ไม่พบผลการค้นหา
โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ หารือ ผู้บริหาร Xiaomi เชิญชวนขยายตลาดและการลงทุนในไทยมากขึ้น เชื่อมั่นศักยภาพและข้อได้เปรียบทางธุรกิจของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

วันที่ 17 ต.ค. 2566 เวลา 13.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงปักกิ่งซึ่งเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชม.) ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า Mr. Alain Lam, Vice President, CFO เข้าเยี่ยมคารวะ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดย Xiaomi เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีนวัตกรรมขั้นสูง สร้างอุตสาหกรรมดิจิทัลที่หลากหลาย โดดเด่นในการผลิตโทรศัพท์มือถือที่ปฏิบัติการบนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบ Android

บริษัทฯ มีเครือข่ายและธุรกิจทั่วโลก เริ่มธุรกิจในไทย ปี 2018 มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีไทยเป็น Head quarter ในภูมิภาค รวมถึงการให้การสนับสนุนไทยในด้านต่างๆ เช่นในช่วงโควิด หรือการศึกษา 

บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัท Xiaomi Technology (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อจำหน่าย และทำการตลาดโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย รวมทั้งขยายตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง และตลาดอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่ที่สุด รองลงมาคือไทย

นายกรัฐมนตรีขอบคุณที่บริษัทเชื่อมั่นในประเทศไทย โดยพร้อมสนับสนุนการขยายตลาดและการลงทุนในประเทศไทย เชื่อว่าไทยมีข้อได้เปรียบทางธุรกิจที่บริษัทจะได้ประโยชน์ในการลงทุนและขยายตลาดในพื้นที่ 

นายกฯ ชื่นชมการดำเนินการของบริษัท และขอให้ขยายการลงทุน การค้าในไทย ขอบคุณการถ่ายทอดเทคโนโลยี R&D สำหรับโครงการ landbridge จะเป็นโอกาสของบริษัท ในการร่วมกันพัฒนาในกรอบ BRI ซึ่งบริษัทฯ กำลังมองหาสถานที่ผลิต หรือโรงงานการผลิต เพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจในหลายๆด้านที่เกี่ยวข้อง แม้แต่รถยนต์ EV 

นายกฯ ย้ำให้ความมั่นใจการเป็นศูนย์การผลิตรถยนต์ EV ของภูมิภาค ด้วยปัจจัยสนับสนุนที่พร้อม และสภาพแวดล้อมที่ได้เปรียบ ไทยเป็นประเทศแรกที่ดำเนินมาตรการเกี่ยวกับ carbon credit ทั้ง supply and demand sides มีผู้ผลิตหลายรายที่แสดงความประสงค์ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ EV ในไทย 

โดยนายกฯ ได้อธิบายความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งและโครงการ landbridge ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงการเดินทางขนส่งไปยังจุดต่างๆได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการเป็น Hub

 บริษัทยินดีที่จะขยายการผลิตชิ้นส่วน electronics ต่างๆในไทยสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัท และนำสู่ตลาดโลก ซึ่งจะช่วยเพิ่มทักษะการผลิตของแรงงานไทยควบคู่กับการ training เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือและมีทักษะ