามไม่สงบเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ต้นปี
สิ่งที่ ผศ.ดร.ศรีสมภพ ตั้งข้อสังเกตคือทางคณะพุดคุยสันติสุขและกลุ่มขบวนการติดอาวุธ BRN มีการนัดหมายพูดคุยกันภายในเดือนม.ค. 2565 นี้ ตามที่ได้รับเบื้องต้น ประมาณวันที่ 10-11 ม.ค. นี้
“หลังจากที่ไม่มีการพุดคุยสันติสุขมา 2 ปี ล่าสุดมีการพบปะกันทั้งสองฝ่ายในช่วงต้นปี 2563 แต่ว่าต้องหยุดเพราะสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้กระบวนการพุดคุยต้องหยุดชะงัก ระหว่างนั้นมาก็ไม่มีการพบปะกันอีกเลย” ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว
ผอ.Deep South Watch กล่าวว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป สถิติความรุนแรงปี 2563 มีการลดลง สถานการณ์โควิดเองเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เหตุรุนแรงลดลง อีกทั้งฝ่าย BRN ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2563 ให้ยุติปฎิบัติการในช่วงสถานการณ์การระบาดโควิด-19 เพื่อเปิดทางให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติงานด้วย
“แต่ถือว่าเป็นการประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียว ฝ่ายไทยในพื้นที่ก็ไม่ได้ตอบรับในแง่ของการยุติปฎิบัติการต่างๆ แต่อย่างใด เพียงแต่บอกแค่ว่า เหตุการณ์ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ ยังจำเป็นที่ต้องปฎิบัติและบังคับใช้ตามกฏหมายต่อไป ยังมีการปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม ดำเนินงานตามมาตราการทางทหารอยู่ ระหว่างนั้นยังมีการปิดล้อม วิสามัญฆาตกรรมไป 10 กว่าราย ตรงนี้เลยกลายเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์ด้วย” ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว
นับตั้งแต่เริ่มมีการพุดคุยอย่างเป็นทางกันของทหารไทยกับบีอาร์เอ็น เมื่อปี 2556 ในช่วงของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผศ.ดร.ศรีสมภพ ระบุว่า หลังจากนั้นเหตุการณ์ก็เริ่มลดลงทุกปี จากเดิมพันกว่าเหตุการณ์ ลดลงเหลือประมาณ 3-4 ร้อยกว่าเหตุการณ์ แต่พอมาปี 2564 สถิติกลับพุ่งขึ้น ทั้งปีประมาณ 4 ร้อยกว่าเหตุการณ์ เป็นตัวบ่งชี้ว่าทั้งสองฝ่ายต้องทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพราะในแนวทางการสร้างสันติภาพในพื้นที่
“วิธีการพุดคุยในพื้นที่ขณะนั้น จะช่วยให้เข้าใจว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ฝ่ายไหนทำ ทำเพราะอะไร สิ่งเหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ถ้าไม่มีการพุดคุย จะทำให้การสื่อสารด้วยอาวุธจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การพุดคุยเป็นกลไกสำคัญในการประนีประนอมเพื่อไม่ให้เกิดการใช้ความรุนแรง เพราะผลกระทบและความสูญเสียจะตกอยู่กับประชาชน” ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว
การก่อเหตุของฝ่ายก่อความไม่สงบ จากการเก็บข้อมูลของ Deep South Watch บ่งชี้ว่าพุ่งเป้าไปที่เจ้าหน้าที่รัฐ
ผศ.ดร.ศรีสมภพ ระบุว่า ในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา สถิติกลุ่มเป้าหมายของการก่อเหตุที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 40 % เป็นเป้าหมายที่พกอาวุธ (hard target) คือเจ้าหน้าที่ทหารทั่วไป ส่วนที่สอง 60 % เป็นเป้าหมายที่ไม่พกอาวุธ soft target คือพลเรือนทั่วไปที่ไม่ใช้อาวุธรวมถึงเจ้านี้รัฐที่ไม่ได้พกอาวุธด้วย
“จะเห็นได้ว่าเป้าหมายที่เป็นพลเรือนจะมีมากว่า มีข้อเกตุที่ว่าปี 2563 เป้าหมายจะเป็นsoft target อยู่ที่ 65 % ส่วนเป้าหมาย hard target อยู่ที่ 35 % พอมา 2564 จากที่ได้ประเมินมาทั้งปีแล้ว ปรากฏว่ามีการลดลงของ soft target ลดลงอยู่ 52 % และเป้าหมาย hard taget อยู่ที่ประมาณ 45 % นอกนั้นไม่มีความชัดเจนอีก 3 % สัดส่วนเกือบครึ่งชี้ให้เห็นว่ามีความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย”
“เป้าหมายที่เปลี่ยนไปอาจเป็นเพราะมาจากกระบวนการการพูดคุย เพื่อให้เลี่ยงก่อเหตุกับกลุ่มเป้าหมายที่อ่อนแอ พลเรือน ผู้หญิง เด็ก ในพื้นที่ที่พลเรือนอาศัย ตลาด พื้นที่สาธารณะ คล้ายกันกับกรณีนี้ก็คือในช่วงปี 56-57 ปีที่เริ่มมีการพุดคุยเจรจาสันติภาพ เป็นปีแรกที่ความรุนแรงเกิดขึ้นกับ soft taget ลดลง มีในนัยยะสำคัญจากการพุดคุยสันติภาพ เป้าหมายของการก่อเหตุก็มีการเปลี่ยนไป” ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว
ผอ.Deep South Watch บอกว่าสิ่งที่หน้ากังวลคือฝ่ายทหารทั้งสองฝ่าย จะยอมรับเงื่อนไขหรือว่าทำตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ แม้ว่าคณะพูดคุยฝ่ายไทยที่นำโดย พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ มีความตั้งใจอยากให้เกิดสันติภาพขึ้น แต่ไม่รู้ว่าในระดับล่าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ฝ่ายที่ถืออาวุธจะยอมทำตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นได้หรือไม่
“ถ้าเป็นไปไม่ได้ ก็จะเป็นปัญหาที่ฝ่ายกองกำลังติดอาวุธที่อยู่ในพื้นที่จะยอมรับเงื่อนไขลดความรุนแรงด้วย ถ้าข้อตกลงสมเหตุสมผลและมีการพุดคุยกันภายในให้ครบกันทุกๆ ฝ่ายให้ละเอียดกันจริง เชื่อว่าน่าจะเกิดทิศทางที่ดี”
“ทางรัฐไทยเองต้องเปิดพื้นที่ในทางการเมืองให้กับฝ่ายขบวนการที่จะทำงานหรือพุดคุยประสานกับคนในพื้นที่ ทั้งประชาสังคม กลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ เยาวชน นักศึกษา ทุกระดับ พยายามเปิดพื้นที่ให้พวกเขาได้พุดคุยแลกเปลี่ยนกันได้มากที่สุด เพราะที่ผ่านมารัฐเองเป็นฝ่ายได้เปรียบตลอด” ผศ.ดร.ศรีสมภพ ทิ้งท้าย