เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2563 ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจาณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.... ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ ในวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ โดยที่ประชุมรัฐสภาเห็นด้วยให้รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วยมติ 561 ต่อ 2 เสียง โดยมีงดออกเสียง 50 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว 49 คน
ทั้งนี้ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่าร่างกฎหมายฉบับนี้เมื่ออ่านแล้วตนเองรับหลักการไม่ได้ ที่รับไม่ได้ เพราะกระบวนการในการเสนอกฎหมาย เพราะคณะรัฐมนตรีอาศัยช่องทางของมาตรา 270 วรรคสองและสามบอกว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ จึงเสนอมาทางประธานรัฐสภา เพื่อบรรจุเข้าพิจารณา ทั้งนี้ ที่บอกกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายปฏิรูป หากไปดูรัฐธรรมนูญ มาตรา 166 ประโยคสุดท้ายเขียนไว้ว่าการจัดทำประชามติ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ แต่รัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 ให้ความสำคัญถึงกับเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ฉบับนี้ไม่ได้ให้ความสนใจกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
นพ.ชลน่าน ระบุว่า ตนไม่รับหลักการ เพราะกฎหมายฉบับนี้ ไม่แน่ใจว่าที่เขียนบทบัญญัติจำกัดสิทธิเอาไว้เพื่อไปจำกัดสิทธิประชาชนในการแสดงออกความคิดเห็น ในการออกเสียงโดยอิสระเสรี
ขณะที่ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงต่อที่ประชุมรัฐสภาว่าหากเนื้อหาไม่เป็นที่พอใจ เป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น และต้องให้เครดิต กกต. เพราะ กกต.เสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวนี้มาตั้งแต่ปี 2562 ก่อนมีการเลือกตั้ง ส.ส.ปีที่ผ่านมาด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากเป็นปลายสมัยของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รัฐบาลขณะนั้นเห็นว่า ความจำเป็นเร่งด่วนที่จะให้มีการออกเสียงประชามติคงยังไม่เกิดขึ้น หากรอไว้ก่อนจะทำให้ ส.ส.เข้ามาใหม่มีโอกาสแสดงความคิดเห้นและปรับปรุงร่างให้สมบูรณ์ขึ้น รัฐบาลจึงตัดสินใจไม่นำเสนอร่างนั้นต่อ สนช. แต่เก็บไว้จนการเลือกตั้งแล้วเสร็จก่อนส่งคืนไปยัง กกต.ให้พิจารณาปรับปรุงกลับมาใหม่แะล ครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 8 ก.ย.เสนอมายังรัฐสภา ยืนยันไม่ได้มีความรีบร้อนเร่งด่วนหรือชิงตัดหน้าใคร การพิจารณาได้เร็วจะเป็นปัจจัยสำคญที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนำไปรับฟังความเห็นเพื่ออกเสียงปะรชามติ จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับ หากออกเป็น พ.ร.ก.ก็จะไม่สวยงามถูกครหา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง