ไม่พบผลการค้นหา
ความเป็น ‘เอกภาพ’ ของ ผบ.เหล่าทัพ ยังคงเดิม หลังร่วมกัน ‘ไม่ลงมติ’ หรือ ‘ไม่ประสงค์ลงคะแนน’ ในการโหวตร่างแก้ไข รธน. ทั้ง 13 ฉบับ ตามแนวทางของ ผบ.เหล่าทัพ ชุดปัจจุบัน ที่ไม่ต้องการนำ ‘กองทัพ’ มาเกี่ยวข้องกับ ‘การเมือง’ และเพื่อนำ ‘กองทัพ’ ออกห่างจาก ‘การเมือง’ด้วย

แต่การทำหน้าที่ ‘สมาชิก ส.ว.’ ของ ผบ.เหล่าทัพ ยังคงมีอยู่ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้ ผบ.เหล่าทัพ-ปลัดกลาโหม เป็นโดยตำแหน่ง

ทั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ผบ.เหล่าทัพ พร้อมใจกันโหวต ก่อนหน้านี้เคยพร้อมใจ “ไม่ลงมติ” ในการประชุมร่วมรัฐสภา แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในวาระที่ 3 เมื่อ 17 มี.ค. 2564 หากย้อนกลับไปปลายปี 2563 หลัง ผบ.เหล่าทัพชุดนี้ ขึ้นรับตำแหน่งสมาชิก ส.ว. ได้ประกาศ ไม่รับเงินเดือน ส.ว. หลังเข้ารับตำแหน่ง ผบ.เหล่าทัพเมื่อ ต.ค.63 เพราะไม่ต้องการรับเงินเดือน 2 ทาง ซึ่งกลายเป็น ‘ประเพณี’ ของ ผบ.เหล่าทัพ ไปแล้ว

หลัง ผบ.เหล่าทัพ ชุดเดิม ได้ประกาศคืนเงินและไม่รับเงินเดือน ส.ว. ปูทางไว้ เพราะทุกคนต่างยังเป็น ‘ขรก.ประจำ’ ด้วย

ถือเป็นอีกจุดสะท้อนว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม ไม่สามารถคุมหรือสั่งการ ผบ.เหล่าทัพ ชุดนี้ได้เบ็ดเสร็จ เพราะ ผบ.เหล่าทัพ ชุดปัจจุบัน ส่วนใหญ่ไม่ได้เติบโตมาทาง ‘สาย 3ป.บูรพาพยัคฆ์’ โดยเฉพาะ พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. เติบโตมาจาก ร.31 รอ. , พล.1 รอ. และ พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผบ.ทหารสูงสุด เติบโตมาสายทหารม้า พล.ม.2 รอ. ที่จะเกษียณฯก.ย.66 โดยทั้ง พล.อ.ณรงค์พันธุ์ และ พล.อ.เฉลิมพล ต่างเป็น ‘นายทหารคอแดง’ ด้วย

ในส่วน ทอ. การขึ้นมาของ พล.อ.อ.แอร์บูล สุทธิวรรณ ผบ.ทอ. ก็ขึ้นมาอย่าง ‘พลิกโผ’ และมาแบบ ‘เหนือเมฆ’ เลยทีเดียว โดย พล.อ.อ.แอร์บูล จะเกษียณฯก.ย. 2564 ท่ามกลางแคนดิเดตใน ผบ.ทอ. หลายคน ทั้งที่ยังอยู่ใน ทอ. และคนที่ถูกโยกออก ทอ. ไปอยู่ บก.กองทัพไทย และ กระทรวงกลาโหม 

สำหรับ ทร. การขึ้นมาของ พล.ร.อ.ชาติชาย ศรีวรขาน ผบ.ทร. ถือว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์กัน

ไม่ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนใน ทร. มากนัก แต่ต้องจับตาโผโยกย้ายนายพลปลายปีจะมี ‘คลื่นใต้น้ำ’ เกิดขึ้นหลังโผโยกย้ายออกมาหรือไม่ เพราะย่อมมีทั้งคนผิดหวังและสมหวัง โดยหลังจาก พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ อดีตผบ.ทร. คนก่อนหน้านี้ เกษียณฯก.ย. 2563 ก็มี ‘คลื่นใต้น้ำ’ ตามมาบ้าง 

ผู้นำเหล่าทัพ สภากลาโหม  กองทัพบก กองทัพ ตำรวจ ทหาร ณรงค์พันธ์ เฉลิมพล สุวัฒน์ -1A0D-42B6-B763-3D4626C2CFE2.jpeg

ครั้งนี้ถือเป็นโผทหารนายพลส่งท้าย ก่อนเกษียณฯ ก.ย. 2564 ของ พล.ร.อ.ลือชัย จึงต้องจับตาชื่อ ผบ.ทร. คนต่อไป ที่แคนดิเดทส่วนใหญ่ยังอยู่ใน ทร. อีกทั้งวันนี้ ทร. ก็อยู่ในช่วง ‘ปรับดุลอำนาจ’ ให้เข้ากับยุคสมัย ดังนั้นชื่อ ผบ.ทร. คนใหม่ จึงมีความสำคัญด้วย

ย้อนกลับมา ทบ. ที่ถือเป็น ‘ขุมกำลัง’ ใหญ่ที่สุดของกองทัพ เรียกได้ว่า ‘ขั้ววงศ์เทวัญ’ กำลังกลับมา ‘ยึดคืนพื้นที่’ จาก ‘ขั้วบูรพาพยัคฆ์’ ในการจัดวางคนต่างๆ ทว่าก็มีชื่อที่ถูกจับตา คือ พล.ท.เจริญชัย หินเธาว์ แม่ทัพภาคที่ 1 ที่เติบโตสายทหาาเสือฯ-บูรพาพยัคฆ์’ หากโผโยกย้ายปลายปีนี้ ได้ขึ้น 5 เสือ ทบ. ก็จะเป็นแคนดิเดต ผบ.ทบ. ต่อจาก พล.อ.ณรงค์พันธ์ ทันที โดย พล.ท.เจริญชัย เกษียณฯปี2567 ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อ รบ.ประยุทธ์ ที่จะครบวาระ 4 ปีพอดี หากไม่ยุบสภาไปเสียก่อน จึงเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ

ยิ่งนานวัน ‘3ป.’ ยิ่งมีระยะห่างกับ ‘กองทัพ’ ด้วยปัจจัย ‘ดุลอำนาจ’ ภายในกองทัพที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้ง ‘ขั้วหรือสาย’ ที่สลับกันขึ้นมามีอำนาจ แต่ก็เป็นที่ทราบกันว่า พล.อ.ประยุทธ์ ก็ยังมี พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีต ผบ.ทบ. ที่เปรียบเป็น ‘โซ่ข้อกลาง’ ให้ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับ ผบ.เหล่าทัพ ในขณะนี้

คณะรัฐมนตรี ประยุทธ์ วัคซีน ประวิตร อนุพงษ์ นายก ตรวจสถานที่_21063307_6.jpg

ในมิติการเมือง ทั้ง ‘3ป.บูรพาพยัคฆ์’ ก็ต่างมี ‘บทของตัวเอง’ ที่กลายเป็น ‘ช่องว่าง-ระยะห่าง’ เกิดขึ้นมา ระหว่าง ‘3ป.’ กับ ‘พลังประชารัฐ’ และ ส.ว. ที่เห็นได้ชัด จากกรณีการโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 13 ร่าง ที่ 250 ส.ว. ไม่มีแตกแถว คว่ำร่าง พปชร. คารัฐสภา หลัง พล.อ.ประยุทธ์ ส่งสัญญาณถึง ส.ว. ค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 และ 185 ที่ พปชร. เป็นผู้เสนอร่าง ชี้เป็นหัวใจปราบโกง ปิดช่อง ส.ส.-ส.ว. แทรกแซงการทำงบประมาณ และการบริหารราชการแผ่นดิน 

อย่าลืมว่า 250 ส.ว. หลายคนก็คือคนที่เคยมีส่วน ‘ทำคลอด’ รัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาด้วย เมื่อครั้งที่นั่งอยู่ใน สนช. ยุค คสช. ในส่วน พปชร. จึงเอาคืนโหวตหนุนร่างแก้ไข ‘ปิดสวิตช์ ส.ว.’ ตามมา

ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ‘ส.ว.-พปชร.’ สะดุด เกิดปมขึ้นมา โดย พล.อ.ประยุทธ์ ก็ได้กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า “ไม่เป็นไร นายกฯคนเดียวกัน”

ส่วน พล.อ.ประวิตร ก็ตั้งรับกลับว่า “ไม่เห็นต้องเสียหน้า เพราะเราบอกแล้วว่าไม่แก้ มาตรา144 และ มาตรา 185 และเราได้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เราก็โอเคแล้ว ส่วนความสัมพันธ์กับ ส.ว. ยังเหมือนเดิมไม่มีอะไร”

อนุพงษ์ ประยุทธ์ 7110201000000.jpg

งานนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องฟังเสียง ส.ว. ที่เลือกมากับมือ เพราะว่ากันว่ามี ส.ว. ส่งเสียงไปถึง นายกฯ ว่าไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข มาตรา 144 กับ มาตรา 185 จึงทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ แอคชั่นออกมา ส่วน พล.อ.ประวิตร ก็ต้องไปเคลียร์กับลูกพรรค จึงต้องจับตาต่อไป เพราะเรื่องนี้อาจเป็น ‘มหากาพย์’ ล้มการแก้รัฐธรรมนูญ ก็เป็นได้ หรือถ้าแก้ได้ ก็ต้องงัดกันให้สุด

ทว่ายังไม่จบเท่านี้ กลายเป็นเกิดอีกศึก คือ บรรดาลูกพรรค พปชร. ออกมาโอดครวญอีกครั้ง โดยพาดพิง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ‘พี่รอง’ ของ ‘3ป.บูรพาพยัคฆ์’ อีกครั้ง ในลักษณะไม่ค่อยดูแล ส.ส. ในพื้นที่ เมื่อ พล.อ.อนุพงษ์ เจ้ากระทรวงนิ่ง ก็ทำให้ ขรก.ท้องถิ่น นิ่งตาม ร้อนมาถึง พล.อ.ประวิตร เรื่องนี้ในฐานะ ‘ตัวกลาง’

โดย พล.อ.ประวิตร กล่าวในลักษณะตัดบทว่า “เขาไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค รวมถึงนายกฯก็ไม่ได้เป็น แล้วจะให้ทำอย่างไร”

เพราะเบื้องลึกกว่านี้ คือ บรรดา ส.ส. ที่ออกมาโอดครวญต้องการดัน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการ พปชร. อัพเกรดขึ้นเป็น รมว.มหาดไทย ซึ่งกระแสข่าวก่อนหน้านี้ เมื่อครั้งปรับ ครม. คราวก่อน ที่ยังเป็นเพียง รมช.มหาดไทย เท่านั้น

แต่งานนี้ ‘ป.ประยุทธ์’ ไม่น่าจะยอมง่ายๆ เพราะเก้าอี้ มท.1 นั้นคุมพื้นที่ทั้งประเทศ และถือเป็น ‘กระทรวงใหญ่’ ของฝ่ายพลเรือน

ส่วน พล.อ.ประยุทธ์ ก็คุม ‘กลาโหม-กองทัพ’ แล้ว คงไม่ยอมปล่อยให้หลุดมือ ‘3ป.บูรพาพยัคฆ์’ ไปแน่นอน อีกทั้งจะยิ่งทำให้ ร.อ.ธรรมนัส ยิ่งแผ่บารมีมากขึ้น ในระยะยาวจะกลายเป็นเรื่อง ‘ขบเหลี่ยม-คมเฉือนคม’ กันเองได้ด้วย

ทั้งหมดนี้สะท้อนสภาวะ ‘ระยะห่าง’ ที่ทั้ง ‘3ป.’ ต้องเผชิญ ทั้งห่างจาก ‘กองทัพ’ ในฐานะ ‘กองหนุนสำคัญ’ และมี ‘ช่องว่าง’ กับ ‘พลังประชารัฐ-ส.ว.’ ที่กลายเป็น ‘ศึก 3 ก๊ก’ พันรอบตัว แต่อย่าลืมว่า ก็ล้วนเป็น ‘คนกันเอง’ ทั้งนั้น 

เลือกมาแล้ว ก็คุมให้ได้ !!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปริศนา ลายพราง
164Article
0Video
39Blog