ไม่พบผลการค้นหา
เรื่องวุ่นๆของ ‘หมูเถื่อน’ กลับมาถูกพูดถึงในสังคมอีกครั้ง หลังรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน โดยมีหน่วยงานที่เป็นด่านหน้าในการกำกับดูแลเรื่องนี้คือ ‘กระทรวงเกษตรและสหกรณ์’ ประกาศปราบปรามหมูเถื่อน ที่ไหลทะลักเข้ามาเกลื่อนตลาดไทย ซึ่งเรื่องนี้ยิ่งมีการขุดคุ้ยมากเท่าไหร่ ยิ่งเอี่ยวโยงไปยังตัวละครใหญ่ๆมากขึ้นเรื่อยๆ

ตามคำยืนยันของ พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ ดีเอสไอ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับมอบอำนาจในการดำเนินคดีกวาดล้าง เมื่อวันที่ 28 พ.ย. โดยยืนยันว่า “กลุ่มนายทุนที่ทางดีเอสไอสืบค้น และเร่งกวาดล้างนั้น มีบุคคลระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ เข้าไปเกี่ยวข้อง”

สำหรับภาพรวมการเข้าตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม - 29  พฤศจิกายน 2566 เข้าตรวจสอบทั้งสิ้น 2,332  แห่ง มีการจับกุมดำเนินคดีลักลอบนำเข้าซากสุกรไปแล้ว ทั้งหมด 97 ครั้ง เป็นซากของกลางทั้งหมด 4,343,620 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 454,130,867 บาท ซึ่งได้ดำเนินการทำลายซากสุกรของกลางที่ยึดอายัดไว้ได้รวมถึงของกลางในคดีพิเศษ 59/2566 รวมทั้งสิ้นจำนวนมากกว่า 4 ล้านกิโลกรัม  

ทั้งนี้การนำเข้าหมูในประเทศไทย จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นและสเปน โดยมีจำนวนดังนี้

  • ปี 2564 นำเข้า 1,711,623.10 กิโลกรัม
  • ปี 2565 นำเข้า 4,341,417.77 กิโลกรัม
  • ปี 2566 นำเข้า  8,092,369.91 กิโลกรัม
  • รวม 2564 - 2566 รวม 14,145,410.78 กิโลกรัม

จากประเด็นร้อนดังกล่าว ‘วอยซ์’ ได้สัมภาษณ์ ‘ไชยา พรหมา’ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ที่กำกับดูแลกรมปศุสัตว์  ถึงประเด็นหมูๆที่ไม่หมู ว่าต้นสายของปัญหาและปลายทางออกจะมีทิศทางอย่างไร

-หมูเถื่อนเข้ามาในไทยเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ หนักช่วงไหน

ไชยา : ปัญหาหมูเถื่อนนั้นจากข้อมูลกรมปศุสัตว์ในเบื้องต้น พบว่าเริ่มจากประเทศไทยพบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever : ASF) เมื่อต้นปี พ.ศ. 2565 ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ฟาร์มสุกร ทำให้หมูภายในประเทศมีจำนวนลดลง ไม่เพียงพอต่อผู้บริโภคภายในประเทศ  ประกอบกับต้นทุนการผลิตสุกรต่อตัวที่ต่างประเทศนั้นถูกกว่าในประเทศอย่างมาก

จึงเริ่มมีผู้ลักลอบนำเนื้อหมูจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ โดยคาดว่าน่าจะมีนำเข้าจำนวนมากในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 เป็นต้นมาจนถึงราวๆ เดือนกันยายน 2565  จากการตรวจสอบที่ผ่านมาพบว่ามีการนำหมูเถื่อนเข้ามาพักเก็บไว้ห้องเย็น ซึ่งประเทศที่พบการลักลอบนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศบราซิล อิตาลี รัสเซีย สเปน และเยอรมนี ตามลำดับ

สำหรับแรงจูงใจในการนำเข้าหมู ต้องยอมรับว่าในช่วงที่มีโรคระบาด มีกลุ่มพ่อค้าที่อาศัยในช่วงสินค้าขาดแคลน ซึ่งขณะนั้นกำลังผลิตของฟาร์มในประเทศก็ไม่เพียงพอ จึงเกิดขบวนการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อน ซึ่งส่วนใหญ่ที่ทะลักเข้าเป็นชิ้นส่วนที่ต่างประเทศไม่นิยมบริโภค เช่น หนังหมูหรือเครื่องในหมู โดยมีการสำแดงเป็นเนื้อสัตว์ชนิดอื่น เช่น หัวปลาแซลม่อน เพราะหากแจ้งเป็นเนื้อหมูจะถูกตรวจสอบจากกรมปศุสัตว์ และมีขั้นตอนยุ่งยากมากกว่า ต้องแจ้งแหล่งกำเนิดสินค้าว่ามาจากประเทศอะไร แต่ชิ่นส่วนของปลาไม่จำเป็นต้องแจ้งพิกัดว่าต้นทางมาจากประเทศอะไร

-การเข้ามาของหมูเถื่อน เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของ AFS หรือไม่ 

ไชยา: วันที่ 11  มกราคม 2565 เป็นวันที่ประเทศไทยประกาศพบการระบาดของโรค ASF  กรมปศุสัตว์ได้มีการตรวจพบเชื้อ ASF จากสินค้าที่มีการลักลอบนำเข้ามาในพื้นที่ชายแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และจากการตรวจยึดจากผู้โดยสารที่ลักลอบนำติดมากับสัมภาระบริเวณท่าอากาศยานต่างๆ และในห้องเย็นที่เก็บซากสัตว์

ก็มีการตรวจพบในบางแห่งแต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นสินค้าที่ลักลอบนำเข้ามาจากกรณีหมูเถื่อนหรือไม่ หรือหมูเถื่อนเป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของ ASF ในประเทศโดยตรง 

-โรค AFS ระบาดทำให้หมูขาดตลาดนานเท่าไร การแพร่ระบาดยุติแล้วหรือไม่ เมื่อไร

ไชยา: จากการประเมินพบว่าเมื่อประเทศไทยพบการระบาดของโรค ASF เมื่อต้นปี 2565 ซึ่งก่อนหน้านี้มีข่าวการระบาดโรค ASF จากประเทศจีน ตั้งแต่ปลายปี 2561 จนระบาดลามมายังประเทศเพื่อนบ้านทำให้อุตสาหกรรมสุกรเริ่มชะลอการเลี้ยง เริ่มลดกำลังการผลิตเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของฟาร์มในการนำโรคเข้าฟาร์มและเพื่อลดความสูญเสีย ทำให้ราคาสุกรหน้าฟาร์มเพิ่มสูงขึ้น มาจนปี 2566 กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการควบคุมโรคอย่างแข็งขัน ทำให้สถานการณ์ของโรคดีขึ้น 

โดยกรมปศุสัตว์มีการติดตามสำรวจประชากรสุกรทั้งประเทศ พบว่าปัจจุบันในส่วนพ่อแม่พันธุ์สุกรมีจำนวนลดลงร้อยละ 30 อย่างไรก็ตามการระบาดในปัจจุบันยังไม่ถือว่ายุติแต่อยู่ในสภาวะภายใต้การควบคุมป้องกันโรคได้ และยังมีพบการระบาดในรายเล็กรายย่อย บางพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งมีพื้นที่ติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้านหรือจังหวัดที่ติดต่อกัน

- ปัจจุบันสัดส่วนของผู้เลี้ยงหมู เป็น contact farming กับบริษัทใหญ่เท่าไร เป็นเกษตรกรเจ้าใหญ่เท่าไร เป็นเกษตรรายย่อยเท่าไร 

ไชยา: ปัจจุบันไม่สามารถระบุชัดเจนว่าเป็น contact farming กับบริษัทใหญ่เท่าไร แต่ทั้งระบบมีจำนวนแม่สกุรกว่า 1.1 ล้านตัว แบ่งเป็นรายเล็กกับรายกลางที่มีจำนวนสุกรในประเทศไทยมี ดังนี้

- รายย่อยที่เลี้ยงน้อยกว่า 50 ตัว มี 136,193 ฟาร์ม

-รายเล็กที่เลี้ยงมากกว่า 50-100 ตัว มี 10,278 ฟาร์ม

-รายขนาดกลางที่เลี้ยงมากกว่า 100-5,000 ตัว มี 3,761 ฟาร์ม

-รายใหญ่ที่เลี้ยงมากกว่า 5,000 ตัว มี 295 ฟาร์ม

https://lh7-us.googleusercontent.com/eHAonhMAoRDTJ__gvTfEgG5ps-A6z5hPEPXT-m6J66bCw614QdIsq5aIPLq6hXlM60sxaEA1Fv2LGsadHfF69qOrbm4lPu6YY-vetOguId2S6UmEV8ISd3AjIixgUCzeNjU2Ii584j4_e0JA5siYCSE


  • จำนวนสุกรและฟาร์มในประเทศ

-การเลี้ยงหมูในตลาดถือว่า อยู่ในสถานการณ์ที่ปกติหรือยัง หรือยังขาดตลาดอยู่ 

ไชยา : ในปัจจุบันถือว่าเข้าสู่สภาวะปกติ มีปริมาณสุกรในประเทศเริ่มกลับมาใกล้เคียงกับก่อนกิดการระบาด คือมีสุกรแม่พันธุ์ประมาณ 1.1 ล้านตัว และสุกรทั้งหมดประมาณ 12 ล้านตัว ยืนยันว่าตอนนี้ปริมาณเนื้อหมูในตลาดยังคงเพียงพอสำหรับผู้บริโภค 

-ประเด็นหมูเถื่อน กรมปศุสัตว์มีการตั้งคณะกรรมการสอบเจ้าหน้าที่ภายในหรือไม่ ผลการตรวจสอบเป็นอย่างไร

ไชยา: หลังจากมีการตรวจสอบพบว่ามีการลักลอบเข้ามาตั้งแต่ปี 2565 จำนวน 2,000 ตู้ ซึ่งขณะนี้มีการตรวจสอบย้อนหลังว่าบริษัทนำเข้าที่เป็นคดีนั้น นำเข้ามาอย่างไรและมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใด ด้วยเหตุนี้ทางกรมปศุสัตว์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ภายในกรมปศุสัตว์ก็จะมีการดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

ยืนยันว่าเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีต้องการที่ปราบปรามอย่างจริงจัง โดยได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดห้ามปล่อยปละละเลย โดยเฉพาะคนในหน่วยงานภาครัฐหากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเข้าหมู่เถื่อนต้องรับผิดชอบทางกฎหมาย เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศและประชาชน 

-ต้นทุนการเลี้ยงหมูของเกษตรกรไทยค่อนข้างสูง รัฐบาลจะช่วยแก้ไขอย่างไรหรือไม่

ไชยา: คณะกรรมการนโยบายสุกรและผลิตภัณฑ์สุกร (Pig Board) ที่มีผู้แทนเกษตรรายย่อย ร่วมกับภาคราชการ ภาคเอกชน ผู้แทนองค์กร ได้มีการประชุมคณะทำงานไปเมื่อวันที่ 27 พศจิกายนที่ผ่านมา โดยคณะทำงานได้เห็นชอบกิจกรรมการรักษาเสถียรภาพราคา โดยมีข้อหนึ่งคือกิจกรรมเพิ่มการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงหมู ซึ่งจะมีรายละเอียดของกิจกรรมในวาระต่อ ๆ ไป 



พิชิตศักดิ์ แก่นนาคำ
ผู้สื่อข่าว Voice Online
91Article
1Video
0Blog