ไม่พบผลการค้นหา
ที่ประชุมรัฐสภา สภาแก้ไขรัฐธรรมนูญ เคาะแบ่ง 200 เขต เลือกตั้ง ส.ส.ร. 200 คน กรุงเทพฯ มี ส.ส.ร.มากสุด 17 คน ขณะที่ ส.ว.ขวางการแก้ไข รธน.ที่เสนอให้มีการแก้ไขหมวด1-2 ได้ ค้านห้ามแก้ 38 มาตราเกี่ยวกับพระราชอำนาจ ที่สุดรัฐสภาถกแก้ รธน.จบรายมาตราในวาระ 2 รอโหวตวาระ 3 หลังพ้น 15 วัน

วันที่ 25 ก.พ. ที่รัฐสภา ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีการพิจารณา "ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ... ในวาระที่สอง  พิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา เป็นวันที่ 2 โดยในการพิจารณา มาตรา 256/5 เกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) นั้น

วิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กรรมาธิการ ขอสงวนความเห็น ว่า ขอสงวนคำแปรญัตติจากกรรมาธิการเสียงข้างมาก โดยให้เลือก ส.ส.ร.โดยใช้เขตเลือกตั้งจังหวัด และเสนอให้มีการแบ่งเขตทั้งหมด 200 เขต พิจารณาจากหลักฐานจำนวนราษฎรตามจังหวัด จังหวัดใดมีจำนวนประชาชนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ให้มี ส.ส.ร.ได้ 1 คน ทั้งนี้ ประชากรไทย 66 ล้านคนเศษนั้น จะมีจังหวัดที่มี ส.ส.ร. 1 คน 24 จังหวัด ส.ส.ร. 2 คน 24 จังหวัด ส่วน กทม. มีมากที่สุด 17 คน

การแบ่ง ส.ส.ร.เป็น 200 เขต ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก และทุกคนควรจะมีสิทธิเลือก ส.ส.ร.ได้ 1 คนเท่ากัน นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะหากมีการกำหนดเป็นเขตใหญ่ ส.ส.ร.จะเป็นตัวแทนของประชาชนได้ยาก ต่างจากเขตย่อย ที่ตัวแทน ส.ส.ร.จะเข้าถึงประชาชนได้ง่ายกว่า ที่สำคัญ ยังเห็นว่า การแบ่งเขตย่อย ยังสามารถกันอิทธิพลทางการเมืองได้มากกว่าแบ่งเขตใหญ่

เอกภพ ก้าวไกล ภูมิใจไทย รัฐสภา 608.jpg

เพื่อไทย สังหรณ์ ร่างแก้ รธน.ไม่ผ่านวาระ 3

วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า เห็นด้วยกับการมี ส.ส.ร.ทุกจังหวัด ส่วนการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.ร.ยังมีความได้เปรียบเสียเปรียบกันอยู่หลายประการ เช่น การแบ่งเขตโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่สร้างความได้เปรียบเสียเปรียบกันได้อยู่

วิสาร กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จะผ่านวาระ 2 ไปได้ แต่สำหรับวาระ 3 มีความรู้สึกสังหรณ์ ว่าจะไม่ผ่าน และวันที่ 3 มี.ค.นี้ กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) 2560 จะส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยว่า รัฐสภามีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าไม่ผ่านแน่นอน และหากไม่ผ่านขอมีการตั้งกรรมาธิการร่วมเพื่อเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อ

ทั้งนี้ ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ลงมติเห็นด้วยกับกรรมาธิการที่ขอสงวนความเห็น 394 ต่อ 224 งดออกเสียง 28 และเห็นชอบตามความเห็นการเสนอแก้ไขของ วิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) 395 ต่อ 18 งดออกเสียง 232 ไม่ลงคะแนน 3 เสียง

อมรัตน์ ก้าวไกล คารม งูเห่า ภูมิใจไทย รัฐธรรมนูญ รัฐสภา 7CB-AC8B-FE90977A2F49.jpeg

ส.ว.ขวางห้ามแตะ 38 มาตรา เกี่ยวกับพระราชอำนาจ ชี้ ไม่ได้มีเฉพาะหมวด 1 หมวด 2 

จากนั้นมีการพิจารณา มาตรา 256/13 วรรคห้า การจัดทาร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะกระทำมิได้ โดยมีผู้อภิปรายจำนวนมาก

ทั้งนี้ สมชาย แสวงการ ส.ว. ในฐานะกรรมาธิการ ผู้สงวนความเห็นแปรญัตติขอเพิ่มความ กล่าวว่า เรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ไม่ได้มีแค่ในหมวด 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 แต่มีในมาตราอื่นๆ อย่างน้อยกว่า 38 มาตรา ปัจจุบันมีความพยายามเคลื่อนไหวให้ประชาชนหลงผิด อ้างต้องการปฏิรูปสถาบัน โดยยก 10 ข้อเสนอ บอกจะทำให้สถาบันมีความมั่นคง ซึ่งสร้างความไม่สบายใจให้สมาชิกและประชาชนอย่างมาก

จึงเสนอให้เพิ่มความในมาตรา 256/13 วรรคห้า ว่า ในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้มีความรัดกุม ชัดเจน ป้องกันการตีความการบิดเบือน อันจะนำไปสู่ความขัดแย้งตั้งแต่ต้น โดยรัฐธรรมนูญปี 2560 รวมกว่า 38 มาตรา ต้องคงไว้เช่นเดียวกับที่เขียนว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 1 และ หมวด 2 จะกระทำมิได้ โดยบังคับไว้ เพื่อให้เกิดความสบายใจของประชาชน

สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ 8.jpgรังสิมันต์ โรม รัฐธรรมนูญ รัฐสภา 686488.jpeg

'ก้าวไกล' ขอแก้ปมห้ามแตะหมวด 1-2

ขณะที่ รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ขอเสนอให้ตัดการห้ามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 1 และ หมวด 2 เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ใต้รัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ที่ไม่สามารถแก้ไขเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ แต่การกำหนดห้าม จะทำให้ประชาชนสงสัย เพราะในอดีตก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด เช่น ปี 2560 ที่มีการแก้ไขร่างรัฐธรรมูญที่ผ่านประชามติแล้วในหมวดพระมหากษัตริย์ ดังนั้น การแก้ไขในหมวด 1 และ 2 จึงเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ และทำมาโดยตลอด แต่ที่ผ่านมาเราพูดเสมือนว่าไม่เคยได้ทำ เพราะเหตุใดจึงไม่ให้ ส.ส.ร.แก้ไขตามกาลสมัย ยิ่งห้ามยิ่งเป็นผลเสีย ยิ่งทำเหมือนว่าพูดไม่ได้เลย ยิ่งไม่เป็นผลดี 

รังสิมันต์ กล่าวว่า ส.ส.ร.มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ไม่ให้อำนาจแก้ไขหมวด 1 และ 2 ได้ แต่หากสภาแก้ไขรายมาตรา จะสามารถทำได้ ซึ่งถือว่าประหลาด 

กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกวุฒิสภา รัฐสภา 4-A290-D5B06835F96A.jpeg

ส.ว.เดือด 'ก้าวไกล' แตะอำนาจสถาบัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. ประท้วงว่า “มากเกินไปแล้ว พอแล้ว แตะสถาบันพระมหากษัตริย์ จนกระทั่งเลือกตั้งแพ้ทุกคราว พอเถอะนะ ถ้าอยากจะทำเรื่องพระมหากษัตริย์ ไปทำตอนหาเสียง จบไหม”

รังสิมันต์ กล่าวต่อว่า หากเห็น ส.ส.ร.ว่าเป็นอำนาจของ ประชาชน อยากล็อค อย่าบีบคอ ส.ส.ร.ให้เชื่องเหมือนพวกท่าน ให้พวกเขาได้ทำหน้าที่อย่างอิสระ ให้เขาได้ทำหน้าที่อย่างเหมาะสม 

พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ส.ว. ผู้แปรญัตติ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ต้องเป็นไปตามสถานการณ์ โดยการแก้ไขเป็นรายมาตรา แต่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่  

ทั้งนี้ นอกจากหมวด 1 และ 2 ในรัฐธรรมนูญปี 2560 ยังมีอีก 38 มาตราที่เกี่ยวกับพระราชอำนาจ จึงขอให้เพิ่มไปว่า ห้ามแก้หมวดอื่นใดในรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ หรือ ใครจะทำมิได้ ซึ่งมาตราดังกล่าว หากมีการโหวตเป็นวรรค จะดีมาก เพราะจะได้รู้ว่า ใครเอาสถาบัน ไม่เอาสถาบัน ใครจะปากอย่างใจอย่าง พระมหากษัตริย์ไทย เป็นนักประชาธิปไตยตั้งแต่องค์แรก 

พปชร.โยนหน้าที่ ส.ส.ร.พิจารณาปมพระราชอำนาจ

วีระกร คําประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ชี้แจงว่า ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้ห้ามมีการแก้ไขในหมวด 1 และ 2 อยู่แล้ว ส่วนที่มีการขอให้เพิ่มเติมเนื้อหานั้น เห็นว่าควรให้เป็นภาระของ ส.ส.ร.ที่ได้รับมอบหมายให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เราอย่าไปคิดเผื่อเขาเลยว่า เขาจะต้องใส่ตรงนั้น เพิ่มตรงนี้ ขออย่าคิดเผื่อเขา ที่มาจากประชาชน

ทำให้ สมชาย แสวงการ ส.ว. ท้วงอีกครั้งว่า การไม่มีข้อห้ามแก้ไขเกี่ยวกับพระราชอำนาจ จะเท่ากับการตีเช็กเปล่า 

“ผมเชื่อว่า ส.ว.ทั้งหมด อยากเห็นการเติม เราขอให้เติมไม่ได้เกินเลย หมวด 1 หมวด 2 ไม่พอ ผมไม่สบายใจ ขอร้องกรรมาธิการเสียงข้างมาก หากเติมเข้าไปมันเสียหายตรงไหน เพราะหากไม่เติม 38 มาตรากระเทือนแน่ ผมยอมไม่ได้”

จากนั้น วิรัตน์ รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกรรมาธิการได้เสนอให้มีการพักการประชุม 15 นาที จากนั้นที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ลงมติเห็นด้วยให้มีการแก้ไขตามกรรมาธิการเสียงข้างมาก 349 ต่อ 200 งดออกเสียง 28

เวลา 21.40 น. ที่ประชุมรัฐสภาได้ลงมติในมาตรา 256/19 ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทาขึ้นตามหมวดนี้ตกไป คณะรัฐมนตรี หรือ ส.ส. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส และ ส.ว. มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเสนอญัตติต่อรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภามีมติให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้อีกได้ การออกเสียงลงคะแนนให้ความเห็นชอบของรัฐสภาต้องได้เสียง ไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ ทั้งสองสภา ทั้งนี้ บุคคลผู้ที่เคยเป็นสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอีกมิได้ เมื่อรัฐสภามีมติอย่างหนึ่งอย่างใดตามวรรคหนึ่งแล้ว จะมีการเสนอญัตติตามวรรคหนึ่งอีกมิได้เว้นแต่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่แล้ว

โดยที่ประชุมรัฐสภามีมติ เห็นชอบตามร่างที่กรรมาธิการเสียงข้างมากที่ไม่มีการแก้ไขด้วยมติ 393 ต่อ 157 เสียง และ งดออกเสียง 12 เสียง 

จากนั้นที่ประชุมพิจารณาในมาตรา 5 ในวาระแรกเริ่ม ให้ตราพระราชกฤษฎีกากาหนดให้มีการรับสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส.ร. ตามมาตรา 256/1 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ และให้ดาเนินการตามมาตรา 256/6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

ทั้งนี้ที่ประชุมรัฐสภามีมติ 545 ต่อ 1 เสียง งดออกเสียง 12 เสียงเห็นด้วยกับร่างที่มีการแก้ไข และเห็นด้วยกับร่างของกรรมาธิการเสียงข้างมากที่มีการแก้ไข 514 เสียง 

สมคิด สมพงษ์ เพื่อไทย รัฐสภา 9-03398C7E4B78.jpegกรณิศ ธนิกานต์ พลังประชารัฐ รัฐสภา 0E3D55B2C88E.jpegรัฐธรรมนูญ แก้ไข รัฐสภา -10FD-4DDC-878B-AA25AD080AAE.jpegก้าวไกล คารม ภูมิใจไทย งูเห่า รัฐสภา โสภณ -9A3A-8F0229141030.jpeg


โหวตผ่านวาระ 2 'ชวน' ย้ำรอโหวตวาระ 3 หลังพ้น 15 วัน 

เวลา 21.50 น. พิจารณาจบร่างเรียงลำดับรายมาตราเสร็จสิ้น ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมได้ขอที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาสรุปทั้งร่างอีกครั้ง จบการแก้ไขในวาระที่สอง ทั้งนี้ มาตรา 256 (5) กำหนดว่าเมื่อการพิจารณาเสร็จสิ้นให้รอไว้ 15 วันเมื่อพ้นกำหนดแล้วจึงจะพิจารณาในวาระที่สาม 

จากนั้น ประธานรัฐสภา ได้ขอให้สมาชิกรัฐสภายืนขึ้นเพื่อรับทราบพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พ.ร.ฎ.ปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. พ.ศ. 2564 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง