รายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสาม้ญพิจาณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ที่มี สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (รมช.) การคลัง เป็นประธาน กมธ.วิสามัญฯ ได้ สรุปผลการพิจารณาร่า พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบปประมาณ พ.ศ.2564 ในชั้น กมธ.วิสามัญฯ โดยเสนอเข้าสู่ที่ประชุุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ในวันที่ 16-18 ก.ย. 2563
โดยมีรายละเอียดที่สำคัญตามเอกสารรายงานของ กมธ.วิสามัญ ดังนี้
1.งบประมาณที่ตั้งไว้ จำนวน 3.3 ล้านล้านบาท
2.รวมปรับลดตามมติของคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญฯ จำนวน 31,965.54 ล้านบาท
3.จัดสรรเพื่อให้ส่วนราชการตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอตามความเห็นเหมาะสมและจำเป็น จำนวน 17,419 ล้านบาท
4.จัดสรรให้หน่วยงานของรัฐสภา ศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอัยการ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ จำนวนน 509 ล้านบาท
5.คงตั้งงบประมาณไว้ จำนวน 3.285 ล้านล้านบาท
มีกรรมาธิการสงวนความเห็น จำนวน 36 คน และ มี ส.ส.สงวนคำแปรญัตติ 182 คน
สำหรับภาพรวมที่ กมธ.วิสามัญฯ ได้ปรับลดลงรวมจำนวน 24,789.52 ล้านบาท
1.กระทรวงกลาโหม 7,788.5 ล้านบาท (เดิมตั้งไว้ 115,528 ล้านบาท เหลือ 107,740 ล้านบาท)
2.กระทรวงมหาดไทย ปรับลด 3,863.46 ล้านบาท (เดิมตั้งไว้ 261,708 ล้านบาท ปรับงบฯเพิ่มเป็น 268,501 ล้านบาท)
3.กระทรวงศึกษาธิการ ปรับลด 1,853.3 ล้านบาท (เดิมตั้งไว้ 131,708 ล้านบาท เหลือ 129,854 ล้านบาท)
4.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปรับลด 1,796.45 ล้านบาท (เดิมตั้งไว้ 92,774 ล้านบาท เหลือ 90,978 ล้านบาท)
5.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปรับลด 1,208.59 ล้านบาท (เดิมตั้งไว้ 48,347 ล้านบาท เหลือ 47,138 ล้านบาท)
6.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปรับลด 1,175.76 ล้านบาท (เดิมตั้งไว้ 32,150 ล้านบาท เหลือ 30,974 ล้านบาท)
7.กระทรวงคมนาคม ปรับลด 854.48 ล้านบาท (เดิมตั้งไว้ 58,804 ล้านบาท เหลือ 57,950 ล้านบาท)
8.กระทรวงสาธารณสุข ปรับลด 846.75 ล้านบาท (เดิมตั้งไว้ 27,771 ล้านบาท เหลือ 26,924 ล้านบาท )
9.กระทรวงวัฒนธรรม ปรับลด 783.24 ล้านบาท (เดิมตั้งไว้ 5,351 ล้านบาท เหลือ 4,567 ล้านบาท)
10.สำนักนายกรัฐมนตรี ปรับลด 560.24 ล้านบาท (เดิมตั้งไว้ 29,922 ล้านบาท เหลือ 29,362 ล้านบาท)
เอกสารยังระบุในส่วนของ กระทรวงกลาโหม ที่เป็นกระทรวงที่ถูกปรับลดงบประมาณมากที่สุด 7,788.5 ล้านบาท โดยมีหน่วยงานที่ถูกปรับลด ดังนี้
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม งบประมาณตั้งไว้ 5,750 ล้านบาท ปรับลด 215 ล้านบาท
กองทัพบก งบประมาณที่ตั้งไว้ 48,708 ล้านบาท ปรับลด 1,667 ล้านบาท อาทิ งบรายจ่ายอื่น ตั้งไว้ 29,573 ล้านาท ปรับลด 1,456 ล้านบาท ในส่วนของค่าใช้่จ่ายการดำรงสภาพกำลังกองทัพ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และศึกษาต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการเสิรมสร้างกำลังกองทัพ
กองทัพเรือ ตั้งไว้ 23,906 ล้านบาท ปรับลด 4,725 ล้านบาท
กองทัพอากาศ งบประมาณที่ตั้งไว้ 26,940 ล้านบาท ปรับลด 986 ล้านบาท
กองบัญชาการกองทัพไทย งบประมาณตั้งไว้ 9,626 ล้านบาท ปรับลด 180 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯ ได้มีข้อสังเกตแนบท้ายรายงานของ กมธ.วิสามัญ ในส่วนของ กระทรวงกลาโหม ได้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า ควรปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ทหารทำหน้าที่ในการป้องกันราชอาณาจักร การรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์แห่งชาติ และมีแผนปฏิรูปกองทัพที่มีเป้าหมายชัดเจนในการลดจำนวนกำลังพลให้มีเฉพาะที่จำเป็นและเพิ่มศักยภาพประสิทธิภาพกองทัพด้วยการใช้เทคโนโลยีและอาวุธที่มีความทันสมัยเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาาติ
อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กองทัพเรือได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่รัฐบาลต้องใช้จ่ายงบประมาณในการแก้ขไปัญหาสำคัญต่างๆ หลายด้าน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจแลเะปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่จะยังคงส่งผลต่อเนื่อง กองทัพเรือจึงพิจารณาปรับแผนการดำเนินโครงการ โดยจะขอชะลอการจ่ายเงินงวดแรกในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ไปจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ.2565
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินโครงการจัดหาเรือดำน้ำจำนวน 2 ลำ เป็นไปตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วจึงให้กองทัพเรือไปเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้รับจ้างเพื่อให้กองทัพเรือสามารถดำเนินการได้ต่อไป
ทั้งหมดคือภาพรวมในชั้น กมธ.วิสามัญฯ ที่หั่นงบฯ ที่ไม่สำคัญในแต่ละกระทรวง ก่อนที่สภาฯ จะลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อส่งให้วุฒิสภาพิจารณาในวันที่ 21-22 ก.ย. หากเป็นไปตามกำหนดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะนำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณขึ้นทูลเกล้าฯ ในวันที่ 29 ก.ย. เพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง