ไม่พบผลการค้นหา
ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เตือน รัฐบาลในภูมิภาคนี้กำลังเผชิญความท้าทายทางการเมือง-ถูกตั้งคำถามถึงความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งเมียนมา กัมพูชา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย แต่จับตา 'ไทย' มากสุด หวั่นมีการใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุม

The Diplomat สื่อว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เผยแพร่บทความ Southeast Asia is Rushing Headlong Toward an ‘Asian Fall’ ในวันที่ 1 ต.ค.2563 โดยระบุว่าหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังมุ่งสู่ 'ความตกต่ำ' ที่อาจจะส่งผลกระทบทั้งทวีปเอเชีย (Asian Fall)

ผู้เขียนบทความ คือ พล.ต.แดเนียล พี. แกรนต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกเฉียงใต้ของกองทัพสหรัฐอเมริกา เตือนรัฐบาลสหรัฐฯ ให้เตรียมรับมือสถานการณ์ดังกล่าว เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้สหรัฐฯ สูญเสียพันธมิตรในภูมิภาคนี้ให้กับจีน 

เนื้อหาของบทความกล่าวถึงการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นเมียนมา กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งแต่ละประเทศก็กำลังประสบปัญหาทางการเมืองของตัวเอง โดยเฉพาะปัญหา 'ความชอบธรรม' ของผู้นำรัฐบาล พร้อมยกตัวอย่างเมียนมาที่รัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งถูกแทรกแซงด้วยเครือข่ายอำนาจของกองทัพและ ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งของกองทัพ 

ส่วน 'กัมพูชา' เสียงต่อต้านรัฐบาลนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ถูกปราบปรามอย่างหนักผ่านการใช้กฎหมายจับกุมและคุมขังผู้เห็นต่าง

ขณะที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ถูกโจมตีว่าใช้อำนาจเบ็ดเสร็จและใช้กำลังปราบปรามประชาชน ส่วน 'มาเลเซีย' เผชิญการเปลี่ยนตัวผู้นำรัฐบาลในเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่ประเทศที่จับตามองมากสุดคือ 'ไทย' หลังเกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลและการเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันเชิงโครงสร้างในช่วงที่ผ่านมา

แฟลชม็อบ สตช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ล้างบาปตำรวจไทย ตำรวจ

ผู้เขียนบทความมองว่า การชุมนุมในประเทศไทยมีความเคลื่อนไหวต่อเนื่อง และมีข้อเรียกร้องใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และสิ่งที่ต้องการปฏิรูปไม่ใช่แค่นโยบาย แต่เป็นการปฏิรูปสถาบันหลักที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

ผู้ชุมนุมประท้วงในไทยมองว่าโครงสร้างทางการเมืองและการจัดสรรอำนาจหรือการกระจายความมั่งคั่งที่เป็นอยู่ตลอดมา 'ไม่ตอบสนอง' ความต้องการของประชาชน ทั้งยังไม่เป็นธรรมต่อประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

บทความดังกล่าวเปรียบเทียบสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย หรือวิกฤตต้มยำกุ้งช่วงก่อนและหลังปี 2540-2543 มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่กว่าจะเกิดการถกเถียงเพื่อเปลี่ยนแปลง ก็ต้องเผชิญการปะทะปราบปราม หลายกรณีที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเข้าข่ายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและรัฐใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุม

ส่วนกรณีของไทยในปัจจุบัน ผู้เขียนบทความมองว่า ถ้ามีการใช้กำลังปราบปราม หรือใช้วิธีละเมิดสิทธิมนุษยชนกำราบผู้ชุมนุมประท้วง อาจนำไปสู่วิกฤตการเมืองที่จะส่งผลลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ เหมือนกรณี 'อาหรับสปริง' ในภูมิภาคตะวันออกกลาง

ตำรวจ  นครบาล แฟลชม็อบ ธรรมศาสตร์ 9756955_7607155183244123735_n.jpg

ด้วยเหตุนี้ บทความจึงเตือนว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ไม่สามารถปฏิเสธบทบาทผู้ต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ แต่ท่าทีของกองทัพสหรัฐฯ ที่มักจะเงียบเสียง และยังคงสานสัมพันธ์ทางทหารกับประเทศที่ก่อเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชนจะส่งผลให้สหรัฐฯ ถูกทักท้วงหรือตั้งคำถามจากประชาคมโลกเช่นกัน

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องจับตามองอีกประการหนึ่งก็คือสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่กำลังเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผลจากการใช้มาตรการล็อกดาวน์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้นักวิเคราะห์หลายราย รวมถึงสถาบันการเงินการธนาคารในเอเชีย ต่างปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ลง

ขณะที่เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานเช่นกันว่า นักลงทุนต่างชาติจำนวนมากพร้อมใจกัน 'ทอดสมอ' พิจารณาหยุดพักหรือระงับการลงทุนใหม่ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Investors give once-loved 'darling' Southeast Asia a wide berth)

รายงานข่าวเอ่ยถึง 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งเคย 'เป็นที่รัก' ของนักลงทุนต่างชาติ แต่วิกฤตโรคระบาดส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในประเทศเหล่านี้

กรณีของประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าสภาพเศรษฐกิจชะลอตัวเพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักๆ ของไทยอยู่ในภาวะซบเซา ย่อมส่งผลต่อปัจจัยการเติบโตและความเชื่อมั่นด้านการลงทุนเช่นกัน ทั้งยังมีข้อมูลบ่งชี้ว่านักลงทุนนอกภูมิภาคหันไปมองความเป็นไปได้ด้านการลงทุนในจีนหรือประเทศแถบเอเชียเหนือแทนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: