วันที่ 18 มิ.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิต ฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การชุมนุมหลังจัดตั้งรัฐบาล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-16 มิ.ย. 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการชุมนุมต่อต้านนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลใหม่ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 26.72 ระบุว่า จะมีการชุมนุมต่อต้าน แต่ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น รองลงมา ร้อยละ 25.42 ระบุว่า จะไม่มีการชุมนุมต่อต้านใดๆ ทั้งสิ้น ร้อยละ 25.19 ระบุว่า ไม่มั่นใจ ร้อยละ 22.44 ระบุว่า จะมีการชุมนุมต่อต้าน และมีความรุนแรงเกิดขึ้น และร้อยละ 0.23 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านสิ่งที่จะทำหากรัฐบาลใหม่ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองที่เลือก พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.63 ระบุว่า ยอมรับในรัฐบาลใหม่อย่างเต็มใจ รองลงมา ร้อยละ 22.52 ระบุว่า ไม่ยอมรับ แต่จะไม่เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใหม่ ร้อยละ 16.87 ระบุว่า จำใจต้องยอมรับในรัฐบาลใหม่ ร้อยละ 14.43 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาล ร้อยละ 7.02 ระบุว่า ไม่ยอมรับ และจะเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใหม่แน่นอน และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
สำหรับความกังวลของประชาชนหากเกิดการชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลใหม่ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 56.87 ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง รองลงมา ร้อยละ 37.18 ระบุว่า การเกิดความรุนแรงจากการชุมนุม (เช่น การทำลายทรัพย์สิน การทำร้ายซึ่งกันและกัน) ร้อยละ 32.98 ระบุว่า การเกิดความขัดแย้งของคนในชาติ ร้อยละ 29.16 ระบุว่า การก่อรัฐประหาร ร้อยละ 21.45 ระบุว่า การกระทำที่ไม่เคารพกฎหมาย และ/หรือละเมิดสิทธิผู้อื่น ร้อยละ 18.63 ระบุว่า สภาพการจราจรที่ติดขัดจากการชุมนุม ร้อยละ 12.21 ระบุว่า การแทรกแซงจากต่างชาติ ร้อยละ 3.82 ระบุว่า ไม่มีความกังวล และร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเบื่อหน่ายกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 57.71 ระบุว่า เบื่อมาก รองลงมา ร้อยละ 20.46 ระบุว่า ค่อนข้างเบื่อ ร้อยละ 12.75 ระบุว่า ไม่เบื่อเลย ร้อยละ 8.09 ระบุว่า ไม่ค่อยเบื่อ และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ