ไม่พบผลการค้นหา
กัมพูชาออกคำสั่งห้ามประชาชนในชนบทเผาฟางข้าวและขยะ หวังลดค่ามลพิษ PM 2.5

หนังสือพิมพ์ขะแมร์ ไทมส์ (Khmer Times) สื่อท้องถิ่นกัมพูชารายงานว่า รัฐบาลพนมเปญได้ออกคำสั่งห้ามประชาชนที่อาศัยในเขตชนบทเผาฟางข้าวหรือขยะตามไร่นา ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการความพยายามในการลดมลพิษทางอากาศ

เนตร พักตรา (Neth Pheaktra) โฆษกกระทรวงสิ่งแวดล้อมของกัมพูชาเผยว่า จากการสำรวจพบว่าแหล่งที่มา และกิจกรรมหลักที่ส่งผลให้ค่ามูลความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กในอากาศ มาจาการปล่อยมลพิษในอุตสาหกรรมโรงงาน พาหนะที่ใช้น้ำมันดีเซล ไฟป่า การเผาทุ่งหญา การเผาขยะทางการเกษตร การเผาฟางข้าว การเผาขยะมูลฝอยในที่โล่ง และฝุ่นจากการก่อสร้าง

หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมกัมพูชาเผยว่า การสำรวจช่วงระหว่างเดือน ธ.ค. 2562 - เม.ย. 2563 ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง กรุงพนมเปญและต่างจังหวัด มีคุณภาพอากาศย่ำแย่ลงน่าตกใจ โดยเฉพาะค่าอนุภาคเฉื่อยในอากาศอย่าง PMID และ PM 2.5 ที่สูงเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน

กระทรวงสิ่งแวดล้อมของกัมพูชาจึงพยายามนำ 5 มาตรการมาใช้แก้ปัญหาคือ ป้องกันไฟป่า ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางถนน กำจัดฝุ่นบริเวณท้องถนน ให้ความรู้ประชาชนไม่ให้ขยะมูลฝอย หญ้า ฟางข้าวหรือสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษต และการเตรียมมาตรการป้องกันไฟป่า

"เราคาดหวังให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลดการเผาขยะในชนบท หรือพื้นที่เพาะปลูกและสัมปทานที่ดิน เราขอให้ประชาชนเลิกการเผาฟาง เปลี่ยนไปใช้วิธีไถกลบและฝังแทน" ตอนหนึ่งที่โฆษกกระทรวงสิ่งแวดล้อมกัมพูชากล่าว

เทพ บุญเทือน ชาวบ้านในอำเภอพนมสะรวจ จังหวัดกำปงสปือ กล่าวว่า เขามักใช้วิธีเผาฝางหลังฤดูเก็บเกี่ยว แต่ตอนนี้ยุติวิธีดังกล่าวแล้ว หลังได้รับผลกระทบจากคุณภาพอากาศ

อย่างไรก็ดี ช่วงเดือน ม.ค. 63 ที่ผ่านมา ข้อมูลอัคคีภัยสำหรับระบบการจัดการทรัพยากร (FIRMS) ขององค์การนาซา พบว่าทางเหนือ และภาคกลางของกัมพูชา รวมถึงบางส่วนของภาคเหนือและอีสานของไทย มีจุดความร้อนของการเผาไร่และเผาป่าเพื่อการเกษตรอย่างหนัก ซึ่งส่งผลให้ค่าความเข้มข้นของละอองฝุ่นขนาดเล็กพุ่งเกิดมาตรฐานทั้งในกัมพูชา และบางพื้นที่ของประเทศไทย

ที่มา : khmertimeskh , firms.modaps