เว็บไซค์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ ลงนามพ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยนายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค ได้แจ้งต่อนายทะเบียน ตามมาตรา 38 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 กรณีนายวิเชฐ ตันติวานิช ได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค ตามข้อบังคับพลังประชารัฐ พ.ศ. 2561 ข้อ 14 วรรคหนึ่ง (4) ดังนั้นกรรมการบริหารพรรคจึงเหลือจำนวน 23 คน
(วิเชฐ คนที่ 4 จากซ้ายมือ)
ทั้งนี้ นายวิเชฐ เป็นอดีตผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) และดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ เมื่อปี 2561
สำหรับกรรมการบริการพรรรคพลังประชารัฐมีทั้งสิ้น 23 คน ประกอบไปด้วย
1. นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค
2. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค
3. นายพรชัย ตระกูลวรานนท์ เหรัญญิกพรรค
4. นายวิเชียร ชวลิต นายทะเบียนสมาชิกพรรค
5. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ กรรมการบริหารพรรค
6. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ กรรมการบริหารพรรค
7. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการบริหารพรรค
8. นายอิทธิพล คุณปลื้ม กรรมการบริหารพรรค
9. นายชวน ชูจันทร์ กรรมการบริหารพรรค
10. นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ กรรมการบริหารพรรค
11.นายณพพงศ์ ธีระวร กรรมการบริหารพรรค
12. นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ กรรมการบริหารพรรค
13. นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ กรรมการบริหารพรรค
14. นางวลัยพร รัตนเศรษฐ กรรมการบริหารพรรค
15. นายชาญวิทย์ วิภูศิริ กรรมการบริหารพรรค
16. นายสันติ กีระนันทน์ กรรมการบริหารพรรค
17. นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล กรรมการบริหารพรรค
18. นายองอาจ ปัญญาชาติรักษ์ กรรมการบริหารพรรค
19. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กรรมการบริหารพรรค
20. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ กรรมการบริหารพรรค
21. นางสาวธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ กรรมการบริหารพรรค
22. นายสรวุฒิ เนื่องจํานงค์ กรรมการบริหารพรรค
23. นายอนุชา นาคาศัย กรรมการบริหารพรรค
'วิเชฐ' แจงลาออกจาก กรรมการบริหาร เพราะต้องการโฟกัสงานสถาบันปัญญาประชารัฐ
ขณะที่ นายวิเชฐ ตันติวานิช เปิดเผยกับ 'วอยซ์ออนไลน์' ว่า ตนได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ เพื่อใช้เวลากับงานในหน้าที่ ผู้อำนวยการหลักสูตรปัญญาประชารัฐ ของสถาบันปัญญาประชารัฐได้อย่างเต็ม และยืนยันว่า ไม่ได้มีเหตุใดแอบแฝง ทุกอย่างเป็นเรื่องที่หารือกันในพรรคแล้ว อีกทั้งสถานะสมาชิกพรรคของตนก็ยังมีอยู่
"เรื่องนี้ไม่มีอะไรแอบแฝง เราเพียงต้องการโฟกัสงานวิชาการของสถาบันปัญญาประชารัฐให้ดี เพราะคนทำยังน้อย อีกทั้งก็มีงานอื่นๆ ที่ต้องให้เวลาดูแลด้วย" นายวิเชฐ กล่าว
พร้อมกับระบุว่า สถาบันปัญญาประชารัฐเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์รวบรวมความคิดเห็นของคนในสังคมไทยที่สนใจเรื่องบ้านเมือง มีความเห็นอยากแก้ปัญหาแต่ไม่อยากเข้ามาทำงานการเมือง ซึ่งมีคนจำนวนนี้อยู่เยอะ ศูนย์ฯ นี้จึงจะเป็นแหล่งรวบรวมความคิดความเห็นนั้น และทำงานร่วมกับภาคการเมืองได้
"คนสนใจการเมืองเยอะ แต่ไม่อยากเล่นการเมืองก็มีเยอะ และพวกเขาก็มีความคิดความเห็น ดังนั้นสถาบันฯ จึงเป็นเหมือนศูนย์รวมของคนที่ต้องการแสดงความคิดเห็น" นายวิเชฐ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :