การอภิปรายไม่ไว้วางใจรอบนี้ มีส.ส.หลายคนจากหลายพรรคที่ทำการบ้านและนำเสนอข้อมูลแบบเป็นกอบเป็นกำ จึงบันทึกไว้แม้ทุกคนจะเดาผลการโหวตได้
# จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย # อภิปราย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- หัวหน้าคสช.ใช้กฎหมายพิเศษ ม.44 จนโดนเอกชนฟ้อง
- กระทรวงอุตสาหกรรมประเมินว่ายากที่ชนะคดี
- บริษัทที่ปรึกษากฎหมายฝ่ายไทย APKS ประเมินไทยต้องจ่ายค่าเสียหาย
- ความเสียหายอย่างต่ำ 25,350 ล้าน + เอกชนไม่เชื่อมั่นมาลงทุน
- ศาลรัฐธรรมนูญชี้ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้นใช้ภาษีจ่ายไม่ได้ ต้องจ่ายเอง
- แลกทรัพยากรเท่าไรกับการถอนฟ้อง
> หลังโดนฟ้อง มีการเจรจาคิงส์เกตและต่อมารัฐอนุมัติอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ 44 แปลงเนื้อที่ 397,226 ไร่ ใช้เวลาพิจารณาเพียง 3 เดือนเศษ
>2.คิงส์เกตระบุยังมีใบอนุญาตทำเหมืองแร่และอาชญษบัตรพิเศษสำรวจใน ชลบุรี ระยอง สระบุรี ที่เคยขอไว้อีก 579,551 ไร่ รอการอนุมัติ
รัฐบาลตอบ
- รัฐต้องการปกป้องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม
- ม.44 ไม่ได้เจาะจงเฉพาะเหมืองอัคครา แต่ใช้กับทุกเหมือง จะเปิดสัมปทานต่อได้ต้องแก้ปัญหาต่างๆ
- ใช้งบประมาณและต่อสู้ตามขั้นตอนกฎหมาย
- เรื่องยังอยู่ในอนุญาโตตุลาการ เอามาโจมตีเป็นเรื่องอันตราย
- หากไทยจะแพ้ 100% คิงส์เกตคงไม่ยอมเจรจา
อ่านที่ https://www.voicetv.co.th/read/ypy-lpse9?fbclid=IwAR1iIUDwNXK7wdS64qxc0yyjzVF5qNtleg3Jscdg0Zj7WmcM_Xr_q3k7-4c
# อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล # อภิปราย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- ส่งเรื่องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีนักการเมือง และยื่นต่อ ป.ป.ช.แล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์ปกปิดข้อมูลเพื่อหนีการตรวจสอบ
- พล.อ.ประยุทธ์ แจ้งกับ ป.ป.ช.ว่าอยู่บ้านพักย่านสามเสน แต่แจ้งกับศาลรัฐธรรมนูญว่า อยู่ในกรมทหารราบที่ 1
- ไม่สามารถตรวจสอบค่าน้ำค่าไฟของ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ ทั้งที่ขอ กฟน.แล้วถึง 2 ครั้ง
- วาสนา นาน่วม เขียนในหนังสือว่า บ้านพักในกรมทหารของ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นคนละบ้านเลขที่ที่แจ้งต่อศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นเซฟเฮาส์ขนาดใหญ่ มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ และลานจอดรถใต้ดิน เอ็ม79 ไม่สามารถยิงถึง
- คาดว่ากองทัพออกค่าไฟให้เกิน 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งผิดกฎหมาย ปปช. และไม่ได้นำประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับจากกองทัพซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินมายื่นภาษี
- พล.อ.ประยุทธ์รับเงินซ้ำซ้อน 4 ตำแหน่งคือ เงินบำนาญ 80,000 บาท เงินเดือน คสช. 120,000 บาท นายกรัฐมนตรี 120,000 บาท เบี้ยประชุมต่างๆ เดือนละ 400,000 บาท
รัฐบาลตอบ
- ไม่ขอลงรายละเอียด ขณะนี้อยู่ในการพิจารณาของ ป.ป.ช.หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ อยู่แล้ว
- กรณีอยู่บ้านหลวง ศาลได้พิจารณาและให้ความเห็นแล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์ทำได้เนื่องจากเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติ
อ่านที่ https://www.voicetv.co.th/read/C3J34FbIP?fbclid=IwAR3vc9WC1yx0Fh4mWmmLAEJaAhDYV2v4-g55HSY0MuP1dz0fXN1-30oxlXc
# ไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย #
- กู้เงินมากที่สุด แต่ประสิทธิภาพต่ำ หนี้สาธารณะสูงเกินกรอบวินัยการคลัง
- SMEs ปิดตัวจำนวนมาก คนตกงานจำนวนมาก
- ต่างประเทศได้ออกบทวิเคราะห์ตัวเลขทางเศรษฐกิจ ดังนี้
> ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) สำรวจ GDP อาเซียนสิ้นปีงบประมาณ 2563 ระบุ อินโดนีเซีย -1% ฟิลิปปินส์ -7.3% ไทยสาหัสสุด -8%.
> กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุ เศรษฐกิจอาเซียนจะเติบโตที่ 5% แต่ไทยจะเติบโต 2.7% ต่ำสุดในอาเซียน
> ธนาคารโลก (World Bank) ระบุ GDP ไทยปี 2564 ถดถอยหนักที่สุด - 8.3% ต้องใช้เวลากว่า 3 ปีฟื้นฟู
> Nikkei Asia Review ระบุ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ บริหารต่อ ไทยจะอยู่ในสภาวะถดถอยไปอีก 10 ปี
- งบประมาณขาดดุลสูงกว่ารัฐบาลอื่น ปีงบประมาณ 2563 ขาดดุลกว่า 6 แสนล้าน
- เศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศไม่ใช่ประชาธิปไตย
- 2557 - ปัจจุบัน รัฐบาลใช้เงินภาษีเฉลี่ยปีละ 3 ล้านล้าน รวม 21 ล้านล้าน เมื่อรวมกับเงินกู้จาก พ.ร.ก.กู้เงินอีก 1 ล้านล้านบาท ผลสัมฤทธิ์ตรงกันข้าม
- การจัดเก็บรายได้รัฐ ต่ำกว่าประมาณการณ์เกือบทุกปีตั้งหลายหมื่นล้านจนถึงกว่า 3 แสนล้าน
- หลังจบปีงบประมาณ 2563 กระทรวงการคลังยอมรับว่ากู้เงินชดเชยการขาดดุลงบทะลุ 784,115 ล้าน พล.อ.ประยุทธ์ระบุขอกู้เพียง 469,000 ล้าน ส่วนที่เหลือ 214,093 ล้านที่เกิน ใช้โดยสภาผู้แทนราษฎรไม่รับรู้
- เพราะใช้ให้สภานิติบัญญัติ (สนช.) แก้ไขกฎหมายวิธีงบประมาณเมื่อปี 2561 ให้อำนาจตัวเองว่า ถ้ามีรายจ่ายสูงกว่ารายได้สามารถกู้เงินได้
- ในทางปฏิบัติ หนี้สาธารณะต้องไม่เกินเพดาน 60% ต่อ GDP ประชาชนไทยมีรายได้ต่อหัว 4,000 - 5,000 เหรียญสหรัฐต่อปี หากจะเป็นหนี้สาธารณะได้มากกว่านี้ รายได้ต่อหัวคนไทยต้องอยู่ที่ 10,000 เหรียญสหรัฐต่อปีจึงจะกู้เกิน 60% ได้
- มีการแก้ไขสัดส่วนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จากเดิมที่กำหนดเพดานไม่เกิน ร้อยละ 3.5 แก้ไขเป็นไม่เกิน ร้อยละ 7.5 ผู้มีอำนาจสิทธิขาดในงบกลางคือนายกฯ
- ถ้ามีเจตนาดี โปร่งใส ต้องแก้กฎหมายกลับคืนเหมือนเดิม เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนี้สาธารณะในอนาคต
- นอกจากนี้ยังแก้สัดส่วนงบประมาณเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ของรัฐบาล โดยลดสัดส่วนคืนเงินต้นจาก ร้อยละ 2.5 เหลือ ร้อยละ 1.5
- สำหรับการอุ้มคนรวย มีการแก้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเป็นรายได้ให้ท้องถิ่น เลื่อนการจัดเก็บภาษีถึง 2 ปี รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหายไป แล้วไม่จัดสรรงบเพิ่มให้ท้องถิ่น ทั้งนี้กฎหมายเก็บภาษีที่ดินที่มีมูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไปการเวฟภาษี 2 ปีจึงเป็นการช่วยเศรษฐี
อ่านที่ https://www.voicetv.co.th/read/G4DGPpX2q
# พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล #
- ‘กราดยิงโคราช’ สืบเนื่องจากความฉ้อฉลในกองทัพ การโกงทหารชั้นผู้น้อยไม่ถูกแก้ไข เฉพาะในโคราช ปี 2562 มีทหารชั้นผู้น้อยถูกโกงไม่ต่ำกว่า 400 นาย
- ปี 2563 พลทหารเสียชีวิตในค่ายทหาร 6 คน
- กองทัพใช้ประโยชน์จากที่ราชพัสดุ 6.25 ล้านไร่ (ขนาดเท่าจังหวัดพิษณุโลก) นับเป็นครึ่งหนึ่งของที่ราชพัสดุทั้งหมด เฉพาะกองทัพบกถือครองอยู่ 4.7 ล้านไร่
- มีกิจการต่างๆ ที่เป็น ‘สวัสดิการ’ คือ สถานพักตากอากาศ 5 แห่ง สนามกอล์ฟ 36 แห่ง สนามมวย 1 แห่ง สนามม้า 1 แห่ง
- 5 ปีที่ผ่านมา มีรายได้จากกิจการต่างๆ 724 ล้าน มีรายจ่ายที่ 649 ล้าน เท่ากับ 1 ไร่ได้กำไร 75 บาท
- กองทัพเรือใช้ที่ราชพัสดุในลักษณะ ‘สวัสดิการเชิงธุรกิจแบบสัมปทาน’ ในโครงการทำเหมืองหินและโรงโม่หิน อ.สัตหีบ เนื้อที่ 208 ไร่
- กองทัพซื้อของแพงกว่าตลาด 47% อยู่เสมอ
> เสื้อยืดทหารเกณฑ์ กองทัพซื้อ 130 shoppee ขาย 80 จ่ายแพงกว่ารวม 39 ล้าน,กางเกงขาสั้นทหารเกณฑ์ กองทัพซื้อ 365 บาท shoppee ขาย 120 บาท จ่ายแพงกว่ารวม 85 ล้าน, รองเท้าบูท กองทัพซื้อคู่ละ 1,732 บาท shoppee ขาย 600 บาทจ่ายแพงกว่ารวม 250 ล้าน, กางเกงใน กองทัพซื้อตัวละ 68.50 บาท
> กองทัพซื้อกล้องตรวจการณ์กลางคืนแบบตาเดียว (Night Vision Scope) 3 ปีที่ผ่านมา ชุดละ 495,000 บาท สืบราคาจากบริษัทที่กองทัพสหรัฐใช้ NEWCON ราคาอยู่ที่ 261,000 บาท โดยกองทัพกำหนดสเปคบางอย่างไม่จำเป็น
> กล้องสำรวจวัดระยะและมุม TOPCON กองทัพซื้อ 431,500 บาท ราคาในตลาด 320,000 บาท, รถยกไฮดรอลิก กองทัพซื้อ 91,100 บาท ราคาตลาด 38,900 บาท, เครื่องวัดความเร็วรอบ Fluke กองทัพซื้อ 24,110 บาท ราคาร 18,000 บาท
>รถบัสขนาดใหญ่ ปี 2558-2563 รวม 429 คัน ใช้งบ 2,200 ล้าน มีผู้ชนะการประมูลบริษัทเดียวกัน แม้จัดซื้อจัดจ้างแบบ e-bidding แต่น่าสงสัยทั้งการกำหนดสเปค, กระบวนการสืบราคากลาง, TOR
- เรือดำน้ำที่อ้างว่าเป็น G2G ตรวจสอบยาก พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผบ.ทร.ส่งหนังสือถึงทางการจีนก่อนเกษียณ 6 วันเร่งให้เซ็นข้อตกลง เพื่อให้มีผลผูกมัดงบประมาณปี 2565 ทั้งที่เศรษฐกิจประเทศกำลังแย่ เป็นไปไม่ได้ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะไม่รู้เรื่องนี้ น่าจะมีเงินทอน
รัฐบาลตอบ
- การจัดซื้อเป็นงบประมาณของกระทรวงกลาโหม
- งบส่วนใหญ่ดูแลทหารผู้มีรายได้น้อยอยู่แล้ว
- รอบบ้านก็มีเรือดำน้ำหมดแล้ว แล้วใครจะรับผิดชอบในวันข้างหน้า
- นายกฯ ยืนยันไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ เพราะเป็นการจัดซื้อกับรัฐบาลจีน
- ที่ดินราชพัสดุไม่ใช่ของกองทัพ ใครจะใช้ต้องขออนุมัติผ่านในส่วนกรมธนารักษ์ แล้วติดต่อมายังกองทัพ รัฐบาลก่อนหน้าก็ขอมาเยอะ
- ท่านไม่ชอบทหาร ถ้าเดือดร้อนขึ้นมาอย่านึกถึงทหารละกัน ขอให้ระวังพูดจาระวัง คนรักทหารเยอะ ลูกหลานหลายคนก็เป็นทหาร
- หลายคนอยากเป็นทหารเพราะเบี้ยเลี้ยงสูงขึ้น ไม่ใช่รัฐเอาทหารมาเยอะๆ เพื่อจะโกง
อ่านต่อที่ https://www.voicetv.co.th/read/s4Boy1ZZw?fbclid=IwAR16tTdIzOMTJBc5xmM8rcWyLSbIWQ-GUKdY15Yjo9fAfsYAsdSV2qwl3dg
# ธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล #
- จุดเริ่มต้น : กองพิสูจน์หลักฐานระบุ ขับรถเร็วเกินกำหนด 177 กม./ชม., มีข้อหาชนแล้วไม่หยุดช่วยตามวิสัยวิญญูชนพึงกระทำ, ให้พ่อบ้านมารับสมอ้างว่าเป็นคนขับ, เหตุเกิดตี 5 เศษ ไม่มีการตรวจสอบสารเสพติดจนถึง 4 โมงเย็นอีกวัน, ผู้ต้องหาหลบหนีไปนอกประเทศ
- บอส ยื่นอัยการขอให้พิจารณาหลักฐานและพยานใหม่นับ 10 ครั้ง อัยการไม่รับฟัง (ที่สำคัญคือการที่ตำรวจกองพิสูจน์หลักฐานยอมเปลี่ยนความเร็ว จาก 177 เป็น 79.23 กม./ชม.) สุดท้ายจึงไปร้อง กมธ.กฎหมายฯ
- กมธ.การกฎหมายฯ ตั้งในสมัย สนช.มีคนใกล้ชิดประยุทธ์-ประวิตร นั่งเต็มไปหมด
- มีนักวิชาการคนหนึ่งยืนยันการคำนวณความเร็วรถของบอสที่ 79.23 กม./ชม.
- ตำรวจจากกองพิสูจน์หลักฐานที่นำเสนอ 177 กม./ชม.กลับให้การ น่าจะเพราะถูกบีบคั้นเนื่องจากสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีต ผบ.ตร.ซึ่งเป็น กมธ.การกฎหมายฯ พร้อมนักวิชาการเจ้าของทฤษฎี 79.23 กม.ไปคุยกับผู้บังคับบัญชาของตำรวจคนดังกล่าว
- อย่างไรก็ตาม ตำรวจคนดังกล่าวตั้งใจไปให้ข้อมูลกับ กมธ.เพื่อยืนยันอีกครั้งว่า ข้อมูลครั้งแรก 177 กม./ชม.นั้นถูกแล้วแต่ไม่ได้รับเชิญเข้าให้ข้อมูล
- ในกมธ.มีการเรียกพยานเพิ่มเติมมาให้การว่า ด.ต.วิเชียร ผู้ตายขับรถโดยประมาทตัดหน้าบอส พยานอ้างว่าขับรถเมอร์ซิเดสเบนซ์ รุ่น 230 อี สีขาว ตามหลังดาบวิเชียร 10 เมตร แต่เมื่อตรวจสอบกล้องวงจรปิดไม่เห็นรถดังกล่าว
- กมธ.สรุปรายงานที่มีหลักฐานใหม่อันเป็นคุณกับบอสส่งให้พนักงานอัยการ อัยการไม่รับลูก
- บอสออกนอกประเทศก่อนหน้านัดฟังคำสั่งฟ้องของอัยการ 2 วัน ศาลออกหมายจับ
- ตำรวจคนหนึ่งประสานอินเตอร์โพลออกหมายแดงแบบเปิดให้สาธารณะทั่วโลกเห็น จากนั้นตำรวจคนดังกล่าวโดนประวิตรสั่งย้าย หมายถูกเปลี่ยนเป็นแบบเห็นเฉพาะตำรวจ
- บอสมอบอำนาจทนายความร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ครั้งที่ 14 บังเอิญมีการแต่งตั้งชุดใหม่โดย ส.ว.แต่งตั้ง 250 อัยการรับคำร้องในที่สุด
- พนักงานอัยการสอบพยานเพิ่มสอดคล้องกับรายงานของ กมธ.การกฎหมายฯ สนช. ทั้งเรื่องความเร็วรถ และเรื่อง ด.ต.วิเชียรขับรถโดยประมาทเอง
- 20 ม.ค. 2563 รองอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา และ 5 มิ.ย. 2563 ผบ.ตร.ไม่เห็นแย้ง คดีจบ
รัฐบาลตอบ
- สภาพโดยทั่วไปว่าการดำเนินคดีล่าช้าผิดปกติ
- ข้อสงสัยว่ามีการช่วยเหลือผู้กระทำผิดโดยทำเป็นกระบวนการทำลายความเชื่อมั่นและศรัทธากระบวนการยุติธรรม เป็นเรื่องยอมรับไม่ได้ คนหนีคดีไปอยู่ต่างประเทศเป็นคนน่ารังเกียจ "คดีอื่นก็เหมือนกัน"
- รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยอีกในประเทศ
- สตช.กำลังประสานงานกับตำรวจสากล และตรวจสอบเส้นทางการเงินกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การดำเนินการตามกฎหมาย
- หลายเรื่องผลีผลามไม่ได้ ขึ้นอยู่กับหลักฐาน พยานวัตถุและพยานบุคคล
- ที่มาส.ว.มาจากการเลือกของประชาชน 50 คน
อ่านที่ https://www.voicetv.co.th/read/C3J34FbIP?fbclid=IwAR3vc9WC1yx0Fh4mWmmLAEJaAhDYV2v4-g55HSY0MuP1dz0fXN1-30oxlX
# วิโรจน์ ลัขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล # อภิปราย อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีกว่าการะทรวงสาธารณสุข
- ภายใน 2 ปีถ้ายังฉีดไม่มากพอ+เจอเชื้อกลายพันธุ์ คนที่ฉีดแล้วมีโอกาสติดเชื้ออีก คุมไม่ได้
- สธ.เคยทำหนังสือของบกลาง 1 พันล้านบาทซื้อวัคซีน ระบุว่า มีวัคซีนเร็วขึ้น 1 เดือนจะทำให้ประชาชนสร้างรายได้จากท่องเที่ยวราว 250,000 ล้าน
- ประเทศในอาเซียนเริ่มฉีดแล้ว อินโดนีเซีย 13 ม.ค.64 เมียนมา-ลาว 27 ม.ค.64 กัมพูชา 10 ก.พ.64
- อิสราเอลเริ่มฉีด14 ธ.ค.63 ฉีด 1 ล้านคนใน 1 เดือน ประเมินว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวไตรมาส 2 และปีนี้จะเติบโตถึง 7%
- พ.ย.63 ไทยกำหนดแผนจัดหาวัคซีน 65 ล้านโดส (ประชากรครึ่งเดียว) ภายใน 3 ปี ล่าช้ามากในสร้างภูมิคุ้มกันหมู่
- 3 ก.พ.64 สธ.ระบุจะแบ่งฉีด 3 ระยะ ระยะ1 ฉีดบุคลากรการแพทย์ ผู้สูงอายุ 19 ล้านคน ใช้ 38 ล้านโดส เบื้องต้นสั่งไป 26 ล้านโดส+สั่งเพิ่ม 35 ล้านโดส มีแผนส่งมอบ มิ.ย.64 แต่อาจส่งมอบไม่ได้
- 4 ก.พ.64 อนุทินบอกฉีดได้เดือนละ 5 ล้านโดส อีก 4 วันบอกจะฉีดเดือนละ 10 ล้านโดส คำถามคือเตรียมระบบการแจกจ่ายพร้อมหรือไม่
- ไทยสั่งซื้อวัคซีน Sinovac ด้วยเงิน 1,228 ล้านจากจีนมาแก้ขัด ทำไมไม่ซื้อ Sinopharm ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีเดียวกัน ขึ้นทะเบียนเรียบร้อย มีผลทดสอบเฟส 3 ในคนสูงถึง 79.34% และจีนใช้ฉีดให้กับประชาชน
- ไทยเลือกซื้อวัคซีน Sinovac ที่มีนายทุนรายหนึ่งเข้าไปลงทุนด้วยเม็ดเงิน 1.54 หมื่นล้านบาท เพื่อถือหุ้น 15%
- กรณี COVAX ไทยตกขบวน เพราะไทยดำเนินการล่าช้า เลื่อนทำความตกลงเอง
- ข้ออ้างว่าร่วม COVAX ต้องจ่ายล่วงหน้า ถ้าวัคซีนไม่สำเร็จจะไม่ได้เงินคืน เงื่อนไขนี้เหมือนแอสตราเซเนกาที่รัฐอนุมัติเงิน 2,379 ล้านจองล่วงหน้า
- มีประเทศเข้าร่วม COVAX 172 ประเทศ อาเซียนร่วมหมดยกเว้นไทย
- ไทยพาประชาชนไปกระจุกความเสี่ยงที่วัคซีนแอสตราเซเนกาที่ผลิตโดยบริษัทเอกชนที่เพิ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี
- รัฐบาลอินเดียเสนอขายวัคซีนแอสตราเซเนกา 2 ล้านโดสในราคาทุนให้ไทย แต่รัฐบาลไม่ตอบรับ
- รัฐบาลยังให้ประชาชนที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาหรือไม่ เพราะที่เยอรมนี ฝรั่งเศส สวีเดน ประกาศไม่ฉีดแอสตราเซเนกากับผู้สูงอายุเพราะได้ผลน้อย โดยไทยมีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 7.8 ล้านคนต้องใช้วัคซีน 15 ล้านโดส
- SEIR Model แนะนำว่า ไทยควรฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มคนอายุ 20-49 ปีก่อน เพราะต้องปฏิสัมพันธ์กันมากและเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
- ว่าด้วย บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์
> 4 ก.พ. ใน กมธ.สาธารณสุข ผู้แทน อย.แจ้งว่า ชุดตรวจโควิด RT-PCR ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์-สยามไบโอไซเอนซ์ ร่วมกันผลิต ‘ไม่ผ่าน’ ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรซับซ้อน ถามว่าทำไมมั่นใจให้บริษัทเอกชนนี้ผลิตวัคซีนรายเดียว
> ชื่อเอกชนรายนี้ ปรากฏครั้งแรกเดือน ก.ค.โดย ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ที่ปรึกษา ศบค.ต่อมามีการอนุมัติงบ 600 ล้านพัฒนาศักยภาพเพื่อรับเทคโนโลยี
> 600 ล้าน ใช้ลงทุนในครุภัณฑ์ 80 ล้าน จ้างบุคลากร 12 ล้าน อีก 430 ล้านนำไปซื้อสารเคมี สารชีวเคมี ตัวทำละลาย สารชีวภัณฑ์ ฯลฯ ทั้งที่การซื้อวัตถุดิบควรเป็นหน้าที่บริษัท
> มีการชี้แจงว่า สยามไบโอไซเอนซ์-แอสตราเซเนกาจะขายวัคซีนให้ไทยแบบไม่มีกำไร เป็นนโยบายเฉพาะช่วงมีการระบาดถึงปี 2565 หากคุมการระบาดได้แล้ว สยามไบโอไซทำกำไรจากการขายวัคซีนได้
> ทั้งเครื่องจักร และ Know How ที่บริษัทรับไป สามารถนำไปผลิตวัคซีนขายทำกำไรได้ “สยามไบโอไซเอนซ์จึงไม่ได้มีบุญคุณอะไรกับประชาชน แต่ประชาชนต่างหากมีบุญคุณกับบริษัทเพราะใช้เงินรัฐอุดหนุน 600 ล้านบาท”
> เมื่อถูกตั้งคำถาม สยามไบโอไซเอนซ์จะคืน 600 ล้านบาทกลับมาเป็นวัคซีน หลังจากที่ผลิตและจำหน่ายไปแล้ว 200 ล้านโดส
รัฐบาลตอบ
- นายกไม่มีอำนาจสั่งทั้งหมด ต้องฟังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เทียบกับสถานการณ์โลก ไทยสามารถทำได้ดีกว่าหลายประเทศ พยายามทำให้ดีขึ้น
- การฉีดวัคซีนยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะได้ผล 100% และนี่เป็นการฉีดแบบฉุกเฉินไม่ใช่การฉีดแบบไข้หวัดใหญ่ทั่วไป
- ชื่นชมบุคลากรทางการแพทย์ที่เสียสละ และชื่นชมคนไทยที่ร่วมกันสวมใส่หน้ากากอนามัย
- หากอภิปรายถึงวัคซีนมากๆ ทำให้เป็นเรื่องการเมือง หากต้นทางไม่ส่งวัคซีนมาให้ "ก็ต้องมีเรื่องกัน"
- ได้รับข้อมูลว่า คนไทยอยากฉีดวัคซีน 80% อีก 10% ไม่อยากฉีด อีก 10% ยังลังเล ผู้อภิปรายอยู่ในกลุ่มที่ไม่อยากฉีดหรือลังเล
- ยืนยันว่าจัดหาทันตามกำหนดเวลา และจะนำไปฉีดให้กับคนไทยจนครบถ้วน
- ไม่เคยนิ่งนอนใจ เป็นเหตุผลที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้รับสนับสนุนงบ 3,000 ล้าน
- บริษัทแอสตราเซเนกา ผู้ผลิตเล็งไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนให้อาเซียน หาบริษัทถ่ายทอดเทคโนโลยีตามข้อตกลง ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล
- รัฐบาลนี้เป็นคนที่ทำให้ทำให้ อสม.เข้มแข็ง มีโครงการ 3 หมอ เปิดคลินิกบริการผู้สูงอายุ จัดหาเครื่องฉายรังสี 7 เครื่องให้บริการผู้ป่วยมะเร็งทั่วประเทศไทย
อ่านที่ https://voicetv.co.th/read/5PzNvzMJG
# ประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย # อภิปรายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์
- คดีทุจริตทำสัญญาลวงซื้อขายถุงมือยางขององค์การคลังสินค้า (อคส.) 112,500 ล้าน มูลค่าความเสียหาย 2,000 ล้าน เป็นการปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต
- จุรินทร์ มีเจตนาพิเศษแต่งตั้ง สุชาติ เตชจักรเสมา อดีตสมาชิก ปชป. และเป็นคนสนิทของบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นประธาน อคส.ทั้งที่ไม่มีประวัติบริหารองค์กรใหญ่
- มีคำสั่งซื้อถุงมือยางของเอกชน 7 รายมาที่ อคส. 826 ล้านกล่อง ราคาเฉลี่ยกล่องละ 225 บาท รวม 186,100 ล้าน ไม่มีการเรียกหลักประกันสัญญา และมี 3 บริษัทมีข้อพิรุธว่า 'เป็นสัญญาลวง’ ไม่มีบริษัทจริง
- ขณะเดียวกัน อคส. ทำสัญญาซื้อถุงมือยางจากบริษัท การ์เดียน โกลฟส์ จำนวน 500 ล้านกล่อง มูลค่า 112,500 ล้าน บริษัทนี้เพิ่งจัดตั้งก่อนทำสัญญาเพียง 2 เดือน มีทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท เป็นบริษัทที่ไม่ได้ทำธุรกิจถุงมือยาง ไม่มีที่ตั้งในไทย ฯลฯ
- อคส.ต้องชำระเงินล่วงหน้า 2,000 ล้านให้การ์เดียน โกลฟส์ ภายใน 3 วัน ปรากฏว่ามีการกำหนดในหลักประกันสัญญา 200 ล้านบาทมอบให้กับผู้ซื้อภายใน 7 วัน จึงกลายเป็นว่าเมื่อรับเงินจาก อคส.ไปแล้ว 2,000 ล้านก็นำเงินนั้นมาทอนคืนให้ อคส.
- ในสัญญาส่วนหนึ่งระบุเป็นการซื้อถุงมือยางไนไตร แต่สัญญาเดียวกันกลับระบุให้ผู้ขายส่งมอบถุงมือยางไนไตรและถุงมือยางลาเท็กซ์ ซึ่งเป็นคนละประเภท
- มี ‘คลิปเสียง’ พูดถึงการดำเนินการนโยบายนี้ร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน โดยระบุถึง “การรอให้รัฐมนตรีกดเดิน” และอ้างว่า ประธาน อคส. มีส่วนทำให้เรื่องนี้สำเร็จ
- เมื่อความแตก จุรินทร์ไม่ดำเนินการใดๆ ไม่กล้าแจ้งความดำเนินคดี เพราะกลัวนายสุชาติจะเปิดเผยความจริง รวมถึงไม่มีการติดตามเงินคืน
- ขณะนี้เงินหลวง 2,000 ล้านอันตรธานหายไป
- ประยุทธ์ก็นิ่งเฉย ไม่ปลดจุรินทร์เพราะเกรงกระทบเสถียรภาพรัฐบาล
- ประยุทธ์ไม่ใช้อำนาจระงับยับยั้งการโอน ย้าย ถ่ายเทเงินทั้งที่สามารถอายัดเงิน 400 ล้านที่ยังอยู่ในบัญชีบริษัทก่อนจะอันตรธานไป
- ประยุทธ์ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ อคส. ตัวเล็กๆ มาวิ่งแจ้งความกล่าวโทษต่อกองปราบ/ปปง. โดยลำพัง เพราะเกรงกลัวว่าจะกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาล
- ไม่แปลกใจที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ระบุค่าดัชนีรับรู้การทุจริต ไทยอยู่อันดับ101 จาก 180 ประเทศ แย่กว่าอดีต
รัฐบาลตอบ
- การทุจริตเกิดขึ้นจริง แต่รมว.พาณิชย์ไม่เกี่ยวข้อง
- เหตุที่ไม่มีการตั้งกรรมการสอบเพราะ รมต.ไม่ได้มีอำนาจทำได้ทุกอย่าง และมีการฟ้อง ปปช.แล้ว
- รัฐบาลให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลการค้าขายยางออนไลน์รวมทั้งตลาดถุงมือยาง เพราะจะช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อส่งออกถุงมือยางธรรมชาติ ไม่ใช่เตรียมการทุจริตโดยให้ประธานบอร์ดไปซื้อขายถุงมือยาง
อ่านที่ https://www.voicetv.co.th/read/Nyftpe4Ge
# ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล # อภิปรายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ชาวบ้านต่อต้าน “เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าจะนะ” เพราะทำลายวิถีชีวิต ทรัพยากร ขณะที่นักการเมืองใหญ่ในพื้นที่ผลักดันหนักเพราะได้ประโยชน์จากการซื้อขายที่ดิน
- พื้นที่ 16,753 ไร่ เม็ดเงินลงทุน 18,680 ล้านบาท จะเกิดอุตสาหกรรมหนัก, อุตสาหกรรมเบา, เมืองอัจฉริยะ, ศูนย์กระจายสินค้า, โรงไฟฟ้า 3,700 เมกกะวัตต์ ฯลฯ
- ดูนิคมข้างเคียง Rubber City , นิคมอุตสาหกรรมสงขลา ล้วนแล้วแต่ ‘ร้าง’
- โครงการผลักดันมาตั้งแต่เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน สมัยนิพนธ์เป็น นายก อบจ. สงขลา
- นิพนธ์พบนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หารือเรื่องเขตเศรษฐกิจสงขลา จนนำมาสู่มติ ครม. วันที่ 7 พ.ค. 2562 ทิ้งทวนก่อน คสช.จะให้เลือกตั้ง
- เกิด 10 เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ตามนโยบาย คสช. ใช้เงินภาษีไป 47,000 ล้าน แต่อนุมัติเอกชนแค่ 48 โครงการ 8,000 ล้านบาท ไม่ถึง 20% ของเงินลงทุน
- เหตุที่รัฐบาลและนายนิพนธ์เร่งรัดผลักดัน เพราะกลุ่มทุน TPIPP มาพร้อมแผนการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ โครงการทั้งหมดที่วางแผนไว้ 3,700 เมกกะวัตต์
- ครม. มีมติรับทราบเรื่องโรงไฟฟ้า TPIPP แล้ว 1,700 เมกกะวัตต์ ทำไมไม่ให้ กฟผ.ทำ
- กลุ่มทุนเครือ TPI มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจในรัฐบาล บริษัทเครือมีชื่อเป็นผู้บริจาคเงินผ่านโต๊ะจีนประชารัฐ
- สิงหาคม 2563 ครม.มีมติให้กรมโยธาฯ แก้ไขผังเมือง 3 ตำบลในอำเภอจะนะ จากพื้นที่สีเขียว-เขียวคาดขาว เป็นสีม่วงเข้มหรือพื้นที่อุตสาหกรรมหนัก
- มีการกว้านซื้อที่ดินของเครือข่ายนิพนธ์ ซึ่งกำกับดูแลกรมที่ดิน
- ช่วงเดือน ม.ค. 2563 พบการกว้านซื้อของรายใหญ่ 2 กลุ่ม
> กลุ่มแรก คือกลุ่มเครือข่ายครอบครัวคนใกล้ชิดนายนิพนธ์ ซื้อราคาเฉลี่ยไร่ละ 230,000 บาท
> กลุ่มสอง คือ TPIPP มีการกว้านซื้อที่ดิน ราคาเฉลี่ยไร่ละ 600,000 บาท
- ใน 100% ที่ TPIPP ซื้อเป็นการซื้อจากเครือข่ายนิพนธ์ 83% ซื้อจากชาวบ้าน 17%
- กลุ่มนิพนธ์ซื้อที่ดินจากชาวบ้าน 2.5-3 แสนบาทต่อไร่ แพงกว่าราคาตลาด 1.5-2 เท่า แต่เอาที่ดินไปขายให้บริษัทราคาไร่ละ 6-8 แสนบาท กินส่วนต่าง 2-3 เท่า
- ที่ดินที่เครือข่ายนิพนธ์รับซื้อในเดือน ม.ค. 2563 (จำนวน 464 ไร่) มูลค่าราว 110 ล้าน เมื่อนำไปขายให้ TPIPP จะขายได้ 280 ล้าน
- ถ้าเกิดนิคมอุตสาหกรรม มูลค่าที่ดินที่ TPIPP รับซื้อจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,300 ล้าน สูงขึ้น 12 เท่าตัว
- ครม. มีมติ เดินหน้านิคมอุตสาหกรรมจะนะ ต.ค.2562 นิพนธ์ก็นั่งอยู่ในที่ประชุม มีมติให้สำนักงานที่ดิน จ.สงขลา อ. จะนะ, อ. เทพา, อ. นาทวี สงขลา และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สนับสนุนการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกินให้กับประชาชนเป็นการเร่งด่วน
- ชาวบ้านในพื้นที่ทราบกันดีว่า กลุ่มเครือญาตินายนิพนธ์ได้รวบรวมเอกสารสิทธิ์ นส. 3ก. แล้วไปขายต่อให้บริษัท TPIPP เพื่อออกโฉนดที่ดิน
- มีหลายกรณีที่ไปออกโฉนดที่ดินทับที่ดินทำกินของชาวบ้าน มีการใช้อิทธิพลข่มขู่กดดันให้ชาวบ้านทำข้อตกลงขายที่ดินอย่างไม่เป็นธรรม
- 11 กรกฎาคม 2563 มี “เวทีรับฟังความคิดเห็นอัปยศ” เกิดขึ้น เพื่อผลักดันให้โครงการนี้
- ตัวนิพนธ์เองถูกร้องเรียนกล่าวหาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ดำเนินการตรวจสอบสมัยดำรงตำแหน่งนายก อบจ.สงขลา อีกเกือบ 10 คดี
รัฐบาลตอบ
- ต้องพิจารณาแยกแยะเป็นรายโครงการ เพราะไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถดำเนินโครงการขนาดใหญ่ได้
- สิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ต้องมีการตรวจสอบ ยืนยันไม่เคยเอื้อประโยชน์ให้กับใคร
- ปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดใช้แดนใต้ซับซ้อนหลายมิติทั้งเศรษฐกิจและสังคม ต้องมีการแก้ปัญหาอย่างละเอียดอ่อน จึงมีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้จากเดิม 3 จังหวัด 3 พื้นที่ และมาเพิ่มที่จังหวัดสงขลา อำเภอจะนะ
- การเปลี่ยนสีผังเมืองเกิดจากความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เป็นไปตามระเบียบ และมีการทำประชาพิจารณ์ทั้งหมด
- การลงทุนมีความจำเป็นต้องให้มีความโปร่งใส การตรวจสอบมีกลไกลอยู่ สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษได้ แจ้งองค์กรอิสระตรวจสอบได้
- เป็นการนำข้อมูลจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมาตัดแปะ ที่ดินที่เกิดข้อพิพาทกับชาวบ้านได้ร้องยัง สตง. แล้ว ขณะนี้ยังไม่มีการออกโฉนด
- ข้อกล่าวหาถือเป็นข้อกล่าวหาเท็จทั้งสิ้น
- นโยบายการออกสำรวจที่ดินนั้นประชาชนพอใจ เพราะการออกโฉนดถือเป็นความมั่นคงทรัพย์สินและชีวิต
อ่านที่ https://voicetv.co.th/read/xJaYNzNM8
# รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล # อภิปราย พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.ประวิตร
- การเลื่อนตำแหน่งตำรวจเป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ซึ่งต้องตั้งคนในหน่วยงานของตน แล้วส่งคณะกรรมการตำรวจ (ก.ตร.) ก่อนส่ง ผบ.ตร. แต่มีบางอย่างผิดปกติ
- อ้างถึงหนังสือที่ กองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 ส่งถึง ผบ.ตร. ลงวันที่ 14 มี.ค.62 ลงนามโดย พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ขอสนับสนุนการแต่งตั้งตำรวจ 3 นาย เป็นการแต่งตั้งข้ามหน่วยงาน
- เหตุผลในการขอสนับสนุนคือ ทั้งสามผ่านการอบรมจิตอาสา ได้ปฏิบัติภารกิจที่ศูนย์อำนวยการจิตอาสาแล้ว
- รังสิมนต์ตั้งคำถามว่า หนังสือนี้เป็น 'ตั๋ว' แบบหนึ่งที่คนในแวดวงกล่าวถึงกันหรือไม่
- กรณีพล.ต.ต.ต่อศักดิ์ เริ่มอายุราชการช้าแต่ก้าวหน้าเร็วและด้วยวิธีพิเศษ ได้รับการ "ยกเว้นหลักเกณฑ์" ปกติถึง 3 ครั้งติด ไม่ต้องดำรงตำแหน่งหลายปีก่อนเลื่อนขั้นเหมือนคนอื่น
- ปี 2541 ต่อศักดิ์เป็นรองสารวัตร ปี 2559 เป็นผู้กำกับการหน่วยคอมมานโด เหตุผิดปกติเริ่มปี 2561 จากผู้กำกับการไปเป็น รองผู้บังคับการปราบปราม ถัดมา 6 เดือน ได้เลื่อนเป็น ผู้บังคับการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษ หรือหน่วยคอมมานโดเดิมที่ยกระดับขึ้นเป็นกองบังคับการ ต่อมาหน่วยนี้เปลี่ยนชื่อเป็น กองบังคับการตำรวจมหาดเล็กฯ ต่อมาอีก 1 ปี เลื่อนจากผู้บังคับการไปเป็น รองผู้บัญชาการสอบสวนกลาง ปัจจุบันเป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- หากเดินตามเส้นทางปกติไม่ได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์ พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ต้องใช้เวลา 12 ปีจึงจะอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน แต่เขาใช้เวลาเพียง 3 ปี 4 เดือน
- รังสิมันต์ยืนยันว่าต่อศักดิ์ไม่มีคุณสมบัติพิเศษเหนือผู้อื่น เพราะถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องการการขนยาไอซ์ล็อตใหญ่ และเคยมีพฤติกรรมพูดให้ตำรวจวิสามัญผู้มีอิทธิพล
- มีการเปิดเอกสารการประชุม ก.ตร. ในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งตำรวจทั้งหมด ชื่อ พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ ไม่มีข้อโต้แย้งใดจากคณะกรรมการ ผิดไปจากตำแหน่งอื่นๆ ที่กรรมการมีอำนาจปฏิเสธ หัวโต๊ะ ก.ตร.ล้วนเป็น พล.อ.ประวิตร ไม่ก็ พล.อ.ประยุทธ์
- เอกสารการประชุม ก.ตร.2 ฉบับที่นำมาเปิดเผย ยังมีรายชื่อนายตำรวจคนอื่นที่ ‘หมายเหตุการขอยกเว้นหลักเกณฑ์’ เหมือนพล.ต.ต.ต่อศักดิ์ด้วย เช่น พ.ต.อ.จิรภพ ภูริเดช พ.ต.อ.สำราญ นวลมา พ.ต.อ.สันติ ชัยนิรามัย พ.ต.อ.สุวัฒน์ แสงนุ่ม
- กรณีพ.ต.อ.จิรภพ ปัจจุบันยศ พล.ต.ต. เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดยรังสิมันต์ได้อธิบายไทม์ไลน์การเลื่อนชั้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน แทนที่จะใช้เวลา 8 ปีกว่าจะเลื่อนมาอยู่ตำแหน่งปัจจุบัน กลับใช้เวลาเพียง 4 ปี 2 เดือน
- นายตำรวจทั้งหลายนี้ที่ พล.อ.ประยุทธ์กับ พล.อ.ประวิตรยกเว้นหลักเกณฑ์ให้ ในวันนี้ได้ไปยึดกุมตำแหน่งใหญ่ๆ ในหน่วยงานสำคัญๆ ของตำรวจ
>พล.ต.ท.ต่อศักดิ์กับ พล.ต.ต.จิรภพ ได้เป็นหัวหน้าและรองหัวหน้าของกองบัญชาการสอบสวนกลาง(บช.ก.)
>พล.ต.ต.สำราญ เป็นรองหัวหน้าของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)
>พ.ต.อ.สันติ ได้เป็นหัวหน้ากองบังคับการสืบสวนสอบสวน (บก.สส.)
>พ.ต.อ.สุวัฒน์ ก็ได้เป็นหัวหน้ากองปราบฯ (บก.ป.)
- รังสิมันต์กล่าวถึงเงื่อนไขอย่าง "จิตอาสา" ที่กลายเป็นเหตุผลในการเลื่อนตำแหน่งนายตำรวจ โดยระบุว่า หลักสูตรจิตอาสา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. มี พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เป็นประธานอำนวยการ
- พล.อ.อ.สถิติย์พงษ์ ปัจจุบันเป็นเลขาธิการพระราชวัง และเป็นพี่ชายของ พล.ต.ต.ต่อศักดิ์
- รองประธานกรรมการโครงการจิตอาสาฯ คือ พล.อ.จักรภพ ภูริเดช ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เป็นพี่ชายของ พล.ต.ต.จิรภพ
- กรรมการโครงการจิตอาสาฯ คนหนึ่งคือ พล.อ.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ อดีตผู้บัญชาการสอบสวนกลาง เป็นพี่เขยของ พล.ต.ต.จิรภพ
- มีการเปิดเอกสารที่อ้างว่าเป็น 'ตั๋ว' ของ 'พี่ต่อ' ซึ่งรังสิมันต์ไม่แน่ใจว่าเป็นใคร มีรายชื่อตำรวจที่ผ่านการอบรมจิตอาสาและขอสนับสนุนตำแหน่ง จำนวน 161 คนกระจายไป 16 หน่วยงาน
- มีการอ้างหนังสือจากสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ เมื่อเดือนมกราคม 2562 ลงนามโดย พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ส่งถึง ผบ.ตร. ระบุว่า กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ จะคัดเลือกนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรมาบรรจุลงในกองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904
- สตช.รับลูกและสั่งว่าตำรวจคนไหนไม่เข้ารับการคัดเลือกก็ให้ตรวจสอบหาสาเหตุ ทำประวัติ มีการคัดเลือกหลายรอบ
- มีหนังสือภายใน สตช. รายงาน ผบ.ตร. ว่าจะส่งตำรวจที่ผ่านคัดเลือกทั้งหมด 1,319 นายไปฝึกต่อที่ศูนย์ฝึกตำรวจศาลายา โดยระบุว่าจะให้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็น “ข้าราชบริพาร”
- มีตำรวจ 66 นายที่กรรมการตรวจสอบชี้ว่า ขาดภาวะผู้นำ เป็นแบบอย่างที่ดีไม่ได้ จึงส่งไปปรับทัศนคติ
- เมื่อฝึกแล้วมีผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 873 คน มีหนังสือภายใน สตช.รายงานว่าจะส่งผู้ผ่านการฝึกไปช่วยราชการในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยในพระองค์ ในหลักสูตร ‘ตำรวจราบในพระองค์’ อย่างไรก็ตาม มีตำรวจ 100 นายไม่ประสงค์ที่จะเข้ารับการฝึกจึงถูกส่งไปฝึกอบรมธำรงวินัยตำรวจนาน 9 เดือน
- รังสิมันต์ยังเปิดเอกสารที่อ้างว่าเป็น 'ตั๋ว ผบ.ตร.' หรือบัญชีแต่งตั้งของ ผบ.ตร. รวมรายชื่อตำรวจ 1,642 นาย โดยไม่ระบุว่าเป็นเอกสารปีไหน
- มีการเปิดเผยถึงการเขียนขอสนับสนุนแต่งตั้งนายตำรวจ 20 นายในปี 2562 บางคนเป็นลูกหรือหลานของนายตำรวจระดับสูงในปัจจุบัน
--------
รัฐบาลตอบ
- พล.อ. ประวิตร กล่าวยืนยันว่าในช่วงที่นั่งเป็นประธาน ก.ตร. ได้ทำตามระเบียบของกฎหมายทุกอย่าง เป็นไปตามขั้นตอนทุกอย่าง รายละเอียดการแต่งตั้งต่างๆ เป็นหน้าที่ของ สตช.
- พล.อ. ประยุทธ์ชี้แจงว่า หนังสือสนับสนุนการแต่งตั้งนายตำรวจระดับสารวัตรที่เสนอต่อ ผบ.ตร. เป็นเพียงหนังสือสนับสนุนการแต่งตั้ง โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจผู้บังคับบัญชาว่าจะรับหรือไม่ก็ได้ หรือไม่พิจารณาก็ได้
- การยกเว้นหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง เป็นการเสนอโดย สตช. ผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นมา โดยพิจารณาตามความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์การรับราชการ และผลงานที่ปรากฏ พร้อมยืนยันการแต่งตั้งที่ผ่านมา เป็นไปตามหลักเกณฑ์, พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และกฎ ก.ตร. แต่ตำรวจที่คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ให้โอกาสในการร้องเรียนมายังอนุ ก.ตร.
- รายชื่อท้ายบัญชี เป็นรายชื่อที่ต้องเปิดเผยให้รับทราบว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ ทุกรายชื่อต้องเข้ามาก่อนจะนำเข้ามาในระดับคัดกรองอีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องลับ บัญชีแรกคือบัญชีความเหมาะสม เรื่องของความอาวุโส เพราะฉะนั้นจะหัวตารางหรือท้ายตาราง ทั้งหมดเป็นรายชื่อความเหมาะสมที่ถูกเสนอเข้ามา แต่สุดท้ายขึ้นอยู่กับว่าจะพิจารณาได้หรือไม่ได้
- การคัดเลือกนายตำรวจ มีการแต่งตั้งหน่วยงานที่เรียกว่าตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เป็นการปรับย้าย ปรับโอนตำรวจให้ไปปฏิบัติงานเหล่านี้ ซึ่งจัดตั้งมาเพื่อถวายงานใกล้ชิด เรื่องการถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติด้วย ดังนั้นต้องคัดเลือก คัดสรร และสอบถามทัศนคติ ถ้าไม่ผ่าน ไม่เหมาะสม ก็ยังปฏิบัติหน้าที่ตามเดิม ไม่มีการลงโทษแต่อย่างใด