ผศ.ดร.สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นอร์ทกรุงเทพโพล” มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เปิดเผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน วันที่ 8 กันยายน 2567 มีผู้ตอบแบบสำรวจ 822 ราย จากผู้เข้าร่วมโครงการมหกรรมแก้หนี้ ณ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต โดยสอบถามเรื่อง “ปัญหาหนี้สิน และมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สิน” ผลการสำรวจ พบว่า
ประเภทของหนี้ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นหนี้รถยนต์ ร้อยละ 31.6 หนี้บัตรเครดิต ร้อยละ 25.8 หนี้บ้าน ร้อยละ 24.2 หนี้ผ่อนชำระสินค้า ร้อยละ 18.1 หนี้บัตรกดเงินสด ร้อยละ 16.7 หนี้รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 9.2 หนี้กยศ.ร้อยละ 9.0 หนี้นอกระบบ ร้อยละ 7.5 หนี้สหกรณ์ ร้อยละ 1.7 และหนี้อื่นๆ ร้อยละ 0.2
หลักประกันสินเชื่อ หรือสินทรัพย์เช่าซื้อ พบว่า ใช้เงินสดเป็นหลักประกัน ร้อยละ 31.1 ใช้รถยนต์เป็นหลักประกัน ร้อยละ 28.1 ใช้บ้านพักอาศัยเป็นกลักประกัน ร้อยละ 22.5 ใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน ร้ยอละ 13.7 ใช้สลากออมทรัพย์ ร้อยละ 5.1 ใช้อาคารเป็นหลักประกัน ร้อยละ 3 ใช้บุคคลเป็นหลักประกัน ร้อยละ 1 ใช้หลักทรัพย์ อื่น ๆ เช่นเครื่องประดับ อัญมณี อุปกรณ์เครื่องใช้ ร้อยละ 18.6 และไม่มีหลัประกัน ร้อยละ 7.1
ประเภทของเจ้าหนี้ พบว่ากู้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐ เช่น กยศ. กรอ. ธนาคารออมสิน ฯลฯ ร้อยละ 61.2 เจ้าหนี้สถาบันการเงินเอกชน ร้อยละ 38.4 เจ้าหนี้ผู้ให้ยืมเงิน เช่น ญาติ เพื่อน ร้อยละ 13.7 และ เจ้าหนี้นอกระบบร้อยละ 6.8
ยอดหนี้คงเหลือ พบว่ายอดหนี้คงเหลือต่ำกว่า 500,000 บาท ร้อยละ 55.9 ยอดหนี้คงเหลือ 500,000 - 1,000,000 บาท ร้อยละ 16.4 ยอดหนี้คงเหลือ 1,000,001 - 1,500,000 บาท ร้อยละ 9.2 ยอดหนี้คงเหลือ 1,500,001 - 2,000,000 บาท ร้อยละ 6.3 ยอดหนี้คงเหลือ 2,000,001 - 2,500,000 บาท ร้อยละ 5.3 ยอดหนี้คงเหลือมากกว่า 3,000,000 บาท ขึ้นไป ร้อยละ 4.6 และยอดหนี้คงเหลือ 2,500,001 - 3,000,000 บาท ร้อยละ 2.4
อัตราดอกเบี้ย(ต่อปี) พบว่า มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ต่ำกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5 คิดเป็นร้อยละ 51.5 อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 6 – 10 คิดเป็น ร้อยละ 26.7 อัตราดอกเบี้ย คิดเป็นร้อยละ 11 – 15 ร้อยละ 7.0 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 16 -20 คิดเป็น ร้อยละ 6.5 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 21 – 25 คิดเป็น ร้อยละ 6.3 และอัตราดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 25 ขึ้นไป ร้อยละ 2.0
จำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน พบว่า ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 57.8 จำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน 10,000 – 20,000 บาท ร้อยละ 31.9 จำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.9 จำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน 30,0001 – 40,000 บาท ร้อยละ 2.7 จำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 1.7 และจำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน 40,001 - 50,000 บาท ร้อยละ 1.0
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท ร้อยละ 52.8 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,000 - 30,000 บาท ร้อยละ 30.6 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 - 40,000 บาท ร้อยละ 8.3 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 - 50,000 บาท ร้อยละ 3.7 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 60,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 3.2 และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001 - 60,000 บาท ร้อยละ 1.5
ความสม่ำเสมอในการชำระหนี้ พบว่า ชำระเป็นปกติ ร้อยละ 65.0 ชำระหนี้ชำระต่อเนื่องแต่มีความล่าช้าในการผ่อนชำระ ร้อยละ 16.1 ค้างชำระ 1- 3 งวด ร้อยละ 9.8 ค้างชำระตั้งแต่ 10 งวดขึ้นไป ร้อยละ 7.6 ค้างชำระ 7 – 9 งวด ร้ อยละ 0.7 และค้างชำระ 4 – 6 งวดร้อยละ 0.7
มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ท่านคิดว่ามีประโยชน์มากที่สุด พบว่า มาตรการแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต ร้อยละ 42.5 การปรับโครงสร้างหนี้ที่อยู่อาศัยร้อยละ 41.8 มาตรการแก้ปัญหาหนี้รถยนต์ ร้อยละ 37.2 มาตรการแก้ปัญหาหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษาร้อยละ 35.2 มาตรการแก้ปัญหาหนี้สินรายย่อย ร้อยละ 20 มาตรการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ร้อยละ 16.4 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 11 (บสย.) ร้อยละ 6.4 และมาตรการแก้ปัญหาหนี้สินอื่นๆ ร้อยละ 2.8
การจัดมหกรรมแก้หนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาหนี้สินได้ พบว่ามีความคิดเห็นว่าสามารถช่วยได้ 48.9 เห็นว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 42.4 และเห็นว่าช่วยไม่ได้เลย ร้อยละ 8.7