ไม่พบผลการค้นหา
"ไม่ออกอะ" คือคำตอบที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (รมว.) กลาโหม ตอบคำถามสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563 หลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดพิเศษที่ทำเนียบรัฐบาล

ภายหลังเกิดวิกฤตม็อบคณะราษฎร 2563 ชุนนุมยืดเยื้อนับแต่วันที่ 14 ต.ค. 2563 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมาปักหลักที่ทำเนียบรัฐบาล 1 คืน

15 ต.ค.2563 แกนนำคณะราษฎร2563 หลายคนได้ถูกจับกุมตัว และมีการนัดชุมนุมตามยุทธศาสตร์ดาวกระจาย หรือ ฮ่องกงโมเดล ตามที่ 'อานนท์ นำภา' แกนนำได้ประกาศที่หน้าทำเนียบรัฐบาล

ทันทีที่สื่อมวลชนซักถามนายกฯ มั่นใจว่าจะทำให้ประเทศสงบเรียบร้อยเหมือนตอนที่เคยบอกสมัยเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อยู่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ เลือกตอบว่าขณะนี้บ้านเมืองไม่สงบเพราะใคร

"แล้ววันนี้ผมทำความผิดอะไรหรือ ผมผิดอะไรหรือ" พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมคณะราษฎร 2563 ยังคงชูประเด็น 3 ป.เป็นหลัก

ประกอบด้วย 1.ประยุทธ์ต้องลาออกทันที 

2.เปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

3.ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ม็อบราชประสงค์ ม็อบ 15 ตุลา ราชประสงค์ ผู้ชุมนุมประท้วงม็อบ 15 ตุลา ราชประสงค์ ผู้ชุมนุมประท้วง ชูสามนิ้ว ชู 3 นิ้ว


ม็อบ คณะราษฎร ชุมนุม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

16 ต.ค.2563 การชุมนุมของคณะราษฎร 2563 ที่สี่แยกปทุมวัน ภายใต้ยุทธศาสตร์ ทุกคนเป็นแกนนำ เริ่มเกิดความตึงเครียด เพราะมีการสลายการชุมนุมเกิดขึ้นด้วยการใช้น้ำแรงดันสูงและผสมสารเคมียิงใส่กลุ่มผู้ชุมนุมมือเปล่า 

กลายเป็นจุดกระแส จุดไฟและเงื่อนไขให้ 'ทุกคน' ออกมาเป็นแกนนำต่อสู้บนถนนด้วยการชุมนุมในหลายจุดทั่วกรุงเทพฯ และทั่วภูมิภาคของประเทศ

"ขอให้ลาออก แล้วก็คุยกับผู้นำ หรือเด็ก หรือใครก็ได้ ที่เขาชัดเจน ใช่ไหม เพราะเดี๋ยวนี้เขาชัดเจน ไม่ต้องมากดขี่ข่มเหง ว่าต้องนี่ต้องนั่น อยากให้เขาทำ คือลาออก แล้วคุยกัน ถ้าคุณกลับตัวหรือทำอะไร ขอโทษ คนไทยใจดีอยู่แล้ว กลับมาคุยกันใหม่ แต่ถ้ายิ่งคุณดื้อดึงที่จะคอยฆ่าและคอยทำอะไร ทำร้ายเด็กๆ ไม่มีประโยชน์ มันมีประสบการณ์มากแล้ว คือเขาทำผิดมาเยอะแล้ว" 

เสียงของผู้ชุมนุมสูงอายุคนหนึ่งที่มาร่วมเป็นแกนนำคณะราษฎร 2563 กลางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2563 ระบุถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ตำรวจใช้ปืนแรงดันน้ำสลายม็อบ 16 ตุลาฯ แยกปทุมวัน หอศิลป์ คณะราษฎร 2563REUTERS-ตำรวจสลายม็อบ 16 ตุลา รถฉีดน้ำ ปืนแรงดันน้ำ รถฉีดน้ำแรงดันสูง คณะราษฎร2563 แยกปทุมวัน

แนวทางตามวิถีทางกลไกของรัฐธรรมนูญ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเลือกปลดล็อกวิกฤตได้ 

แนวทางแรก ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ลาออก

ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ยังคงให้เป็นการลงมติเห็นชอบนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา คือต้องใช้เสียงของ ส.ส.และ ส.ว. เห็นชอบผู้ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง และผู้ถูกเสนอจะต้องมี ส.ส.ในพรรคการเมืองที่ตัวเองถูกเสนอไม่น้อยกว่า 25 เสียง

ประยุทธ์ คณะรัฐมนตรี ม็อบ 114947000000.jpg

สำหรับแคนดิเดตนายกฯ ที่มีหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ

ในปีกของพรรคฝ่ายค้าน มีเพียง 3 คนเท่านั้นที่เสนอชื่อโดยพรรคเพื่อไทย คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธฺุ์ อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม และ ชัยเกษม นิติสิริ อดีต รมว.ยุติธรรม

ส่วนซีกพรรคร่วมรัฐบาล มี 3 คน คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯคนปัจจุบัน จากพรรคพลังประชารัฐ

อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (พรรคภูมิใจไทยมี ส.ส. 61 คน)

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พรรคประชาธิปัตย์มี ส.ส. 52 คน)

สุดารัตน์ ชัชชาติ ชัยเกษม อภิสิทธิ์อภิสิทธิ์และอนุทิน

ฉะนั้น ตัวเลือกตัวเล่นตามกติกาหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ จึงมีผู้ถูกเห็นชอบเป็นนายกฯ ได้เพียง 6 คนเท่านั้น

ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ ส.ว. 250 เสียงจึงเป็นตัวแปรสำคัญ หาก พล.อ.ประยุทธ์ เกิดทนมรสุมกดดันจากม็อบนอกรัฐสภาไม่ได้

ถ้าสถานการณ์ทางการเมืองเกิดทางตัน หวยไม่ลงล็อกไปที่นายกฯ ในบัญชีพรรคการเมือง

'ประยุทธ์' หมดโปรขึ้นมา

ไม่พึ่งใช้บริการ ‘อนุทิน’

ไม่เอา ‘อภิสิทธิ์’ ที่เคยประกาศค้านการสืบทอดอำนาจของ คสช.

สถานการณ์เด็ดล็อกอาจเกิดขึ้นในภาวะหาทางออกไม่ได้ 

เกิดสัญญาณพิเศษ เปิดทางให้งดเว้นการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีตามบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองของพรรคที่มี ส.ส.เกิน 25 เสียง คือเท่ากับไม่ใช้ 6 แคนดิเดตนายกฯ ที่เข้าหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ

ฝ่ายค้าน เพื่อไทย วิรัช สมพงษ์ รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ ยื้อตั้ง กมธ ศึกษา ปิดสมัยประชุมรัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ

ช่องทางตามรัฐธรรมนูญ ฉบับเรือแป๊ะ ยังเปิดประตูเปิดช่องทางลัดลักไก่ให้นำ 'คนนอก' บัญชีรายชื่อพรรคการเมืองมาเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอนสูตรพิเศษตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272

ขั้นตอนแรก ส.ส.-ส.ว. รวมกันไม่น้อยกว่า 369 คน (สมาชิกรัฐสภาเท่าที่มีอยู่ 738 คน) เข้าชื่อไปยังประธานรัฐสภาเพื่อขอเปิดประชุมรัฐสภางดเว้นนายกฯในบัญชีรายชื่อ

ขั้นตอนที่สอง เปิดประตูสู่นายกฯ คนนอก ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ต้องมี ส.ส.-ส.ว. ไม่น้อยกว่า 492 เสียงเห็นชอบ (จากสมาชิกรัฐสภาที่มีอยู่738 คน) เพื่อขอให้นำคนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรี

ขั้นตอนที่สาม การลงมติเห็นชอบผู้ถูกเสนอชื่อนอกบัญชีให้มาเป็นนายกฯ ซึ่งต้องอาศัยเสียงสองสภา คือ ส.ส. และส.ว. มากกว่า 369 เสียงในการลงมติเห็นชอบนายกฯ คนนอก

แต่ถ้าจะพึ่งแนวทางที่เปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ซึ่งก็ต้องอาศัยเสียงของ ส.ส. - ส.ว. รวมกันทั้งสองสภา หรือสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียวรวมกัน ต้องมีไม่น้อยกว่า 246 เสียงเข้าชื่อขอประธานรัฐสภาเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญที่กำลังปิดสมัยประชุมในขณะนี้เป็นเวทีหาทางออก

โดยปลดล็อกวิกฤตจากการเปิดประชุมรัฐสภา คือ 1.รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกเตะถ่วงก่อนโหวตรับหลักการในวาระที่หนึ่ง

2.ครม.ขอเปิดอภิปรายทั่วไปจากรัฐสภาโดยไม่ลงมติเพื่อช่วยกันหาทางออกจากวิกฤตม็อบนอกรัฐสภา

ไม่ว่าจะเลือกสูตรทางออกจากวิกฤตในแนวทางใดตามกติกากลไกของรัฐสภา และรัฐธรรมนูญก็ยังดีกว่างัดยาแรงใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง หรือกฎอัยการศึก

ใช้กลไกทางรัฐสภา-รัฐธรรมนูญก็ยังดีกว่ายืดเยื้อ-อยู่ในอำนาจจนพาสถานการณ์ให้เกิดเงื่อนไขนำไปสู่การรัฐประหารด้วยซ้ำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง