รัชชานนท์ เจริญทรัพย์, ศุภชัย เจริญทรัพย์, นายจอแห่ง พนารักษ์, นายกูกือ ยินดี และนายโชเอ 5 พรานป่า ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง 'เสือโคร่ง' ที่ใกล้สูญพันธุ์ ในเขตอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ โดยไม่ได้รับอนุญาต ทำหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อขอความเป็นธรรม และความช่วยเหลือเร่งด่วน กรณีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลม ติดประกาศคำสั่งที่บ้านของทั้ง 5 คน รวม 4 หลัง สั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือนทั้งหมด และให้ผู้ต้องหา รวมถึงญาติหรือบริวาร ออกไปให้พ้นจากเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ภายใน 30 วัน เนื่องจากกระทำผิดมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2541
ผู้ถูกดำเนินคดี ระบุว่าคำสั่งดังกล่าวไม่เป็นธรรมต่อครอบครัวตนเอง เนื่องจากญาติพี่น้องไม่ได้กระทำความผิดด้วย แต่กลับถูกเหมาเข่ง ยัดเยียดให้รับผิดชอบความผิดร่วมด้วย ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในหนังสือร้องเรียน ผู้ถูกดำเนินคดียังระบุถึงความจำเป็นที่ต้องยิงเสือโคร่ง เนื่องจากเสือมากินวัว ควาย ของชาวบ้าน และนับวันยิ่งมาหากินใกล้หมู่บ้านมากขึ้น สร้างความหวาดผวาให้ชาวบ้าน ทำให้ต้องยิงเสือเพียงเพราะต้องรักษาทรัพย์สินและชีวิตของพวกเขาเอง
โดยรายละเอียดหนังสือที่ยื่นต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีดังนี้
เนื่องด้วยข้าพเจ้า กูกือ ยินดี, ศุภชัย เจริญทรัพย์, รัชชานนท์ เจริญทรัพย์, นาย จอแห่ง พนารักษ์ และ นาย โชเอ ซึ่งเป็น 5 ผู้ถูกดำเนินคดีเสือโคล่ง ในเขตอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นการยิงเสือโคร่ง การมีอาวุธครอบครอง เพื่อป้องกันฝูงวัว ควาย ที่เสือได้เข้ามากัดกิน เป็นอาหารเป็นจำนวนมากกว่า 30 ตัว และปัจจุบันก็ยังคงเกิดขึ้นเกือบทุกวัน
พวกผมเป็นแค่เด็กเลี้ยงวัว ควาย ไม่ใช่พรานใจโหด เรายิงเพื่อป้องกันวัว ควาย ทรัพย์สินที่เป็นรายได้หลักในการยังชีวิต และที่สำคัญพวกผมได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาอนุรักษ์พื้นป่า และต้นน้ำ จากเรื่องราวการฆ่าเสือ 2 ตัว ในป่าทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี หากสื่อมวลชนและสังคมจะให้ความเป็นธรรม มองในมุมกลับของชาวบ้าน และพวกผมตาดำๆ ต้องเจอกับความไม่ยุติธรรม
ความเป็นอยู่ของชาวบ้านหมู่บ้านปิล๊อกคี่ อาเภอทองผาภูมิ จังหวดั กาญจนบุรี ประกอบด้วย ประชากรประมาณจำนวน 1,638 คน 428 ครัวเรือน (ข้อมูล ปี 2564) ส่วนใหญ่เป็นคนไทย เชื้อสายกะเหรี่ยง มอญ และคนไทยพื้นราบ ที่ได้อพยพย้ายถิ่นฐานขึ้นมาที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการสร้างวชิราลงกรณ์ หรือ เขื่อนเขาแหลม ที่เป็นชื่อเดิม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร มีบ้างที่ลูกหลานออกไปทำงานในตัวเมืองใหญ่ๆ ที่นี่จะเรียกว่าไกลปืนเที่ยง แต่เพราะความห่างไกล และการเดินทางค่อนข้างลำบาก ทำให้ความเจริญยังเข้าถึงไม่มากพอ
และนอกจากนี้ก็ได้ผลกระทบเรื่องการจัดการพื้นที่อยู่อาศัย และทำกิน เนื่องจากการกำหนดพระราชบญัญัติอุทยานแห่งชาติ การกำหนดสถานะบุคคลที่มีการสำรวจตกหล่นทำให้พี่น้องบางคนไม่ได้รับสัญชาติไทย
จากช่วงเวลาท่ีต้องสูญเสียสัตว์เลี้ยงมากกว่า 30 ตัว ซึ่งประเมินมูลค่านับล้านบาท ขณะที่พวกเขามีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยเพียงปีละไม่เกิน 50,000 บาท จะเข้าใจถึงหัวจิตหัวใจที่ทำให้พวกเขาซึ่งรักในวิถีธรรมชาติต้องระดมกำลังมาปกป้องชีวิตสัตว์เลี้ยงของพวกผม
วิถีตามปกติของชาวบ้านกะเหรี่ยงปิล๊อกคี่ ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นชุมชนที่ต้องการความสงบ เป็นชุมชนต้นน้ำที่นำหลักกสิกรรมธรรมชาติมาพัฒนาคุณภาพชีวิต และเริ่มเห็นผลสำเร็จในการแก้ปัญหาใช้สารเคมี มีการทำฝายชะลอน้ำ ฝายดักตะกอน สร้างป่าเปียกเป็นแนวกันไฟป่า มีการปลูกป่าเพิ่มเติมในพื้นที่ทำกิน ทำให้ช่วงวิกฤตโควิดที่ผ่านมา ชาวบ้านจำนวนมากสามารถฝ่าวิกฤต ด้วยการพึ่งพาตนเองและแบ่งปันได้ ลูกหลานคนรุ่นใหม่ก็พากันกลับมาพัฒนาแปลงเกษตรให้มีผลผลิตมากขึ้น ชาวบ้านประมาณกว่า 50 ครอบครัวทำการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลัก โดยจะเลี้ยงวัว และควายในทุ่งหญ้าริมขอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์ แล้วพอหลังฤดูฝน น้ำในเขื่อนจะสูงท่วมพื้นที่ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ก็จะย้ายสัตว์ไปหากินในป่าบนภูเขาแทน จำนวนสัตว์เลี้ยงจากการสำรวจของปศุสัตว์ อำเภอ มีควายมากกว่า 1,500 ตัว วัวมากกว่า 1,100 ตัว ส่วนอาชีพรองของชาวบ้านคือ ทำการเพาะปลูก ทำไร่มันสำปะหลัง สวนเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ปลูกผัก ข้าวไร่ และพืชผลการเกษตร และมีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาการทำกสิกรรม ช่วยแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยที่ทำกิน และมีการสร้างกระบวนการความเข้าใจระหว่างชาวบ้านและอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางที่ ดีขึ้นหลังมีปัญหามายาวนานเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน
จนกระทั่ง ประมาณเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ชาวบ้านพบว่า วัว ควาย ที่เลี้ยงไว้บนภูเขา ได้ถูกเสือ กัด กิน และสูญหายไปหลายตัว ซึ่งจำนวนมากกว่า 30 ตัว เป็นปัญหาใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก และยิ่งดูเหมือนนับวัน เสือก็จะยิ่งรุกเข้า มาหากินใกล้หมู่บ้านมากขึ้นๆทุกที สร้างความหวาดผวาให้กับชาวบ้านลูกเด็กเล็กแดงเป็นอย่างมาก ชาวบ้านส่วนหนึ่งให้ข้อมูลเสริมว่า “ปีไหนมันสัมปะหลังราคาไม่ดี เม็ดมะม่วงหิมพานต์ราคาไม่ดี ก็มีวัวนี่แหละไว้ขาย เอาเงินจากการขายวัวขายควายนี้ไว้ใช้จ่ายในครัวเรือน ไว้ส่งลูกเรียน เพราะฉะนั้นเราจึงหวังผลจากการเลี้ยงวัวเลี้ยงควายนี่แหละค่ะ”
เมื่อมีเสือจำนวนมากกว่าปกติเข้ามากินสัตว์เลี้ยง ชาวบ้านจึงต้องสร้างเถียงนา หรือ กระต๊อบ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยในการเฝ้าระวังความปลอดภัยให้กับสัตว์เลี้ยงในหลายจุดในป่าบนเขา จึงนำมาถึงเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องรักษาทรัพย์สินและชีวิตของพวกเขาเอง ความพยายามในการป้องปกทรัพย์สินอันมีค่าของพวกเขากำลังถูกตีค่าจากสังคมและสื่อมวลชนว่าเป็นความโหดร้ายป่าเถื่อน หากเปิดใจ เห็นใจจะเข้าใจถึงความเป็นจริงในมุมชีวิตของชาวบ้านอย่างแท้จริง
และในปัจจุบันกรณีเสือกินวัวชาวบ้าน ชาวบ้านจึงยิงเสือเพื่อไม่ให้มากินวัวและเป็นอันตรายต่อชาวบ้าน ลูกเด็กเล็กแดง เมื่อยิงแล้วชาวบ้านนำเนื้อมาทำอาหารกิน เพื่อไม่ให้การตายของเสือนั้นต้องสูญเปล่า ซึ่งชาวบ้านผู้กระทำผิด จำนวน 5 รายได้มอบตัว รับสารภาพ รอวันติดคุก แต่เรื่องกลับไม่จบที่ ชาวบ้านผู้กระทำความผิดถูกดำเนินคดี
หากแต่ว่า วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบรุี ได้เอามติ ครม. 30 มิถุนายน 2541 เป็นป้ายไวนิลขนาดใหญ่มาติดไว้ที่หมู่บ้าน บ้านพักอาศัย และออกหนังสือคำสั่งขับไล่ครอบครัว ลูกเมียญาติพี่น้องของผู้กระทำความผิด 5 รายให้ย้ายบ้านเรือนออกไปจากเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม
ซึ่งตามหลักกฎหมายพวกผมทั้ง 5 คน ที่กระทำความผิด รอคำพิพากษาของศาล ก็เป็นไปตามความผิดเฉพาะตัวที่เขากระทำความผิด คือความผิดยิงเสือ มีซากสัตว์ หากแต่ซึ่งลูกเมีย พ่อแม่ญาติพี่น้องของกระผมไม่ได้กระทำความผิดด้วย แต่ต้องถูกเหมาเข่ง ยัดเยียดให้รับผิดชอบความผิดร่วมด้วย โดยถูกสั่งให้รื้อบ้านย้ายออกจากที่ทำกินที่เขาอยู่อาศัยมาแต่เกิด ต้องออกจากพื้นที่ภายใน 30 วัน ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อครอบครัวของพวกผม ที่มีทั้งพ่อแม่ญาติพี่น้องลูกหลานตัวเล็กตัวน้อย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการตีตราเลือกปฎิบัติิ และด้วยเหตุนี้มันคือโอกาสที่ทางเจ้าหน้าที่อุทยานใช้ช่วงจังหวะนี้ เพื่อขับไล่ชาวบ้านให้ออกจากเขตอุทยานตามเจตนารมณ์ที่เขาตั้งใจไว้
เนื่องจากสถานการณ์การสู้รบในประเทศเมียนมาร์ สถานการณ์สู้รบลุกลามบานปลายตลอด พื้นที่รอยต่อเขตผืนป่าแนวตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมาร์ตั้งแต่ชายแดนเขตพื้นที่ติดจังหวดแม่ฮ่องสอน เลาะผ่านจังหวัดตากลงมาถึงชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี จึงเป็นสาเหตุให้สัตวป์่าในเขตอุทยานแห่งชาติ ทะยินทะยี ประเทศเมียนมาร์ ที่มีผืนป่าติดต่อกับเขตไทย ได้หนีเสียงปืน เสียงระเบิดที่ดังอยู่อย่างต่อเนื่อง การสู้รบได้ไล่กวาดต้อนสัตว์ป่าจากเขตฝั่งเมียนมาร์ลงมาจากภาคเหนือ ถึงภาคตะวนัตก และทะลักเข้าเขตป่าอุทยานฝั่งไทย ไม่ต่างอะไรกับชาวบ้านฝั่งเมียนมาร์ ที่หนีตายข้ามมาหลบอยู่ฝั่งไทยเช่นเดียวกัน ขาดแคลนทั้งอาหารและที่อยู่อาศัย
เมื่อสัตว์ป่าโดยเฉพาะเสือเมื่ออพยพมาอยู่หนาแน่น ร่วมกับชาวบ้านในเขตดั้งเดิม จึงเกิดความอันตราย ความหวาดกลัวต่อชีวิตผู้คน ชาวบ้าน ลูกเด็กเล็กแดง และสัตว์เลี้ยงของชาวบา้น หากเป็นกรณีช้างป่ามากินพืชไร่ของชาวบ้าน ชาวบ้านก็มีวิธีจัดการโดยใช้ประทัดจุดทำให้เสียงดัง เพื่อขับไล่ได้บ้้าง แต่ในกรณีที่เสือหิวอาหาร เวรกรรมจึงตกอยู่กับพวกผมตาดำๆ ที่ไม่สามารถจัดการอะไรได้เลย และยังต้องได้รับผลกระทบถูกดำเนินคดีติดคุก และไล่ที่อยู่อาศัยที่ทำกิน
ดังนั้นครอบครัวผม ตลอดจนญาติพี่น้องชาวบ้านหมู่บ้านปิล๊อกคี่ หมู่ 4 ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ขอความเป็นธรรมและความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดขึ้น กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อหาแนวทางออกในการดำเนินชีวิตของพวกผมและชาวบ้านต่อไป พวกผมขอขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้